สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตผักอินทรีย์ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกผักอินทรีย์ปี 2546 ของศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่
วลัยพร เกียรติทับทิว - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตผักอินทรีย์ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกผักอินทรีย์ปี 2546 ของศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วลัยพร เกียรติทับทิว
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการผลิตผักอินทรีย์ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกผักอินทรีย์ ปี 2546 ของศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนปัญหาศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของเกษตรกรที่มีต่อการปลูกผักอินทรีย์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรชาวไทยภูเขาที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 25 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ แล้วนำผลมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรชาวไทยภูเขาที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด เป็นชาวเผ่ากระเหรี่ยง ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 31.2 ปี มีการศึกษาจบชั้นประถมปีที่ 6 มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย4.04 คน มีจำนวนแรงงานในครอบครัวแรงงานเฉลี่ย 2.68 มีอาชีพทำนาเป็นหลัก โดยมีอาชีพรอง ทำสวนไม้ผล และปลูกผักมากที่สุด เกษตรกรมากกว่าครึ่งหนึ่ง เข้าร่วมโครงการมาแล้ว 2 ปี แรงจูงใจที่ทำให้ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ เพราะ ความต้องการลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีและคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเองในการใช้สารเคมี เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์ในการปลูกผักอินทรีย์ ได้รับคำแนะนำและข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการปลูกผักอินทรีย์จากมูลนิธิโครงการหลวง ได้รับการสนับสนุนสินเชื่อจาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ มีรายได้เฉลี่ยที่ยังไม่หักค่าใช้จ่ายจากการปลูกผักอินทรีย์ 25,738 บาทต่อปี เกษตรกรส่วนใหญ่จำหน่ายผลผลิตให้มูลนิธิโครงการหลวง สภาพการผลิตผักอินทรีย์ของเกษตรกรชาวไทยภูเขาในเขตพื้นที่สูงดอยอินทนนท์ เกษตรกรส่วนใหญ่ มีพื้นที่ในการปลูกผัก จำนวน 2 งาน ปลูกผัก 5 ครั้งในรอบปี โดยชนิดของผักที่ปลูก คือ ปลูกผักกาดหัว และ เบบี้แครอท มากที่สุด พื้นที่ที่เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ในการปลูกผักเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้ทำการเกษตรมา 1 ปี เป็นพื้นที่ดอน อยู่ห่างจากเส้นทางคมนาคม 500 - 1,000 เมตร สภาพดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง แหล่งน้ำที่ใช้ในพื้นที่ปลูกผักของเกษตรกรเป็นน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เมล็ดพันธุ์ที่ใช้มาจากระบบการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ โดยแหล่งพันธุ์ผักที่เกษตรกรใช้ในการปลูก ซื้อมาจากโครงการหลวง เกษตรกรส่วนใหญ่ บำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยคอก และการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เกษตรกรโดยใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพร ระดับการปฏิบัติของเกษตรกรในการปลูกผักอินทรีย์ และความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกผักอินทรีย์ ปี 2546 ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรมากกว่าครึ่งหนึ่ง ร้อยละ 64 ปฏิบัติตามคำแนะนำระดับสูง และเกษตรกรมีความพึงพอใจต่อจากการเข้าร่วมโครงการในระดับ พอใจมากที่สุด สำหรับปัญหาที่เกษตรกรเห็นว่า มีความสำคัญมากที่สุด คือ ปัญหาการขาดแคลนน้ำใช้ในฤดูร้อน รองลงมา คือ ปัญหาเกี่ยวกับราคาผลผลิตไม่แน่นอน และปัญหาเกี่ยวกับเงินทุนในการดำเนินการส่วนข้อเสนอแนะของเกษตรกร คือ ต้องการให้มีการสนับสนุนเงินทุนในการสร้างบ่อพักน้ำ ต้องการให้มีการประกันราคาผลผลิต ต้องการให้มีการสนับสนุนเงินทุนแบบให้เปล่า และต้องการให้ช่วยเกษตรกรขยายตลาด
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดเชียงใหม่
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตผักอินทรีย์ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกผักอินทรีย์ปี 2546 ของศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
ความพร้อมของเกษตรกรต่อการส่งเสริมการปลูกหอมญี่ปุ่นของศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงจังหวัดเลย ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2546 จังหวัดเชียงใหม่ การวิเคราะห์ศักยภาพด้านการตลาดและการผลิตของผู้ผลิตผักอินทรีย์ในกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านต้นเฮือด ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ สภาพการผลิตและการตลาดผักของเกษตรกรในจังหวัดสตูล ปี 2548 รูปแบบการจัดการการตลาดผักอินทรีย์กรณีศึกษา เกษตรกรผู้ปลูกผักอินทรีย์ ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ศึกษาการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงของเกษตรกรที่ปลูกผักในอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2546 สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย การศึกษาความคิดเห็นของเกษตรกรชาวไทยภูเขาที่มีต่อการส่งเสริมโครงการชุมชนเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงพึ่งพาตนเองบนพื้นที่สูงของศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงจังหวัดลำพูน สภาพการผลิตการจัดการและความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการดำเนินงานโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน จังหวัดน่าน ปี 2546

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก