สืบค้นงานวิจัย
การยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน
วารี ระหงษ์ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน
ชื่อเรื่อง (EN): The Adoption in Agriculture Technology of Animal Integreated Farming
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วารี ระหงษ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยการยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน ภาคเหนือตอนบน ได้ดำเนินการเก็บข้อมูลในพื้นที่ 2 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดเชียงราย โดย มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึง (1) สภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน (2) ศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน (3) ศึกษาปัญหา และอุปสรรค พร้อมทั้งข้อเสนอแนะในการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน โดยใช้แบบสอบถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์ เก็บข้อมูลจากเกษตรกร จำนวน 226 คน ข้อมูลที่ได้นำมาศึกษาและวิเคราะห์ประมวลผลด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคม เกษตรกรผู้ให้ข้อมูล เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง มีอายุอยู่ในวัยทำงาน อายุเฉลี่ย 44.5 ปี มีสถานภาพสมรส มีครอบครัวแล้วเป็นส่วนใหญ่ มีระดับการศึกษาชั้นมัธยมตอนต้นมากที่สุด มีสมาชิกในครอบครัวที่เป็นแรงงาน เฉลี่ย 3 คน และมีประสบการณ์ในการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน ระยะเวลาเฉลี่ย 4 5 ปี มีรายได้เฉลี่ยต่อปี 43,653.54 บาท โดยใช้งบลงทุนของตนเองเป็นส่วนใหญ่ และมีความพึงพอใจ กับผลตอบแทนเป็นรายได้ ที่ได้รับจากการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสานมากถึง 204 คน สำหรับผลการศึกษาวิจัย การยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสานในภาพรวม เกษตรกรผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ ให้การยอมรับเทคโนโลยีทุกด้าน ในระดับการยอมรับมากแต่การนำเทคโนโลยีทั้งหลายไปใช้นั้นเกษตรกรได้นำไปปรับใช้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับถึงกิจกรรมของตนเอง และเน้นการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยจะประดิษฐ์อุปกรณ์ในโรงเรือนตามกิจกรรมขึ้น ด้วยตนเองมากกว่าเลือกใช้อุปกรณ์ตามมาตรฐาน การเชื่อมโยงกิจกรรมอื่นที่เกื้อกูลกัน เกษตรกรเลือกกิจกรรมการเลี้ยงสัตว์ร่วมกับการปลูกพืชผักตามฤดูกาลมากกว่ากิจกรรมอื่น ปัญหา และอุปสรรค ในการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน เกษตรกรมีความต้องการแหล่งข้อมูล ความรู้ทางวิชาการใหม่ๆ ทั้งด้านการตลาด การกำจัดโรคแมลงศัตรูพืช การกำจัดสิ่งที่กระทบสิ่งแวดล้อม รวมถึงการแก้ไขภาวะความใม่แน่นอนของการตลาด ปัจจัยการผลิตและราคาผลผลิตต่างๆ เกษตรกรมีความคาดหวังให้องค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การช่วยเหลืออย่างจริงจัง และเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ในการดำเนินการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสานอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อเป็นการสร้างความเข้มแข็งและยั่งขืนให้กับชุมชนเกษตร ต่อไป
บทคัดย่อ (EN): The research "The Adoption in Agricultural Technology of Animal Integrated farming", in the northern Thailand has collected information from 2 province, Chiang Mai and Chiang Rai. The Aim of research are; (I) Economic and social status of animal integrated farming farmers, (2) to study the adoption in agricultural technology of animal integrated farming, (3) to study problems and obstacles including to find suggestions. By using the questioner to gathered information from 226 formers then analyzed and processed by SPSS program. The study of personal character economics and society of interviewee find that most of formers are women, average age is 44.5 years old, status: married and most of them have family. Most of interviewee graduated the secondary school, in each family has 3 member that could work as labour. They have average 4.5 year of Animal integrated farming experience. The farmer has average income around 43,653.54 Bath per year. Most of farmer invested by their own money and 204 farmers were sastistified with the compensation from animal integrated farming. The study of 'the Adoption in Agricultural Technology of Animal Integrated Farming also find that most of interviewee adopted the technology in high level, but for implementation the farmer implied only some technology which involve with their activities, also combined with local wisdom. They invented equipment in the barn by thegnselves besides using the standard equipment. The relavent activities that supported seasonal growing was animal breeding. Problems and obstacles in the animal integrated farming 1are; the farmers still need the information source, updated knowledge such as, marketing, diseases and buys prevention, environmental effects prevention, including find solution for market risk, Production resources and product' s price. The farmer hope that the relavent organization could help them more than now a day and continue the aid in order to strengthen and sustain the agricultural community.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะผลิตกรรมการเกษตร
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-47-005.6
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2549
เอกสารแนบ: http://webpac.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/research/2550/varee_rahong_2549/fulltext.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน
วารี ระหงษ์
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2549
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
แนวทางการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์เทคโนโลยีการผลิตชาจังหวัดเชียงราย การศึกษาต้นทุนและรายได้ของการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน การถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบการผลิตข้าวแบบบูรณาการ การสำรวจความต้องการของตลาดทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในจังหวัดเชียงใหม่เพื่อการพัฒนาหลักสูตร แนวทางการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการจัดการเรียนการสอน ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างระหว่างสภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ แผนงานพัฒนาขีดความสามรถทางเทคโนโลยีและวิจัยของภาคเอกชนในพื้นที่ น้ำตาลที่เหมาะสมต่อการผลิตแหนมโดยใช้เทคโนโลยีเชื้อบริสุทธิ์เริ่มต้นผสม การพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดการธาตุอาหารเพื่อการผลิตมะม่วงโชคอนันต์อินทรีย์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก