สืบค้นงานวิจัย
ผลของการเสริมสารสกัดอัญชัน ในอาหารไก่ไข่
จินตนา สุวรรรณมณี - มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: ผลของการเสริมสารสกัดอัญชัน ในอาหารไก่ไข่
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Dietary Butterfly Pea Supplementation wits Extracted on Laying hens
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: จินตนา สุวรรรณมณี
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาการใช้สารสกัดอัญชัน (Clitoria ternatea extract, CE ) ซึ่งผลิตโดยใช้อัญชันทั้งต้น มาสกัดด้วยน้ำและอุ่นที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส แล้วนำมาระเหยแห้งได้สารที่มีโปรตีน 43.70 เปอร์เซ็นต์ และไขมัน 10.20 เปอร์เซ็นต์ การใช้สารสกัดอัญชันเสริมในอาหารไก่ไข่ เพื่อวัดสมรรถภาพการผลิตไข่ การต้านอนุมูลอิสระ DPPH สีของผิวหนังและแข้ง ใช้ไก่พันธุ์ไข่ลูกผสม โร้ดไอแลนด์แรด 120 ตัว และจัดสัตว์ทดลองโดยสุ่มลงใน 3 ทรีตเม้นต์ และ 4 ซ้ำ โดยใช้ไก่ 10 ตัว ต่อ 1 หน่วยทดลอง เลี้ยงไก่ด้วยอาหารข้นไก่ไข่ที่ผลิตทางธุรกิจผสมสารสกัดอัญชัน ในระดับ 0.00, 0.25 และ 0.50 เปอร์เซ็นต์ และเลี้ยงเป็นเวลา 5 เดือน ผลการทดลองพบว่าไก่ไข่ทุกกลุ่ม มีน้ำหนักเริ่มต้นการทดลองระหว่าง 1736.3-1802.5 กรัม ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05) ไก่ไข่ทุกกลุ่มกินอาหารเฉลี่ย 128.4-129.5 ซึ่งไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่ม และให้ไข่มีน้ำหนักเฉลี่ย 56.9-58.1 กรัม ซึ่งไม่แตกต่างระหว่างกลุ่มเช่นเดียวกัน ในส่วนของไข่พบว่ามีค่าการต้านอนุมูลอิสระ (DPPH-RSA) ในไข่ทั้งฟองแตกต่างกันระหว่างกลุ่ม (p0.05) โดยเมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยวิธี รีเกรซชันพบว่า ค่าการต้านอนุมูลอิสระจะเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p=0.009) เมื่อระดับสารเสริมในสูตรอาหารเพิ่มขึ้น โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจเท่ากับ 0.514 ในการให้อาหารที่ผสมด้วยสารสกัดอัญชันต่อไก่ไข่พบว่า ไก่สามารถสะสมสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ส่งผลให้เมื่อเลี้ยงเป็นเวลา 5 เดือน ค่าการต้านอนุมูลอิสระในไก่ตัวเดียวกันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (p=0.064) โดยการเสริมที่ระดับ 0.25 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้ค่าการต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด (78.8 เปอร์เซ็นต์) สำหรับสีของไข่แดงพบว่า ค่าความสว่าง (L) ค่าสีแดง (a) และค่าสีเหลือง (b) ไม่แตกต่างกันระหว่างการไม่เสริมสารสกัด และเสริมทั้งสองระดับ แต่อยู่ในระดับปรกติของไข่ไก่ที่นิยมทั่วไป ในส่วนของสีหน้าแข้งพบว่า ค่า (L) และ (b) ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม มีเพียงค่าสีแดงเท่านั้นที่มีค่าต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเสริมสารสกัดมากขึ้นเป็น 0.5 เปอร์เซ็นต์ สารสกัดอัญชันจึงมีความเหมาะสมในการเพิ่มระดับสารต้านอนุมูลอิสระในไข่ไก่ คำสำคัญ: สารสกัดอัญชันสมรรถภาพการผลิตไข่ การต้านอนุมูลอิสระในไข่ สีของไข่แดง
บทคัดย่อ (EN): A study of using butterfly pea extracxt (Clitoria ternatea extract, CE) prepared by water extraction and warmed at 60oC prior to drying was carried out. Crude Protein (CP) and Ether Extract(EE) of dried CE were 43.70 % and 10.20 %, respectively. CE was supplemented to leying hens and measured the growth performance, 1,1-diphenyl-2-picrylhydrazylradical scavenging activity (DPPH-RSA) in eggs, and color of yolk and egg shells. 120 crossbred Rhode Island Red leying hens were randomly into 3 treatments with 4 replications using 10 hens per 1 experimental unit. The commercial broiler concentrate was used alone (0.00%) or mixed with CE at rates of 0.25 % and 0.50%. The experiment lasted for 5 months. The results showed that the starting weights of all groups were between 1,736.3-1,802.5 kg which was not different (p>0.05). Average feed intake was between 128.4-129.5 and they were not different among groups. Average eggs weight of groups was between 56.9-58.1which was not different. In eggs, the DPPH-RSA of non supplemental group differ significantly (p0.05). The regression analysis of data showed that the DPPH-RSA in eggs increased significantly with the increasing levels of CE supplement (p=0.009) with 0.514 R2. Moreover, the trend of storing ability of antioxidant substances in hens body was observed in the same hen fed the supplemental concentrate since the DPPH-RSA tended to higher in months 7th than month 1st (p=0.064). The supplement at 0.25% showed the highest value (78.8%). Color of yolk brightness (L), redness (a) and yellowness (b) were not different in non-supplemental group compared to both supplemental groups, but they were in the normal range. Shank color of hens, (L) and (b) of all groups was not different among groups, but the redness (a) was dropped significantly when 0.5% CE was supplemented. Eventually, CE is more favor for using as antioxidant supplement than pigments in eggs. Keywords: Clitoria ternatea extract, performance of leying hens, DPPH in eggs, yolk color.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการเสริมสารสกัดอัญชัน ในอาหารไก่ไข่
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
30 กันยายน 2558
การเสริมยีสต์มีชีวิตในอาหารไก่ไข่ การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การให้อาหารและสูตรอาหารไก่ไข่ การทดสอบสูตรอาหารไก่ไข่ : ๑)ผลการเสริมเมทไธโอนีนในสูตรอาหารไก่ไข่ ผลของการเสริมกากยาขี้ม้อนในอาหารไก่ไข่ที่มีต่อการผลิตไข่และคุณภาพของไข่ ผลของการเสริมกากงาขี้ม้อนในอาหารไก่ไข่ที่มีผลต่อการผลิตไข่และคุณภาพของไข่ ผลของการเสริมสาหร่าย Schizochytrium sp. ในอาหารไก่ไข่ต่อการย่อยได้ปรากฏของโภชนะ สมรรถภาพการผลิตและคุณภาพของไข่ไก่ ผลของการเสริมสารสกัดอัญชัน ในอาหารไก่เนื้อ ผลของการเสริมผักคาวตองในรูปผงในสูตรอาหารไก่ไข่ การเพิ่มผลผลิต และคุณภาพของไข่โดยการเสริมใบหม่อน และไนอะซิน ในอาหารไก่ไข่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก