สืบค้นงานวิจัย
การวิจัยและพัฒนาทักษะแรงงานด้านการจัดการท่องเที่ยวเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในชุมชน
บังอร เมฆะ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การวิจัยและพัฒนาทักษะแรงงานด้านการจัดการท่องเที่ยวเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในชุมชน
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development of Labors skill in Tourism Management in Order to Strengthening Communities to Participate on Ecotourism
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: บังอร เมฆะ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Bung-On Maeka
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาทักษะแรงงานด้านการจัดการท่องเที่ยว ผู้วิจัยได้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในกิจกรรมการท่องเที่ยว (Participatory Action Research) เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนา รวมทั้งเทคนิคการสนทนากลุ่ม (focus group discussion) การฝึกอบรม (Training) การฝึกปฏิบัติงาน (on the job training) และการสาธิต (demonstration) พื้นที่การดำเนินการวิจัยเป็นชุมชนที่มีกิจกรรมการท่องเที่ยวในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน ประกอบด้วยจังหวัด น่าน พะเยา แพร่ เชียงราย ลำพูน แม่ฮ่องสอน และเชียงใหม่ รวมทั้งสิ้น 68 ชุมชน ผลการพัฒนาทักษะแรงงานด้านการจัดการท่องเที่ยวโดยภาพรวมพบว่าหลังจากการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะแรงงานแล้วผู้เข้ารับการฝึกอบรมส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องใน โดยภาพรวมพบว่าส่วนใหญ่มีความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องผลกระทบที่เกิดจากการท่องเที่ยวต่อสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 91 48) การท่องเที่ยวในชุมชนจะเกิดประโยชน์ต่อชุมชนมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับคนในชุมชน (ร้อยละ 88 35) ความร่วมมือระหว่างชุมชนกับบริษัททัวร์เป็นเงื่อนไขให้เกิดการท่องเที่ยวที่มีผลดีต่อชุมชน (ร้อยละ 77.91) ชุมชนจำเป็นต้องจัดทำป้ายข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในชุมชนให้ชัดเจน (ร้อยละ 15.53) การจัดหาที่พักผ่อนหย่อนใจในชุมชนให้เป็นที่ชัดเจนจะทำให้แหล่งท่องเที่ยวละอาด (ร้อยละ 71 64) หน้าที่ในการดูแลรักษาแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนซึ่งถือว่าเป็นสมบัติของชาติ (ร้อยละ 71.83) เข้าใจและตระหนักถึงหน้าที่ในการจัดการท่องเที่ยวในชุมชน (ร้อยละ 71 31) ขุมชนมีสิทธิในการดูแลรักษาและได้รับประโยชน์จากแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน (ร้อยละ 71 11) มีความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องไกด์นำเที่ยวซึ่งจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมชุมชน (ร้อยละ 69.80) มีความเข้าใจในการกำหนดแนวปฏิบัติตนของนักท่องเที่ยว (ร้อยละ 69.74) ผู้เข้ารับการพัฒนามีความเข้าใจที่ถูกต้องในความจำเป็นในการวางแผนการท่องเที่ยวในชุมชน (ร้อยละ 69. 74) นอกจากนั้นยังมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องการนำเที่ยวในชุมชนต้องขึ้นอยู่กับความต้องการของนักท่องเที่ยว (88.90)มีความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องของการท่องเที่ยวและการศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติรวมทั้งวิถีชีวิตชุมชนเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ (ร้อยละ 56.80) แต่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องในเรื่องของการท่องเที่ยวในชุมชนต้องคำนึงถึงความพอใจของสมาชิกในชุมชน (ร้อยละ 51.14) ภายหลังทำการพัฒนาได้ทำการประเมินผลในด้านทักษะและความรู้ในการการท่องเที่ยว ผลการประเมินผลการพัฒนาทักษะแรงงานด้านการจัดการท่องเที่ยวชุมชนพบว่าก่อนการพัฒนาทักษะแรงงานต้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแก่ประชาชนในชุมชนแก่ประชาชนในชุมชนโดยภาพรวมพบว่า คนในชุมชนที่เข้ารับการฝึกอบรม ร้อยละ 62.53 มีความรู้มีเกี่ยวกับการท่องเที่ยว (เฉลี่ย 9.38) หลังจากการพัฒนาทักษะแรงงานด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแก่ประชาชนในชุมชนประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศมากขึ้น (ร้อยละ 83 27)
บทคัดย่อ (EN): This study which was conducted with the main purpose of developing labor skills in ecotourism management, made use of participatory action research as a fundamental instrument for research and development that also included focus group discussion, training, on-the-job training and demonstration. Research site consisted of 68 communities involved in ecotourism activities and were located within the upper northern provinces of Nan, Phayao, Phrae, Chiangrai, Lamphun, Maehongson and Chiang Mai. Over-all results of the study showed that after participating in a training on development of labor skills in ecotourism management, most trainees were able to obtain proper knowledge and understanding particularly on the impact of ecotourism on the environment (91.48%); the benefits that community ecotourism could provide to the community depended on the community population (88.35%); cooperation among communities and tour companies served as a condition for the good of ecotourism in the community (77.91%), the community had to place clear instructions for ecotourism practices in the community (75.53%); the community had to clearly set up rest areas in the community thus resulting to cleaner ecotourism spots (71.84%); the task of maintaining the tourist spots in the community thus considering them as national treasures (71.83%); understanding and awareness towards the duty of managing ecotourism in the community (71.34%); the community had the right to maintain and benefit from tourist spots in the community (71.11%): correct understanding about tourist guides who must have knowledge and understanding of community culture and traditions (69.80%): understanding towards practices of ecotourists (69.74%), training participants obtained correct understanding of the need for planning of community tourism (69.74%); proper knowledge and understanding that tourism in the community depended on the needs of the tourist guide (68:90%), correct understanding that ecotourism and natural learning together with the community's way of life should be practiced (56.80%). However, training participants were found to have misunderstanding that community tourism should take into consideration the satisfaction or the community members (51.14%) Under development where evaluation is done on the skills and knowledge on ecotourism management, results on the evaluation of the development of labor skills on the ecotourism management in the community, showed that members of the community who participated in the training (62.53%) have obtained knowledge about tourism (mean of 9.38). After the development of labor skills in ecotourism management, the people in the community had obtained more knowledge about ecotourism management (83.27%)
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: วิทยาลัยบริหารศาสตร์
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-45-021.2
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 355,100
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2545
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
เอกสารแนบ: http://webpac.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/research/2549/Bung-On_Maeka_2548/fulltext.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2545
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การวิจัยและพัฒนาทักษะแรงงานด้านการจัดการท่องเที่ยวเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในชุมชน
บังอร เมฆะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2548
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การพัฒนาความเข้มแข็งชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน การวิจัยและพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่อสร้างความเข้มแข็งโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่ การพัฒนาการมีส่วนร่วมของสตรีในการเสริมสร้างผลิตภัณฑ์พื้นบ้านเพื่อตอบสนองการท่องเที่ยงในชุมชน การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการบริษัทนำเที่ยวเชิงนิเวศ (จำลอง) แนวทางการพัฒนาโครงข่ายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ภายในจังหวัดชุมพร วิจัยและพัฒนาการปลูกระบบ Aeroporic การพัฒนาระบบสื่อความหมายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในชุมชนบ้านหม้อ ต.ป่าไผ่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ การวิจัยและพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในชุมชน แนวทางการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก