สืบค้นงานวิจัย
การใช้วิธีการส่งเสริมแบบต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบล ในภาคตะวันตกของประเทศไทย
ประภา ถาวรยิ่ง - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การใช้วิธีการส่งเสริมแบบต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบล ในภาคตะวันตกของประเทศไทย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ประภา ถาวรยิ่ง
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ประชากรที่ศึกษาครั้งนี้เป็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบล จำนวน 118 ราย หรือร้อยละ 78.67 ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบลใน 4 จังหวัดในภาคตะวันตก ที่อยู่ในเขตการดำเนินงานโครงการปรับปรุงระบบส่งเสริมการเกษตรของประเทศไทยคือ จังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ผลการศึกษาพบว่า เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบลเกือบทั้งหมดเป็นเพศชาย(95.76%) มีอายุระหว่าง 22-35 ปี อายุเฉลี่ย 25 ปี และส่วนใหญ่(95.76%) จบการศึกษาระดับประกาศนัยบัตรวิชาชีพชั้นสูง รับผิดชอบงานด้านการส่งเสริมการเกษตรให้แก่เกษตรกรโดยเฉลี่ย 10 หมู่บ้าน 1,050 ครอบครัว ในการส่งเสริมการเกษตรแก่เกษตรกร เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบลได้ใช้วิธีการส่งเสริม 2 วิธีขึ้นไป วิธีการส่งเสริมที่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบลเห็นว่าให้ประโยชน์ในการส่งเสริมมากที่สุดและรอง ๆ ลงมาได้แก่ 1)การเยี่ยมเยียนเกษตรกรและไร่นา 2)การทำแปลงสาธิต 3)การสาธิตวิธี 4)การสอนทักษะ 5)การประชุม 6)เกษตรกรที่มาพบที่สำนักงาน 7)การแจกเอกสารเผยแพร่ 8)การฝึกอบรมวิชาชีพ 9)การจัดประกวดผลผลิตทางการเกษตร 10)การใช้กำแพงข่าว 11)การจัดอภิปราย 12)การใช้หนังสือเรียน 13)การจัดนิทรรศการ 14)การศึกษาดูงาน การจัดอันดับดังนี้ปรากฏว่า เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบลในทุกจังหวัดที่วิจัยได้จัดอันดับอย่างสอดคล้องกันพอสมควรที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 วิธีการส่งเสริมที่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบลทุกคนได้ใช้คือ การเยี่ยมเยียนเกษตรกรที่บ้านและไร่นา ส่วนวิธีการส่งเสริมที่ไม่มีผู้ใดใช้เลย คือ การเขียนจดหมายติดต่อกับเกษตรกร การฉายภาพยนต์ และการใช้สไลด์ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรตำบลมีความเห็นว่า การใช้วิธีการส่งเสริมหลายวิธีประกอบกันจะกระตุ้นความสนใจของเกษตรกรได้ดีกว่าที่จะใช้วิธีใดวิธีหนึ่งเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบลก็ไม่แน่ใจว่าตนรู้จักใช้วิธีการส่งเสริมแบบต่าง ๆ เป็นอย่างดีแล้ว และยังใช้โสตทัศนูปกรณ์เข้าช่วยในการส่งเสริมน้อยมาก ฉะนั้นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบลจึงต้องการที่จะเรียนรู้วิธีการใช้การส่งเสริมแบบต่าง ๆ ให้มากขึ้น ปัญหาที่เกิดจากการใช้วิธีการส่งเสริมแบบต่างๆ ปรากฏว่ามีสาเหตุจากตัวเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบล เกษตรกรผู้นำ และเกษตรกร นอกจากนี้การขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้นด้วยสำหรับแก้ไขปัญหานั้น ผลการวิจัยว่าเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบลได้พยายามแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม แม้ปัญหาหลายประการจะได้รับการแก้ไขให้คลี่คลาย แต่ก็ยังมีปัญหาอีกไม่ใช้น้อยที่ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าช่วยในการแก้ไข ปัญหาต่าง ๆ จึงจะบรรเทาหรือหมดสิ้นไปได้ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจัดสรรวัดุอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบลให้เพียงพอตามความจำเป็นและอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานได้เสมอ นอกจากนี้การพัฒนาให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบลมีความรู้ความชำนาญมากขึ้น และการส่งเสริมสร้างบำรุงขวัญก็เป็นเรื่องสำคัญที่กรมส่งเสริมการเกษตรควรดำเนินการด้วย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2523
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2523
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ภาคตะวันตก
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้วิธีการส่งเสริมแบบต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบล ในภาคตะวันตกของประเทศไทย
กรมส่งเสริมการเกษตร
2523
การใช้วิธีการส่งเสริมแบบต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในภาคตะวันออกของประเทศไทย บทบาทของเกษตรอำเภอและเกษตรตำบลภาคตะวันตก ตามระบบการฝึกอบรมและเยี่ยมเยียน ภายใต้โครงการปรับปรุงระบบส่งเสริมการเกษตรของประเทศไทย ความคิดเห็นของเกษตรตำบลที่มีต่อการปฏิบัติงานของฝ่ายวิชาการของสำนักงานเกษตรจังหวัดในภาคตะวันตกของประเทศไทย ความจำเป็นในการฝึกอบรมเพื่อปฏิบัติงานตามระบบพัฒนาชนบทแห่งชาติของเกษตรตำบลในภาคตะวันตกของประเทศไทย ความต้องการเอกสารเผยแพร่เพื่องานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบล ในภาคตะวันออก สภาพการใช้สื่อในงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบลในจังหวัดกาฬสินธุ์ การศึกษาสภาวะโรคปากและเท้าเปื่อยในแพะและแกะในภาคตะวันตกและภาคใต้ของประเทศไทย ความรู้และความต้องการความรู้ด้านประชากรศึกษาของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ที่ทำงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ความชุกของเชื้อ Streptococcus suis ในสุกรและคนเลี้ยงสุกรใน 11 จังหวัด ภาคตะวันออกและภาคตะวันตกของประเทศไทย การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในเขตที่ 2 (ภาคตะวันตก) ตามระบบส่งเสริมการเกษตร ปี 2545

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก