สืบค้นงานวิจัย
การใช้ถ่านปรับปรุงดินเพื่อปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวหวาน
เสาวคนธ์ เหมวงษ์, ศศิธร เชื้อกุณะ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การใช้ถ่านปรับปรุงดินเพื่อปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวหวาน
ชื่อเรื่อง (EN): Using of Charcoal to Improve Soil Fertility for Sweet Waxy Corn Production
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Saowakon Hemwong
คำสำคัญ: ถ่าน(Charcoal) ข้าวโพดข้าวเหนียวหวาน(sweet corn) ความอุดมสมบูรณ์ของดิน(soil fertility)
บทคัดย่อ: ถ่านซึ่งเป็นอินทรียวัตถุชนิดหนึ่งที่เป็นแหล่งธาตุอาหาร และช่วยเก็บกักคาร์บอนไว้ในดิน การศึกษาผลของการใส่ถ่านต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน การเจริญเติบโต และผลผลิตของข้าวโพด พันธุ์ดอกคูณ 49  โดยมีกรรมวิธีจำนวน 4 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 ดินอย่างเดียว (กรรมวิธีควบคุม) กรรมวิธีที่ 2 ดิน+ถ่าน กรรมวิธีที่ 3 ดิน+ปุ๋ยไนโตรเจน และกรรมวิธีที่ 4 ดิน+ถ่าน+ปุ๋ยเคมี ผลการศึกษาพบว่า กรรมวิธี ดิน+ถ่าน และดิน+ถ่าน+ปุ๋ยไนโตรเจน มีความชื้นสูงกว่ากรรมวิธีดิน+ปุ๋ยไนโตรเจน และดินอย่างเดียว ดินหลังการเก็บเกี่ยวข้าวโพด พบว่า pH, Electrical Conditivity, อินทรียวัตถุในดิน และปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดในดิน ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นถึงแม้ว่าปริมาณอินทรียวัตถุไม่เปลี่ยนแปลงซึ่งอาจเป็นเพราะเป็นการศึกษาระยะสั้น (3 เดือน) การเปลี่ยนแปลงอินทรียวัตถุจากการใส่ถ่านลงไปต้องใช้เวลานาน การเจริญเติบโตของข้าวโพดเมื่ออายุ 60 วันหลังปลูก พบว่า ไม่มีความแตกต่างทางสถิตทั้งน้ำหนักแห้ง และปริมาณไนโตรเจนในต้นข้าวโพด อย่างไรก็ตาม น้ำหนักผลผลิตฝักสดข้าวโพดเมื่อถึงอายุเก็บเกี่ยว พบว่า มีความแตกต่างทางสถิตที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 99 เปอร์เซ็นต์ โดยกรรมวิธี ดิน+ถ่าน ให้ผลผลิตฝักสดสูงสุด (383 กรัมต่อต้น) และกรรมวิธี ดิน+ปุ๋ยไนโตรเจน ให้ผลผลิตฝักสดต่ำสุด (148 กรัมต่อต้น) อย่างไรก็ตาม น้ำหนักแห้งต้น และซังข้าวโพดเมื่ออายุเก็บเกี่ยว พบว่า ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ โดยกรรมวิธี ดิน+ถ่าน ให้น้ำหนักแห้งต้นข้าวโพดสูงสุด คือ 530 กรัมต่อต้น และในกรรมวิธี ดิน+ถ่าน ให้น้ำหนักแห้งซังสูงสุด (0.21 กรัมต่อต้น) โดยกรรมวิธีดิน+ถ่าน+ปุ๋ยไนโตรเจน (160 กรัมต่อต้น) ให้ผลผลิตฝักสดต่ำกว่าการใส่ถ่านเพียงอย่างเดียว อาจเนื่องมาจาก ไนโตรเจนที่ใส่ลงไปอาจถูกถ่านดูดซับไว้ และอาจค่อย ๆ ปลดปล่อยออกมาหากทำการเพาะปลูกในปีถัดไป แต่อย่างไรก็ตาม ปริมาณของถ่านที่ใช้ในการทดลองนี้มีอัตราค่อนข้างสูง คือ 5 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักดินแห้ง การศึกษาครั้งถัดไปควรทำการศึกษาผลกระทบในระยะยาวและลดอัตราการใส่ถ่านให้น้อยลง
บทคัดย่อ (EN): Charcoal is organic matter which is plant nutrition source and C storage in the soil. This experiment studied  effect of charcoal application on soil fertility growth and yield of sweet corn variety Dokkoon 49 (KJ 49). They included 4 treatments: 1) soil alone, 2) soil+charcoal, 3) soil+N fertilizer and 4) soil+charcoal+N fertilizer. The results showed that soil moisture contents under soil+charcoal and soil+charcoal+N fertilizer treatments were higher than soil+N fertilizer and soil alone treatments. In soil chemical properties after sweet corn harvest, pH, E.C., soil organic matter and total N were not significantly different. However, total N tended to increase although the amounts of soil organic matter did not change, this probably due to short-term experiment (3 months). The change of soil organic matter by charcoal application must be long-term effects. At 60 day after planting, dry weight and N content were not significantly different between treatments. At final harvest, however, ear fresh weights were significantly different among treatments at 99% confidence in which soil+charcoal treatment gave the highest yield (383 g/stem) and the lowest was in soil+N fertilizer treatment (148 g/stem). In addition, stem and cob dry weight were not significantly different among treatments. Soil + charcoal treatment gave the highest stem (530 g/stem) and cob dry weight (0.21 g/stem). Soil+charcoal+N fertilizer treatment had ear yield (160 g/stem) lower than soil+charcoal treatment, this might due to N fertilizer added was absorbed by charcoal and may be released for the next crop. However, the amount of charcoal used in this experiment was rather high rate (5% of soil dry weight). The next study should focus on long-term impact and reduce the rate of charcoal application in the soil.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้ถ่านปรับปรุงดินเพื่อปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวหวาน
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2554
เอกสารแนบ 1
ศึกษาวิธีปลูกข้าวโพดฝักสดหลังการปลูกข้าวและผลตอบแทน การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเพื่อเพิ่มคุณภาพโปรตีน ปกป้องสายตาด้วยข้าวโพด ทิศทางในการพัฒนาข้าวโพด การศึกษาโรคที่เกิดกับข้าวเหนียวพันธุ์พื้นเมือง ความสัมพันธุ์ของแมลงศัตรูข้าวโพดและแอฟลาท็อกซิน วันเก็บเกี่ยวข้าวโพดเทียนพันธุ์บ้านเกาะที่ให้คุณภาพฝักและเมล็ดพันธุ์สูงสุด การปลูกข้าวโพดโดยไม่มีการไถพรวนดิน การเปรียบเทียบวิธีปรับปรุงประชากรข้าวโพดข้าวเหนียว เทคโนโลยีการใช้ถ่านเพื่อปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน และเพิ่มผลผลิตข้าวขาวมะลิ 105 ภายใต้สภาพดินเค็ม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก