สืบค้นงานวิจัย
การใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลเชียงใหม่ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด
สุรชัย จำเริญบุญ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลเชียงใหม่ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุรชัย จำเริญบุญ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาการใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลเชียงใหม่ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด ปี 2546/2547 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ สังคม บางประการของเกษตรกร สภาพใช้ปุ๋ยในนาข้าว และปัญหาอุปสรรคของเกษตรกรในการใช้ปุ๋ยในนาข้าว กลุ่มตัวอย่างได้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว 133 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ต่ำสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 50.50 ปี ระดับการศึกษาส่วนใหญ่จบชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ประสบการณ์ในการทำนามากกว่า 10 ปีขึ้นไป มีพื้นที่ทำนาอยู่ระหว่าง 21 - 30 ไร่ เกษตรกรทั้งหมดทำนาอย่างเดียวปีละครั้ง มีการใช้ปุ๋ยในนาข้าว ปุ๋ยเคมีที่ใส่ในนาข้าวอัตราเฉลี่ย 25 กิโลกรัมต่อไร่ จำนวนที่ใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง คิดเป็นเงิน 200 บาทต่อไร่ สูตรปุ๋ยเคมีที่ใส่ในระยะข้าวเริ่มสร้างรวงอ่อน สูตร 46 - 0 - 0 ปริมาณปุ๋ยเคมีที่เกษตรกรใช้ในนาข้าวมีปริมาณเพียงพอ แหล่งซื้อปุ๋ยเคมีซื้อจากร้านค้าในจังหวัดเป็นเงินสด และจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวต่อไร่ให้สูงขึ้น การใช้อินทรีย์วัตถุปรับปรุงบำรุงดิน มีการใช้ปุ๋ยคอกเป็นส่วนใหญ่ ใส่ในอัตรา 100 - 200 กิโลกรัมต่อไร่ มีการระบายน้ำออกจากแปลงนาก่อนการใช้ปุ๋ยเคมีให้ระดับน้ำสูงประมาณ 5 - 10 เซนติเมตร ปุ๋ยเคมีที่ใช้ในพื้นที่ดินทรายใช้สูตรปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารครบทั้ง N - P - K มีการหว่านปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์กระจายสม่ำเสมอทั้งแปลง ปุ๋ยเคมีแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ก่อนหว่านในแนวทิศเหนือ - ใต้ ตะวันออก - ตะวันตก สำหรับปุ๋ยอินทรีย์เกษตรกรไม่จำเป็นต้องแบ่ง ขณะฝนตกหรือมีน้ำไหลบ่า จะไม่มีการหว่านปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เกษตรกรไม่เคยหว่าน เกษตรกรมีการ ขังน้ำหลังการใส่ปุ๋ยเคมี 1 - 7 วัน ปุ๋ยอินทรีย์มีการขังน้ำ 1 - 7 วัน เช่นเดียวกัน ปัญหาอุปสรรคพบว่าดินขาดความอุดมสมบูรณ์ และสภาพพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าว เกษตรกรทั้งหมดขาดน้ำเมื่อฝนทิ้งช่วง ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องการใช้ปุ๋ยเคมีปรับปรุงบำรุงดิน เกษตรกรทั้งหมดมีปัญหาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ปุ๋ยเคมีที่ถูกต้องและปุ๋ยเคมีราคาแพง ราคาผลผลิตต่ำ ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตลาดข้าว ข้อเสนอแนะ ควรศึกษาเรื่องการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อลดปัญหาการใช้ปุ๋ยเคมีราคาแพงโดยการให้ความรู้ด้านการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมีให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และวิธีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ให้มีการรวมกลุ่มในการจัดซื้อปุ๋ยเคมีเพื่อต่อรองราคากับพ่อค้าคนกลาง จัดให้มีการฝึกอบรมเกษตรกรตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรเพื่อเปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ โดยการเรียนรู้จากการกระทำจริงจากแปลงพิสูจน์ทราบ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ตำบลเชียงใหม่ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลเชียงใหม่ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลขามเปี้ย อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด การใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลปาฝา อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด สภาพการใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลโนนยาง อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร การใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลยางใหม่ ปี 2546/2547 อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด สภาพการใช้ปุ๋ยในนาข้าวของกลุ่มเกษตรกรทำนาบ้านโคก ตำบลบ้านโคก อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร การใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกรตำบลลิ้นฟ้า ปี 2546/2547 อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด สภาพการใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรปีเพาะปลูก 2546 ตำบลเว่อ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ สภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวของเกษตรกรตำบลเมืองปัก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลหนองสูงใต้ อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร การใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลคำม่วง อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก