สืบค้นงานวิจัย
ผลของการนำนวัตกรรมไปสู่ชุมชนชนบท : ศึกษากรณีการยอมรับการผสมเทียมโค
ภูวดล สาลีเกษตร - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ผลของการนำนวัตกรรมไปสู่ชุมชนชนบท : ศึกษากรณีการยอมรับการผสมเทียมโค
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of an Innovation on Rural Communities : The Adoption of Cattle Artificial Insemination.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ภูวดล สาลีเกษตร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Puvadol Saleegaset
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะโดยทั่วไปทางเศรษฐกิจและสังคม การติดต่อสื่อสารและจิตวิทยาการเลี้ยงโคของเกษตรกร ข้อจำกัดของการยอมรับการผสมเทียมโค ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการผสมเทียมโค และผลที่เกิดจากการยอมรับการผสมเทียมโค ได้เลือกหมู่บ้านจำนวน 6 หมู่บ้านในอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เป็นสถานที่ทำการวิจัย ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบธรรมดาเป็นวิธีการในการคัดเลือกตัวอย่าง ใช้การสัมภาษณ์เป็นวิธีการในการรวบรวมข้อมูลใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ จากการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ผู้รับการสัมภาษณ์มีฐานะเป็นหัวหน้าครอบครัว แต่งงานแล้วนับถือศาสนาพุทธ จบการศึกษาระดับประถมปีที่ 4 และมีความสามารถการอ่านออกเขียนได้ การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลเป็นช่องทางที่สำคัญในการหาความรู้หรือข้อมูลข่าวสารทางการเกษตร สื่อสารมวลชนมีบทบาทน้อยมาก ยกเว้นโทรทัศน์ ส่วนข้อจำกัดในการยอมรับการผสมเทียมโคคือการขาดความกระตือรือล้นและความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับการผสมเทียมโค เกี่ยวกับการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า มีความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างผู้ยอมรับการผสมเทียมโคกับเกษตรกรผู้ไม่ยอมรับการผสมเทียมโค ผู้ยอมรับการผสมเทียมโคมีการศึกษาสูงกว่า และมีทัศนคติต่อการผสมเทียมโคในระดับที่สูงกว่าผู้ที่ไม่ยอมรับการผสมเทียมโค ในส่วนที่เกี่ยวกับผลที่มีต่อการยอมรับการผสมเทียมโค พบความแตกต่างทางสถิติคือเกษตรกร ผู้ยอมรับการผสมเทียมโค มีจำนวนโคลูกผสมมากกว่าเกษตรกรผู้ไม่ยอมรับการผสมเทียมโค ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการนำเทคโนโลยีการผสมเทียมโคไปสู่เกษตรกรได้ประสบความสำเร็จไปในระดับหนึ่งแล้ว ความสำเร็จของโครงการผสมเทียมโคจะเกิดขึ้นได้หากลดข้อจำกัดต่าง ๆ ลง นอกจากนี้ยุทธศาสตร์ในการนำเอาโครงการผสมเทียมโคไปส่งเสริมเผยแพร่ควรที่จะมีการวางแผนเป็นอย่างดีเพื่อเปิดโอกาสไปสู่การยอมรับที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถที่จะทำได้โดยการจัดให้มีการศึกษาอบรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการเลี้ยงโค รวมทั้งการจัดหาเวชภัณฑ์และเมล็ดพันธุ์พืชอาหารสัตว์สำหรับการทำแปลงหญ้า
บทคัดย่อ (EN): Abstract is in the attached file.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2535
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2536
เอกสารแนบ: https://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2553/3386
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการนำนวัตกรรมไปสู่ชุมชนชนบท : ศึกษากรณีการยอมรับการผสมเทียมโค
กรมส่งเสริมการเกษตร
2536
เอกสารแนบ 1
โครงการศึกษาภาวะผู้นำชุมชนและการยอมรับนวัตกรรมการเกษตรของชุมชนบนพื้นที่สูง การถ่ายทอดองค์ความรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ในพื้นที่เขาซับแกงไก่สู่ชุมชน การจัดการนวัตกรรมจากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรสู่วิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน การวิเคราะห์ปัญหาชุมชนชนบทในเชิงระบบ การถ่ายทอดองค์ความรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สู่ชุมชน การพัฒนานวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก กรณีศึกษา การแปรรูปเนื้อทุเรียนแท่งของชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเขาบายศรี โครงการศึกษาภาวะผู้นำในชุมชนและการยอมรับนวัตกรรมการเกษตรของบนพื้นที่สูง การจัดทำตัวชี้วัดการจัดการสิ่งแลดล้อมชุมชนเมืองและชุมชนชนบทโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การประเมินสภาวะชนบทแบบมีส่วนร่วมของชุมชนรอบอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ การพัฒนาการจัดการความรู้เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมของวิสาหกิจชุมชนน้ำพริกสำเร็จรูปพร้อมรับประทานในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก