สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาพฤติกรรมการเลือกที่อยู่อาศัยของหมึกสายขาว (Octopus aegina Gray, 1849) ในห้องปฏิบัติการ
จรวย สุขแสงจันทร์ - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การศึกษาพฤติกรรมการเลือกที่อยู่อาศัยของหมึกสายขาว (Octopus aegina Gray, 1849) ในห้องปฏิบัติการ
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Selective Habitat Behavior of Sandbird Octopus (Octopus aegina Gray, 1849) in Captivity
บทคัดย่อ: การศึกษาพฤติกรรมการเลือกที่อยู่อาศัยของหมึกสายในห้องปฏิบัติการ โดยการนำหมึกสายที่มีชีวิตจากธรรมชาติมาทำการสังเกตและศึกษาพฤติกรรมในห้องปฏิบัติการ พบว่าพฤติกรรมของหมึกสายในห้องปฏิบัติการ สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 แบบ ได้แก่ 1.พฤติกรรมการดำรงชีวิต 2.พฤติกรรมการกินอาหาร และ3.พฤติกรรมการเลือกที่อยู่อาศัย การศึกษาพฤติกรรมการเลือกที่อยู่อาศัยของหมึกสายในห้องปฏิบัติการโดยการเปรียบเทียบวัสดุ 4 ชนิด ได้แก่ เปลือกหอยฝาเดียว กระถางดินเผา กระป๋องอะลูมิเนียม และขวดแก้ว พบว่า หมึกสายจะเลือกเปลือกหอยฝาเดียวและกระถางดินเผาในสัดส่วนที่เท่ากันรองลงมาเป็นกระป๋องอะลูมิเนียม และขวดแก้ว ตามลำดับ นำผลการศึกษาที่ได้จากการทดลองในห้องปฏิบัติการไปเปรียบเทียบการเลือกที่อยู่อาศัยของหมึกสายในธรรมชาติระหว่างเปลือกหอยฝาเดียวและกระถางดินเผา บริเวณหาดเจ้าสำราญ จังหวัดเพชรบุรี พบว่า เปลือกหอยฝาเดียว และกระถางดินเผา มีสัดส่วนการเข้าไปอาศัยของหมึกสายที่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่กระถางดินเผามีอายุการใช้งานสั้นกว่าเปลือกหอยที่ชาวประมงใช้อยู่ในปัจจุบันเนื่องจากมีโอกาสชำรุดเสียหายง่ายกว่าเปลือกหอยฝาเดียวจากการทำประมง แต่ข้อดีคือกระถางดินเผาสามารถผลิตได้ในปริมาณมากและมีราคาที่ถูกว่าเปลือกหอยฝาเดียว การศึกษาพฤติกรรมการเลือกที่อยู่อาศัยของหมึกสายในห้องปฏิบัติการ โดยการนำหมึกสายที่มีชีวิตจากธรรมชาติมาทำการสังเกตและศึกษาพฤติกรรมในห้องปฏิบัติการ พบว่าพฤติกรรมของหมึกสายในห้องปฏิบัติการ สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 แบบ ได้แก่ 1.พฤติกรรมการดำรงชีวิต 2.พฤติกรรมการกินอาหาร และ3.พฤติกรรมการเลือกที่อยู่อาศัย การศึกษาพฤติกรรมการเลือกที่อยู่อาศัยของหมึกสายในห้องปฏิบัติการโดยการเปรียบเทียบวัสดุ 4 ชนิด ได้แก่ เปลือกหอยฝาเดียว กระถางดินเผา กระป๋องอะลูมิเนียม และขวดแก้ว พบว่า หมึกสายจะเลือกเปลือกหอยฝาเดียวและกระถางดินเผาในสัดส่วนที่เท่ากันรองลงมาเป็นกระป๋องอะลูมิเนียม และขวดแก้ว ตามลำดับ นำผลการศึกษาที่ได้จากการทดลองในห้องปฏิบัติการไปเปรียบเทียบการเลือกที่อยู่อาศัยของหมึกสายในธรรมชาติระหว่างเปลือกหอยฝาเดียวและกระถางดินเผา บริเวณหาดเจ้าสำราญ จังหวัดเพชรบุรี พบว่า เปลือกหอยฝาเดียว และกระถางดินเผา มีสัดส่วนการเข้าไปอาศัยของหมึกสายที่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่กระถางดินเผามีอายุการใช้งานสั้นกว่าเปลือกหอยที่ชาวประมงใช้อยู่ในปัจจุบันเนื่องจากมีโอกาสชำรุดเสียหายง่ายกว่าเปลือกหอยฝาเดียวจากการทำประมง แต่ข้อดีคือกระถางดินเผาสามารถผลิตได้ในปริมาณมากและมีราคาที่ถูกว่าเปลือกหอยฝาเดียว
บทคัดย่อ (EN): Live specimen of octopuses were setting and preparing for observed selective habitat behavior in the laboratory tank. The octopus behavior in the laboratory tank showed 3 types of behavior; 1.living behavior 2.feeding behavior and 3.selective habitat behavior. Selective habitat behavior of octopus was observed by compare between four materials such as; gastropod shell, clay pot, aluminum can and glass bottle. In the laboratory octopuses selected the gastropod shell as same as clay pot in highest percentage for living while it’s reduce in aluminum can and glass bottle respectively. Comparing the materials between gastropods shell and clay pots at the Haad Cho Samran, Pethchaburi Province. Selection habitat comparison of octopus in the natural also does not different in statistic test. However, clay pot easy deteriorates than gastropod shell from fishing operation but clay pot can produce in mass and cheaper than gastropods shell. Live specimen of octopuses were setting and preparing for observed selective habitat behavior in the laboratory tank. The octopus behavior in the laboratory tank showed 3 types of behavior; 1.living behavior 2.feeding behavior and 3.selective habitat behavior. Selective habitat behavior of octopus was observed by compare between four materials such as; gastropod shell, clay pot, aluminum can and glass bottle. In the laboratory octopuses selected the gastropod shell as same as clay pot in highest percentage for living while it’s reduce in aluminum can and glass bottle respectively. Comparing the materials between gastropods shell and clay pots at the Haad Cho Samran, Pethchaburi Province. Selection habitat comparison of octopus in the natural also does not different in statistic test. However, clay pot easy deteriorates than gastropod shell from fishing operation but clay pot can produce in mass and cheaper than gastropods shell.
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คำสำคัญ:
เจ้าของลิขสิทธิ์: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาพฤติกรรมการเลือกที่อยู่อาศัยของหมึกสายขาว (Octopus aegina Gray, 1849) ในห้องปฏิบัติการ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
30 กันยายน 2554
ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของหมึกสายขาว (Amphioctopus aegina (Gray, 1849)) บริเวณอ่าวไทยตอนใน การศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าอาหารของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร การตลาดและพฤติกรรมการซื้อส้มพันธุ์สายน้ำผึ้งของผู้บริโภคและผู้ค้าส่งในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกใช้บริการด้านเงินฝากของ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริการอย่างมีจริยธรรมของปศุสัตว์อำเภอ การศึกษาพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ปี 2552 การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารญี่ปุ่นของคนไทย ความทันสมัยกับพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จังหวัดอุบลราชธานี การศึกษาพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ปี 2551 ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของสหกรณ์
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก