สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยโรคหลังการเก็บเกี่ยวและสารพิษที่เกิดจากเชื้อราในผลิตผลเกษตร
อมรา ชินภูติ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยโรคหลังการเก็บเกี่ยวและสารพิษที่เกิดจากเชื้อราในผลิตผลเกษตร
ชื่อเรื่อง (EN): Research on Post-harvest Disease and Mycotoxins in Agricultural Products Project
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อมรา ชินภูติ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: อมรา ชินภูติ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โรคของผักและผลไม้หลังเก็บเกี่ยว เป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้คุณภาพของผักและผลไม้ลดลง อายุการเก็บรักษาสั้น การควบคุมโรคในปัจจุบันยังคงใช้สารเคมีซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคและมีปัญหาการส่งออกไปยังต่างประเทศ งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการใช้สารปลอดภัย และจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการควบคุมโรค รวมถึงการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา และลดการเน่าเสียของแก้วมังกร กล้วยหอม สะละ มะม่วง และขิง ผลแก้วมังกรพันธุ์เปลือกแดงเนื้อขาว (Hylocereus undatus (Haw.) Britt. & Rose) พบสาเหตุโรคผลเน่าหลังการเก็บเกี่ยวเกิดจากเชื้อรา 3 ชนิดดังนี้ Bipolaris cactivora , Colletotrichum gloeosporioides และ Fusarium semitectum ผลการวิจัยพบว่าสาร salicylic acid ความเข้มข้น 1000 mg/l สามารถลดความรุนแรงของโรคจากเชื้อรา F semitectum 62.70% และ C. gloeosporioides 26.29% ขณะที่สาร potassium sorbate ความเข้มข้น 1000 mg/l ลดความรุนแรงจากเชื้อรา B. cactivora ได้ 51.39% และควรเก็บรักษาผลแก้วมังกรโดยบรรจุในถุงซิป หรือถุง PE และเก็บที่อุณหภูมิ 7?C สามารถยืดอายุได้นาน 20-24 วัน โรคขั้วหวีเน่าของกล้วยหอม มีสาเหตุจากเชื้อราหลายชนิด Lasiodiplodia theobromae, Fusarium sp., Colletotrichum musae, Pestalotiopsis sp. และ Phomopsis sp. การควบคุมโรคขั้วหวีเน่าของกล้วยหอมโดยการจุ่มหวีกล้วยหอม ด้วยสารละลายสาร Potassium sorbate 250 mg/l สามารถลดการเกิดโรคที่ติดมาจากแปลงปลูกได้ 50.00 % การบรรจุผลสะละโดยการห่อด้วยกระดาษฟางแล้วเก็บในกล่องกระดาษเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง ผลสะละยังมีคุณภาพดี สามารถเก็บได้นานถึง 2 สัปดาห์ และเมื่อเก็บที่อุณหภูมิ 13 องศาเซลเซียส และบรรจุผลสะละในถุงพลาสติก LLDPE และถุงActive M4 เก็บได้นานถึง 4 สัปดาห์ การควบคุมโรคแอนแทรกโนสของมะม่วงที่เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gleosporioides พบว่าการรมด้วย 60 ppm Hexanal สามารถลดความรุนแรงของโรคได้โดยคุณภาพของมะม่วง เช่นเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำ ความแน่นเนื้อ ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ ปริมาณกรดที่ไตเตรทได้ วิตามินซี และคุณค่าทางประสาทสัมผัสไม่มีความแตกต่าง ในกรณีโรคแง่งเน่าของขิงระหว่างการเก็บรักษา ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum สามารถเข้าทำลายเฉพาะบริเวณที่ทำบาดแผลแต่ในส่วนที่เป็นผิวปกติไม่พบการเข้าทำลายของเชื้อ จากการแยกเชื้อราจากตัวอย่างดินจากแหล่งต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือจำนวน 20 ไอโซเลตมาทดสอบปฏิกิริยาการเป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อราก่อโรคพบว่ามี 3 ไอโซเลตที่แสดงปฏิกิริยาการเป็นปฏิปักษ์ โดยที่ 2 ไอโซเลตที่มีปฏิกิริยาการเป็นปฏิปักษ์แบบ Competitive และอีก 1 ไอโซเลตที่มีปฏิกิริยาการเป็นปฏิปักษ์แบบ Antibiosis
บทคัดย่อ (EN): Postharvest disease is a major problems leading to postharvest quality loss and shelf-life limitation. Although chemicals have been applied to control postharvest diseases in fresh fruit and vegetable, several chemicals have been prohibited by many countries due to the consumer health concerns. Thus, alternative techniques for controlling these diseases without side-effect are preferred. The aim of this study was to determine the appropriate GRAS, antagonist and packaging material to decrease the disease and maintain postharvest quality of dragon fruit, banana, salak, mango and ginger. Salicylic acid (1000 mg/L) could reduce disease severity caused by Bipolaris cactivora, Colletotrichum gloeosporioides and Fusarium semitectum in dragon fruit by 51.39, 26.29 and 62.70%, respectively). Storing dragon fruit in resealable PE bag and kept at 7?C could extend postharvest life for 20-24 days. Severity of crown rot of banana (caused by Laciodiplodia theobromae, Fusarium sp., Colletotrichum musae, Pestalotiopsis sp. and Phomopsis sp.) could be decreased for 50% by potassium sorbate (250 mg/L). For salak, LLDPE bag and/or Active M4 bag prolonged postharvest life for 4 weeks at 13?C. Hexanal (60 ppm) was found to reduce anthracnose disease (caused by Colletotrichum gloeosporioides and maintained postharvest quality in mango fruit. Pathogen could occur only in the skin area of ginger. Three antagonists were found in soil from North and North-East region which could control the pathogen in ginger.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยโรคหลังการเก็บเกี่ยวและสารพิษที่เกิดจากเชื้อราในผลิตผลเกษตร
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
ราที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมการย่อยสลายแป้งและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากระบบนิเวศวิทยาป่าอุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี โครงการวิจัยการจัดการโรคและสารพิษจากเชื้อราในผลิตผลเกษตรหลังการเก็บเกี่ยวโดยไม่ใช้สารเคมี ผลของสารพิษที่ผลิตโดยเชื้อรา Cercospora canescens จากถั่วเขียว โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาโรคใบขาวของอ้อย โครงการวิจัยผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความรุนแรงของโรคหลังการเก็บเกี่ยวและสารพิษจากเชื้อราในผลิตผลเกษตร ประสิทธิภาพของการป้องกันกำจัดโรคพืชประเภทดูดซึมบางชนิดต่อเชื้อรา Phytophthora parasitica NK1 สาเหตุโรคโคนเน่าของพลู Physiologic Races ของเชื้อรา Hemileia uastatrix B. & Br โครงการวิจัยการควบคุมการปนเปื้อนจุลินทรีย์และสารพิษจากเชื้อราในกระบวนการผลิตผลิตผลเกษตรหลังการเก็บเกี่ยว การควบคุมโรคผลสตรอเบอรี่เน่าด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราที่อุณภูมิห้องและที่ 10 องศาเซลเซียส

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก