สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวมะม่วงน้ำดอกไม้และปรับปรุงคุณภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพการส่งออก
ธนาวรรณ สุขเกษม, ขวัญจิตต์ อนุกูลวัฒนา, กฤติกา บูรณโชคไพศาล - มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวมะม่วงน้ำดอกไม้และปรับปรุงคุณภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพการส่งออก
ชื่อเรื่อง (EN): Development of Post-Harvest Technology of Nam Dok Mai Mango and Improved for Export Potential.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิตแผ่นฟิล์มบริโภคได้จากเปลือกข้าวโพดที่เหลือทิ้ง 3 ชนิด คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ข้าวโพดไร่) ข้าวโพดข้าวเหนียว และข้าวโพดหวาน ปริมาณเปลือกข้าวโพดที่ใช้มี 3 ระดับ ได้แก่ 5, 10 และ 15 %(w/v) และพลาสติไซเซอร์ 2 ชนิด คือ ซอร์บิทอล และกลีเซอรอล ที่ความเข้มข้น 25%(w/v) พบว่าแผ่นฟิล์มจากเปลือกข้าวโพดหวาน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ปริมาณ 5% สามารถขึ้นรูปแผ่นฟิล์มได้ดีที่สุด และมีลักษณะแผ่นฟิล์มผิวเรียบ ลื่น ขึ้นรูปเป็นแผ่นฟิล์มได้ง่ายกว่าชนิดของเปลือกข้าวโพดชนิดอื่น แผ่นฟิล์มมีความหนา การซึมผ่านของไอน้้า การต้านทานแรงดึง และร้อยละการยืดตัว เท่ากับ 0.67 – 2.16 มิลลิเมตร, 2.75x10-5 – 5.49 x10-5 กรัมต่อเมตรต่อวันต่อกิโลปาสคัล, 8.37 – 27.34 kPa และ 5.20 – 25.78% ตามล้าดับ จากนั้นจึงน้าแผ่นฟิล์มที่บริโภคได้จากเปลือกข้าวโพดไปพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวโดยน้าไปเคลือบผิวของน้้าดอกไม้เพื่อยืดอายุ ชะลอการสุกของมะม่วงน้้าดอกไม้เพื่อการส่งออกต่อไป จากการใช้สารเคลือบผิวคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส(CMC) จากเปลือกข้าวโพดต่อคุณภาพของมะม่วงน้้าดอกไม้สีทอง โดยมีการใช้กลีเซอรอลเป็นสารเติมแต่งที่ท้าให้เกิดการยืดหยุ่นร้อยละ 25 (CMCgl 25) และ 30 (CMCgl 30) และสารเคลือบผิวเชิงการค้าซิปด้า แวกซ์ (ZX) ท้าการเก็บรักษามะม่วงที่เคลือบผิวแล้วที่อุณหภูมิ 12 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 วัน พบว่า มะม่วงน้้าดอกไม้สีทองที่เคลือบผิวด้วย ZW ช่วยชะลอการสูญเสียน้้าหนัก และการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ได้แก่ ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด (TSS) ปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ (TA) อัตราส่วน TSS/TA และปริมาณวิตามินซี ในขณะที่มะม่วงน้้าดอกไม้สีทองที่เคลือบผิวด้วย CMCgl 25% มีค่าปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด (TSS) ปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ (TA) อัตราส่วน TSS/TA ดีรองลงมาจาก ZW และจากการทดสอบการยอมรับจากผู้บริโภค พบว่า มะม่วงน้้าดอกไม้สีทองที่เคลือบผิวด้วย ZW และ CMCgl 25% ได้คะแนนความชอบโดยรวมมากที่สุดและไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยส้าคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (p>0.05)
บทคัดย่อ (EN): The objective of this research was to production of edible film from corn husk waste with Field corn, waxy corn and sweet corn. The edible film was prepared with 3 levels of corn husk were 5, 10 and 15% (w/v) and 2 plasticizer were sorbitol and glycerol at 25% (w/v). The results indicated that the film could be better formed at a 5% concentration of corn husk than the concentration of 10% and 15%. The film had smooth surface and could be formed film more easily than other corn husk. Thickness of the edible films was in the rang o.67 – 2.16 mm, water vapor permeability (WVP), water solubility, tensile strength (TS) and elongation (%E) was 2.75x10-5 – 5.49x10-5 g/m.d.kPa, 8.37 – 27.34 kPa and 5.20 – 25.78% respectively. Then the edible films from corn husk to develop technology of postharvest and to coating to extend shelf life of Nam Dok Mai mango The ffect of Carboxy Methyl Cellulose (CMC) coating from corn’s husk to quality of golden mango. Which using glycerol as plasticizer for 25% (CMCgl 25) and 30% (CMCgl 30) and commercial coating ZIVDAR WAX (ZW). After storage at 12 ?c for 30 days the golden mango coated with ZW had low weight lost and chemical change, total soluble solids (TSS), titratable acidity (TA), TSS/TA ratio and vitamin C content, while the golden mango coated with 25% CMCgl had higher of total soluble solids (TSS), titratable acidity (TA) and TSS/TA ratio compared with ZW. The result of the consumer’s acceptant was found that the golden mango coated with ZW and 25% CMCgl had the highest score of overall acceptant and not different significance confidential (p>0.05).
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวมะม่วงน้ำดอกไม้และปรับปรุงคุณภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพการส่งออก
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
30 กันยายน 2558
การบริหารและจัดการความเสี่ยงเพื่อลดโรคแอนแทรคโนสของผล มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออก การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออกทางเรือไปประเทศญี่ปุ่นด้วยตู้คอนเทนเนอร์ควบคุมสภาพบรรยากาศ การพัฒนาสารสนเทศมะม่วงน้ำดอกไม้ แผนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อลดความสูญเสียคุณภาพข้าว การรักษาคุณภาพของลองกองพร้อมบริโภคด้วยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว การรักษาคุณภาพของลองกองพร้อมบริโภคด้วยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว การพัฒนาศักยภาพการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองในจังหวัดพิษณุโลกเพื่อการส่งออกสู่ตลาดโลกอย่างยั่งยืน การพัฒนาคุณภาพผลผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองโดยการห่อผลต่างขนาดด้วยถุงกระดาษคาร์บอน การพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตสำหรับการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองในตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ การรักษาคุณภาพของลองกองพร้อมบริโภคด้วยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว (ระยะที่ 2)

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก