สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการเพิ่มศักยภาพการผลิตห้อมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
นางสาวประนอม ใจอ้าย - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการเพิ่มศักยภาพการผลิตห้อมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
ชื่อเรื่อง (EN): Increasing Potential Production of Baphicacanthus cusia Brem. in the Upper North
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นางสาวประนอม ใจอ้าย
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ประนอม ใจอ้าย
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: รวบรวมพันธุ์ห้อมจากแหล่งต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคเหนือ บันทึกแหล่งที่มาของพันธุ์ห้อม วันที่เก็บตัวอย่างลักษณะประจำพันธุ์ ลักษณะสัณฐานวิทยา ลักษณะพฤกษศาสตร์ และวิธีการขยายพันธุ์เปรียบเทียบพันธุ์ห้อมที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนโดยปลูกต้นห้อมจาก 6 แหล่งปลูก ได้แก่ แพร่1 พะเยา1 เชียงราย เชียงใหม่ แพร่2 (นาตอง) และพะเยา2 (เชียงคำ) ภายใต้โรงเรือนตาข่ายพลาสติกพรางแสง 70 เปอร์เซ็นต์ เก็บเกี่ยวอายุ 9 เดือน บันทึกข้อมูลการเจริญเติบโต และผลผลิต และการวิจัยและพัฒนาเครื่องกวนน้ำห้อม ดำเนินการออกแบบและพัฒนา และสร้างต้นแบบเครื่องกวนน้ำห้อม 3 แบบ คือ แบบใบกวน แบบตีขึ้น-ลงและแบบตีขึ้น-ลงและปรับความเร็วในการตีคงที่ ผลการทดลองพบว่า การสำรวจและเก็บรวบรวมต้นห้อมได้ 6 แหล่งปลูก ได้แก่ บ้านนาตอง บ้านนาคูหา ตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ บ้านธาตุสบแวน ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา บ้านสองพี่น้อง ตำบลริมโขง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และบ้านช่างเคิ่ง ตำบลต่อเรือ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ การจำแนกชนิดของต้นห้อมตามลักษณะภายนอก และผลวิเคราะห์ลายพิมพ์ดีเอ็นของห้อม (DNA) แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ กลุ่มที่ 1 ห้อมชนิดใบใหญ่ชื่อวิทยาศาสตร์ Strobilanthescusia (Nees) Kuntze ได้แก่ ห้อมจากเชียงใหม่เชียงรายพะเยา1และแพร่1 กลุ่มที่ 2 ห้อมชนิดใบเล็กชื่อวิทยาศาสตร์Strobilanthes sp. ได้แก่ พะเยา2 (เชียงคำ)และแพร่2 (นาตอง) การเปรียบเทียบพันธุ์ห้อมที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน พบว่าต้นห้อมทั้ง 6 แหล่งปลูกสามารถเจริญเติบโตได้ดีโดยไม่มีความแตกต่างกัน มีน้ำหนักเฉลี่ย 1254.4 กิโลกรัมต่อไร่ ห้อมใบใหญ่ให้ปริมาณเนื้อห้อมมากกว่าห้อมใบเล็ก โดย พันธุ์แพร่1 ให้เนื้อห้อมมากที่สุดเฉลี่ย 180 กิโลกรัมต่อไร่ ห้อมใบเล็ก แพร่2 (นาตอง) ให้เนื้อห้อมเฉลี่ย 169.33 กิโลกรัมต่อไร่ ปริมาณสารอินดิโก้ของห้อมแพร่1 ให้เนื้อห้อมมากที่สุดเฉลี่ย 9.56 เปอร์เซ็นต์ ส่วนห้อมใบเล็กมีสารอินดิโก้น้อยกว่า แพร่2 มีสารอินดิโก้ 5.03 เปอร์เซ็นต์ เครื่องมือกวนน้ำห้อมที่เหมาะสม คือ แบบตีขึ้น-ลงความเร็วในการตีคงที่ 200 ครั้ง/นาที ประกอบด้วย 4ส่วนหลักคือ ชุดหัวตี ชุดเครื่องตี ขึ้น-ลง ชุดปรับระดับ และ. ชุดถ่ายทอดกำลัง โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 1 แรงม้า ทำงานที่ความเร็วรอบ 200 รอบต่อนาทีใช้เวลาตีน้ำห้อมเพียง 10 นาที ได้ปริมาณเนื้อห้อม 17.73 กรัม มีปริมาณสารอินดิโก 4.54 ในขณะที่ใช้แรงงานคนใช้เวลา 37.08 นาที่ ได้ปริมาณเนื้อห้อมเพียง 7.3 กรัม สามารถทำงานได้เร็วกว่าคน 3.7 เท่า และได้ปริมาณเนื้อห้อมมากว่าใช้แรงงานคน 58.83 % โดยเครื่องดังกล่าวมีราคาประมาณ 20,000 บาท
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการเพิ่มศักยภาพการผลิตห้อมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2556
โครงการวิจัยศึกษาระบบการจัดการสวนปาล์มน้ำมันของเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตพืชเศรษฐกิจเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือตอนบน โครงการวิจัยการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน การถ่ายทอเทคโนโลยีฐานเรียนรู้การเกษตร เรื่อง "การผลิตกุ้งก้ามกรามเพื่อเพิ่มรายได้แก่เกษตรกรในภาคเหนือตอนบน" การใช้สื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตของเกษตรกรรายย่อยปลูกยางพาราในภาคเหนือตอนบน ศักยภาพการผลิตปลาสวยงามเพื่อการส่งออกในจังหวัดราชบุรี การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดปอสาในภาคเหนือ โครงการวิจัยการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกระเทียมที่มีคุณภาพโดยการลดการใช้สารเคมี ในเขตภาคเหนือตอนบน การเพิ่มศักยภาพการผลิตมวนเพชฌฆาต Sycanus collaris F. (Hemiptera: Reduviidae) ด้วยการใช้มอดรำข้าวสาลี Tenebrio molitor L. (Coleoptera: Tenebrionidae) ระยะต่างกัน โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรด

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก