สืบค้นงานวิจัย
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
นางสาวศรีประภา บุตรดามา - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่อง (EN): Factors Affecting the Farmer’s Decision in Participating in the Agricultural Learning Center (ALC) in Suratthani Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นางสาวศรีประภา บุตรดามา
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยด้านข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ สังคม ความรู้ด้านการประมงและการดำเนินกิจกรรมโครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้า เกษตร (ศพก.) ที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรที่เป็น ศพก. เครือข่าย ปี 2561 และ 2562 จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 38 ราย และเกษตรกรที่ไม่เข้าร่วมเป็น ศพก. เครือข่าย จำนวน 76 ราย รวมทั้งสิ้น 114 ราย เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมีโครงสร้างลักษณะคำถามแบบปลายปิดและปลายเปิด สถิติที่ ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานการหาค่า ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรใช้ค่าสัมประสิทธิ์ของเพียร์สัน (Pearson Correlation) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลของเกษตรกรทั้ง 2 กลุ่ม โดยส่วนใหญ่มีอายุ ระหว่าง 45-60 ปี เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง มีสถานภาพสมรสอยู่ด้วยกัน มีระดับการศึกษาประถมศึกษา มีประสบการณ์ด้านการประมง 5-15 ปี และมีความสามารถใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารได้แรงงานในครอบครัว เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง มีจำนวนแรงงานในครอบครัว จำนวน 1 ราย มีแหล่งเงินที่ใช้ในการประกอบ อาชีพใช้เงินทุนของตนเอง มีรายได้ด้านการประมงของครอบครัว น้อยกว่า 50,000 บาทต่อปี และมีผลผลิต ด้านการประมงน้อยกว่า 1,000 กิโลกรัมต่อปีส่วนพื้นที่ประกอบการ (ด้านการประมง) มีพื้นที่ประกอบการ (ด้านการประมง) น้อยกว่า 1 ไร่ และมีตำแหน่งทางสังคม จากวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างระดับ การศึกษา ประสบการณ์ด้านการประมง ขนาดพื้นที่ประกอบการ (ด้านการประมง) รายได้ด้านการประมงต่อปี ตำแหน่งทางสังคม และความรู้ด้านการดำเนินกิจกรรมของ ศพก. พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ(p≥0.05) ส่วนความรู้ด้านการประมงของเกษตรกรที่เป็น ศพก. เครือข่าย ปี 2561 และ 2562 มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p≤0.05) แต่ส่วนของเกษตรกรที่ไม่เข้าร่วมเป็น ศพก. เครือข่าย ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p≥0.05) ความคิดเห็นของเกษตรกรทั้ง 2 กลุ่ม ที่มีต่อการ สนับสนุนจากกรมประมง ด้านปัจจัยการผลิต วัสดุในการถ่ายทอดเทคโนโลยี ความรู้ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน จากความคิดเห็นเพิ่มเติมในเรื่องสภาพปัญหา ความต้องการ และข้อเสนอแนะของเกษตรกรเพื่อให้การดำเนินโครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์พบว่า ส่วนใหญ่เกษตรกร มีปัญหาด้านการขาดแคลนแรงงาน เทคนิคการเพาะพันธุ์และการอนุบาล การเลี้ยง และการแปรรูป ต้องการให้ รัฐช่วยเหลือสนับสนุนด้านเทคนิคการเพาะพันธุ์และการอนุบาล การเลี้ยง และการแปรรูป เสนอแนะให้ ส่วนราชการช่วยในการประชาสัมพันธ์ให้ศพก. เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ให้ความรู้ในการลดการใช้สารเคมี อาหารที่ไม่ได้คุณภาพ และเกษตรกรมีมุมมองว่าโครงการศพก. ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเกษตรกร ผู้สนใจและเจ้าหน้าที่ ทำให้ครอบครัวมีความสุข มีรายได้ด้านการประมงเพิ่มขึ้น ได้บริโภคอาหารที่มีคุณภาพมากขึ้นจากการศึกษามีข้อเสนอแนะให้เจ้าหน้าที่ควรคัดเลือกเกษตรกรที่ค่อนข้างมีความรู้ด้านการ ประมงเข้าร่วมโครงการ รวมถึงการคัดเลือกเกษตรกรที่มีจำนวนแรงงานในครอบครัวมากกว่า 1 ราย เพื่อความต่อเนื่องในการดำเนินโครงการ ส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการประมงให้กับเกษตรกรให้ครบทุกด้าน และช่วยเกษตรกรในการประชาสัมพันธ์ให้ศพก. เป็นที่รู้จักแพร่หลาย เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ตรงตาม วัตถุประสงค์และเกิดความยั่งยืนในการดำเนินโครงการ
บทคัดย่อ (EN): The purpose of this study was to analyze the fundamental factors in the areas of personal data, economic, social, fishery knowledge and knowledge of the activities of the Agricultural Learning Center (ALC) that affect the decision in participating in the ALC Project. The population in the study was 114 farmers in Suratthani; 38 farmers were the operators of the main network of ALC in the fishery field in 2018 and 2019 and 76 farmers didn't participate in network centers of ALC. The materials used for data collection were the questionnaire consisting of both closed-ended and open-ended questions. The statistics used for data analysis were mean, percentage, standard deviation and Pearson Correlation at the 95% confidence level using the data analysis program to find the relationship between variables. The results showed that in the basic personal data factors of the two groups of farmers, most of them were 45-60 years old and there were more males than females. They have marital status together and have an elementary education level. The farmers have 5-15 years of experience in fisheries and can use technology for communication. The family labourers were more male than female. There is one labour in the family. The farmers have financial sources to run their occupation by using their funds. The income from fisheries of each family was less than 50,000 baht per year and the fishery products were less than 1,000 kilograms. The business areas, especially for the fishery, were less than 1,600 square meters. The farmers also have a social position. From analyzing the relationship between the level of education level, experience in the fishery, size of the business areas, especially for the fishery, income per year from the fishery, social position and knowledge of the activities of ALC, it was found that there was no significant relationship between each factor. However, the fishery knowledge of the farmers who were the operators of network centers of ALC in 2018 and 2019 has a significant correlation while farmers who didn't participate in network centers of ALC has no significant correlation. The opinions of farmers in both groups towards the support from the Department of Fisheries in supporting production inputs, materials for technology transfer and knowledge in various related fields were overall at a high level in every aspect. From additional opinions on problems, needs and suggestions of farmers to achieve the project's objectives, it was found that most farmers have problems with the labour shortage, the techniques of the breeding, nursery, rearing and processing of fishery products. The farmers need government support in the techniques of the breeding, nursery, rearing and processing of fishery products. They also suggested that the government agencies should help in publicizing the Agricultural Learning Center (ALC) and spreading the knowledge of how to reduce the use of chemicals and low-quality food. Moreover, the farmers thought that the ALC project causes exchanges of knowledge between farmers, interested parties and officials which made their families happy, increased fishery income and could consume higher quality food. According to the study, it was suggested that officials should select farmers who quite have knowledge in fishery and have more than one labour in their families to participate in the project for the continuity of the project, promoting fisheries knowledge to farmers in all aspects and helping farmers to publicize the ALC to be widely known to fulfil the objectives and maintain the work of this project.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2562
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2563
เอกสารแนบ: https://elibonline.fisheries.go.th/elib/cgi-bin/opacexe.exe?op=dsp&db=Main&sid=&skin=s&bid=11738&lang=1&usid=
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
ประเภทชิ้นงาน: การใช้ประโยชน์
เผยแพร่โดย: สำนักงานประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
สำนักงานประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี
2563
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กรมประมง
ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร โครงการจัดทำฐานข้อมูลอันตรกิริยาระหว่างสมุนไพรกับยาแผนปัจจุบัน เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ของไทย ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเห็ดของเกษตรกรที่เข้ารับการฝึกอบรมอาชีพกับศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดสุราษฎร์ธานี (พืชสวน) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเห็ดของเกษตรกรที่เข้ารับการฝึกอบรมอาชีพกับศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดสุราษฎร์ธานี (พืชสวน) การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตกาแฟของเกษตรกรตามโครงการปรับโครงสร้างสินค้ากาแฟแบบครบวงจร การเพิ่มประสิทธิผลของนโยบายรัฐต่อเกษตรกรยางพาราในจังหวัดสุราษฎร์ธานี การตัดสินใจในการปรับลดพื้นที่การผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรในเขตภาคตะวันออก เรื่องเล่าจากเกษตรกร โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ ในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (โครงการเติมน้ำ เติมชีวิต) การศึกษาประสิทธิภาพการผลิตและรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ลาดชัน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความอย่างยั่งยืนของรายได้ในจังหวัดเพชรบูรณ์ โครงการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในสภาวะวิกฤติ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก