สืบค้นงานวิจัย
ความสามารถในการรวมตัวของสายพันธุ์แท้ข้าวโพดหวานที่มีขนาดฝักแตกต่างกันใน ลักษณะผลผลิต และลักษณะทางการเกษตร
จิระ วรจินดา - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ความสามารถในการรวมตัวของสายพันธุ์แท้ข้าวโพดหวานที่มีขนาดฝักแตกต่างกันใน ลักษณะผลผลิต และลักษณะทางการเกษตร
ชื่อเรื่อง (EN): Combining ability of super sweet corn inbred lines with different ear sizes for yield and agronomic traits
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จิระ วรจินดา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Jira Worrajinda
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ความแตกต่างกันทางพันธุกรรมของสายพันธุ์เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาพันธุ์ลูกผสม งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ศึกษาความสามารถในการรวมตัวของสายพันธุ์แท้ข้าวโพดหวาน จำนวน 8 สายพันธุ์ ได้แก่ ฝักขนาดเล็ก 4 สายพันธุ์ และฝัก ขนาดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ที่สกัดจากประชากร KKU-WTMsh และ KKU-WSHCsh ตามลำดับ มาผสมแบบพบกันหมด ได้ลูกผสม เดี่ยว ทั้งหมด 56 คู่ผสม แบ่งเป็น กลุ่มฝักเล็ก x ฝักเล็ก (SxS) 12 คู่ผสม กลุ่มฝักเล็ก x ฝักใหญ่ (SxL) 16 คู่ผสม กลุ่มฝักใหญ่ x ฝัก เล็ก (LxS) 16 คู่ผสม และกลุ่มฝักใหญ่ x ฝักใหญ่ (LxL) 12 คู่ผสม ดำเนินการทดลอง ในฤดูฝน ปี 2554 ณ หมวดพืชผัก วาง แผนการทคลองแบบ RCB จำนวน 3 ซ้ำ และเปรียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม โดยวิธี Othogonal comparison ผลการศึกษา พบว่า จำนวนฝักเก็บเกี่ยว ผลผลิตทั้งเปลือก ผลผลิตปอกเปลือก ความสูงต้น ความสูงฝัก อายุปล่อยละอองเกสร และอายุออกไหม มี ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งในทางสถิติ (p≤0.01) กลุ่มคู่ผสม LxS ให้ผลผลิตทั้งเปลือกและปอกเปลือกสูง เท่ากับ 2,653 และ 1,940 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างกันทางสถิติกับกลุ่มคู่ผสม LxL เท่ากับ 2,767 และ 1,950 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ เนื่องจาก กลุ่มคู่ผสม LxS ให้จำนวนฝักเก็บเกี่ยวสูง เท่ากับ 11,861 ฝักต่อไร่ ซึ่งแตกต่างกันทางสถิติกับกลุ่ม LxL เท่ากับ 9,565 ฝักต่อไร่ จึงจัดเป็นกลุ่มพันธุ์ที่มีฝักดก ดังนั้น การพัฒนาลูกผสมเดี่ยวพันธุ์ใหม่ เพื่อเพิ่มจำนวนฝึกต่อต้น สามารถ ทำได้โดยการผสมข้ามระหว่างประชากรที่มีความแตกต่างกันของขนาดฝัก
บทคัดย่อ (EN): Genetic divergence of line is the main factor to improve hybrid varieties. The objective of this study was to determine combining ability of 8 sweet corn inbred lines. Four inbred lines with small ears (S) and four inbred lines with large ears (L) extracted from KKU-WTMsh and KKU-WSHCsh populations, respectively. They were crossed in a diallel fashion to produce 56 F1 hybrids, and the hybrids were classified into four groups including S x S group (12 hybrids), S x L group (16 hybrids), L x S ears group (16 hybrids) and L x L ears group (12 hybrids). The 56 hybrids were evaluated in a randomized complete block design with three replications in the rainy season 2011 at Experimental Farm of Khon Kaen University, and orthogonal comparison was used to compare the differences among hybrid groups. The result found that there were highly significant difference (p≤0.01) among the hybrid groups on number of harvestable ears, un-husked ear weight, husked ear weight, plant height, ear height, days to pollination and days to silking. LxS group had yields of 2,653 and 1,940 kg rai-1 for husked ears and unhusked ears respectively, and the yields were not statistically different from 2,767 and 1,950 kg rai-1 of LxL group. According to the number of the harvestable ears, LxS group was more prolific than the LxL group and the corresponding yields were 11,861 and 9,565 kg rai-1 , respectively (p≤0.01). Therefore, the development of new single cross hybrids in order to increase number of ear per plant could be achieved through the cross breeding between the population with different ear sizes.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=449-454.pdf&id=1027&keeptrack=23
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความสามารถในการรวมตัวของสายพันธุ์แท้ข้าวโพดหวานที่มีขนาดฝักแตกต่างกันใน ลักษณะผลผลิต และลักษณะทางการเกษตร
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2555
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของมะม่วงพันธุ์ต่างๆ การสร้างพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมคุณภาพเพื่ออุตสาหกรรมการเกษตร การรวบรวมและศึกษาลักษณะของเยอร์บีร่าเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ ลักษณะอาการของโรคใบด่างจากเชื้อ Sugarcane mosaic virus (SCMV) ในข้าวโพดสายพันธุ์ต่างๆ การรวบรวมพันธุ์ และการศึกษาลักษณะประจำพันธุ์,การตอบสนองต่อช่วงแสงในการออกดอกและการผสมเกสรของเบญจมาศเพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ การสร้างพันธุ์ข้าวโพดหวานสองสีลูกผสม เพื่ออุตสาหกรรมเกษตรแช่แข็งในเขตภาคเหนือของไทย ศักยภาพการให้ผลผลิตและความสามารถในการทนแล้งในอ้อย 15 สายพันธุ์ ที่ได้รับน้ำแตกต่างกัน ผลของสารเคลือบที่มีต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานพิเศษ ถั่วเหลืองสายพันธุ์ก้าวหน้า โครงการการปรับปรุงพันธุ์และการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอมห่อ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก