สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีการเพิ่มคุณภาพผลผลิตพืชในโรงเรือน
อัญชัญ ชมภูพวง - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีการเพิ่มคุณภาพผลผลิตพืชในโรงเรือน
ชื่อเรื่อง (EN): Development Technology for Increasing Quality Production in Greenhouse Condition
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อัญชัญ ชมภูพวง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: กฤษฎา สุชีวะ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยและพัฒนาโรงเรือนในพื้นที่โครงการหลวง แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 การทดลอง ได้แก่ 1) การทดสอบเทคโนโลยีการเพิ่มคุณภาพผลผลิตผักภายในโรงเรือนลดอุณหภูมิอัตโนมัติ (Evaporative cooling greenhouse) ดำเนินงานในพื้นที่โครงการหลวง 3 แห่ง ได้แก่ ห้วยลึก แม่สาใหม่ และหนองหอย โดยเลือก พริกหวานแดงเพื่อปลูกทดสอบการเจริญเติบโต และให้ผลผลิตเปรียบเทียบกับการปลูกภายใต้โรงเรือนควบคุม ผลการศึกษา พบว่า พริกหวานแดงที่ปลูกในโรงเรือนลดอุณหภูมิอัตโนมัติของทั้ง 3 พื้นที่ มีปริมาณผลผลิตสูงกว่า การปลูกภายใต้โรงเรือนควบคุม โดยมีปริมาณผลผลิต 452.7 616.79 และ 520 กิโลกรัมต่อโรงเรือน ตามลำดับ และมีต้นทุนการผลิตรวม 27,446.64 29,546.72 และ 25,738.13 บาท ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าการผลิตในโรงเรือนควบคุมที่มีต้นทุนเท่ากับ 14,122.42 13,588.45 และ 14,133.83 ตามลำดับ ทั้งนี้รายได้สุทธิของการปลูกพริกหวานแดงในโรงเรือนลดอุณหภูมิอัตโนมัติ ศูนย์ฯ แม่สาใหม่ และหนองหอย มีกำไรสุทธิ 7,460.80 และ 5,461.87 บาท ตามลำดับ ขณะที่การปลูกพริกหวานแดงในโรงเรือนควบคุมทั้ง 3 พื้นที่ ขาดทุนสุทธิ 13,612.42 3,108 และ 13,353.83 บาท ตามลำดับ เมื่อคำนวณระยะเวลาคืนทุนของการปลูกพริกหวานภายใต้โรงเรือนลดอุณหภูมิอัตโนมัติ พบว่า ต้องปลูกอย่างน้อย 5 รุ่น สำหรับการสอบถามความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่และเกษตรกรต่อการใช้งานโรงเรือนลดอุณหภูมิอัตโนมัติ พบว่า ร้อยละ 76.92 พอใจในด้านโครงสร้างโรงเรือนที่มีความแข็งแรงมากที่สุด 2) ประเมินผลการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกพืชในโรงเรือนหลังคามุงพลาสติก 2 ชั้น ก่อนนำไปขยายผล สู่เกษตรกรบนพื้นที่สูง โดยสัมภาษณ์ความพึงพอใจและข้อคิดเห็นของเกษตรกรในพื้นที่โครงการหลวง จำนวน 130 ราย จาก 23 ศูนย์/สถานี ต่อรูปแบบโรงเรือนหลังคามุงพลาสติก 2 ชั้น โดยเกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.54 สนใจที่จะสร้างโรงเรือนหลังคามุงพลาสติก 2 ชั้น เนื่องจากเห็นว่าโครงสร้างแข็งแรง ส่วนเหตุผลไม่เลือกสร้างเนื่องจากเห็นว่าราคาสูงเกินไป 3) การทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานโรงเรือนแบบถอดประกอบ ได้ออกแบบโรงเรือนแบบถอดประกอบสำหรับการปลูกพืชที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ขนาด 6 x 24 เมตร โดยก่อสร้างโรงเรือนต้นแบบ ณ สถานีฯ ปางดะ และศูนย์ฯ หนองหอย ผลการทดสอบความแข็งแรงของโรงเรือนสามารถรับกำลังแรงลมที่ความเร็วที่ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทั้งนี้โรงเรือนดังกล่าวมีต้นทุนก่อสร้าง 153,669.00 บาทต่อโรงเรือน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-03-08
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-11-02
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีการเพิ่มคุณภาพผลผลิตพืชในโรงเรือน
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
2 พฤศจิกายน 2555
การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2 ชุดโครงการศึกษาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของดอกกุหลาบ โครงการย่อยที่ 1 การศึกษาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มคุณภาพกุหลาบ โครงการทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของการปลูกพืชผัก ฐานข้อมูลจีโนไทป์ของเชื้อพันธุกรรมพืชตระกูลแตง ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตพืชภายใต้โรงเรือน โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมะพร้าวน้ำหอม ชุดโครงการศึกษาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดดอกเบญจมาศ โครงการย่อยที่ 1 การศึกษาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มคุณภาพเบญจมาศ โครงการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่ง เทคโนโลยีการผลิตพืชแห่งศตวรรษที่ 21 โครงการย่อยที่ 2 การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตดอกชมจันทร์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก