สืบค้นงานวิจัย
การผลิตและการตลาดสับปะรด จังหวัดเพชรบุรี
พรรณวดี ทองแดง - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การผลิตและการตลาดสับปะรด จังหวัดเพชรบุรี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พรรณวดี ทองแดง
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสภาพการผลิตและการตลาดสับปะรด จังหวัดเพชรบุรีครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดจังหวัดเพชรบุรี เพื่อศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดสับปะรด รวมถึงปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตและการตลาด การศึกษาครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดของจังหวัดเพชรบุรีที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2543 จำนวน 127 ราย จากจำนวน 1,246 ราย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิเคราะห์ทางสังคมศาสตร์ (SPSS) โดยใช้วิธีหาค่าคะแนนความถี่ ค่าร้อยละ และค่ามัชฌิมเลขคณิต (ค่าเฉลี่ย) จากการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุโดยเฉลี่ย 47.8 ปี จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสบการณ์ในการผลิตสับปะรด 15.4 ปี มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.5 คน มีจำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.2 คน ส่วนใหญ่ต้องจ้างแรงงานในการปลูกและดูแลรักษาสับปะรดเฉลี่ย 3.5 คน พื้นที่การผลิตสับปะรดเฉลี่ย 28.3 ไร่ ผลผลิตสับปะรดที่ได้เฉลี่ย 65.6 ตัน ต่อปี มีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตสับปะรดโดยยังไม่หักค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 138,998.4 บาทต่อปี โดยมีต้นทุนผันแปรในการผลิตสับปะรดในปีที่ศึกษาที่คิดเป็นเงินสดเฉลี่ย 7,611.4 บาทต่อปี แหล่งความรู้ที่เกษตรกร ได้รับส่วนใหญ่ได้จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และจากสื่อมวลชนประเภทเอกสารคำแนะนำ ส่วนใหญ่ได้รับการฝึกอบรม 1-3 ครั้งต่อปี และแหล่งที่ได้รับการฝึกอบรมได้จากสำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี สภาพการผลิตสับปะรดส่วนใหญ่ผลิตในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินร่วมปนทราย การปลูกใช้ระบบแถวคู่ ใช้หน่อเป็นวัสดุปลูก โดยมีจำนวนต้นสับปะรดต่อไร่ประมาณ 7,126 ต้น ไม่มีการคัดขนาดของวัสดุปลูก ไม่มีการใช้สารบังคับการออกดอกของสับปะรด และมีการใช้กระดาษเป็นวัสดุคลุมผลเพื่อป้องกันแดดเผา เกษตรกรมีการปฏิบัติในการบังคับการออกดอกเมื่อจุกสับปะรดอายุ 10.1 เดือน และหน่อสับปะรดอายุ 8 เดือน เก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลังจากบังคับดอก 5 เดือน ส่วนใหญ่มีการจำหน่ายผลผลิตสับปะรดให้กับโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปส่วนใหญ่ไม่มีการทำสัญญาข้อตกลงในการซื้อขายผลผลิต เกษตรกรส่วนใหญ่นำผลผลิตสับปะรดไปส่งเองและพอใจกับมาตรฐานการรับซื้อของโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปสับปะรด ปัญหาของการผลิตและการตลาดสับปะรดที่พบมากคือ ปัญหาด้านหนู ปัญหาด้านโรคแมลงศัตรูพืช ปัญหาด้านสารกำจัดวัชพืช ปัญหาด้านการจำหน่ายผลผลิตให้กับโรงงาน ปัญหาด้านเงินทุนในการผลิต ปัญหาด้านปุ๋ยเคมีและปัญหาด้านพื้นที่ และเกษตรกรส่วนใหญ่มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมของภาครัฐให้มีการประกันราคาผลผลิตในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมาก
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2545
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2545
เอกสารแนบ: https://dric.nrct.go.th/index.php?/Search/SearchDetail/149098
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดเพชรบุรี
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตและการตลาดสับปะรด จังหวัดเพชรบุรี
กรมส่งเสริมการเกษตร
2545
เอกสารแนบ 1
สภาพการผลิตและการตลาดกล้วยหอมทองของเกษตรกรในจังหวัดเพชรบุรี การผลิตและการตลาดสับปะรดในอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย สภาพการผลิตและการตลาดขมิ้นชัน การศึกษาสภาพการผลิตมะนาวในจังหวัดเพชรบุรี การศึกษาสถานการณ์การผลิตการตลาดในประเทศและตลาดส่งออกหม่อนไหม โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรด การศึกษาระบบการผลิตและการตลาดของกะหล่ำปลี สถานการณ์การผลิตและการตลาดข้าวต่างประเทศ โครงการวิจัยการศึกษาระบบการผลิตสับปะรด การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดเพชรบุรี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก