สืบค้นงานวิจัย
การยกระดับคุณค่ามันเทศให้เป็นอาหารทางเลือกเพื่อสุขภาพและแหล่งสำรองอาหารในภาวะวิกฤติเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรัญรัชต์ ธนวิยุทธ์ภัคดี - มหาวิทยาลัยมหิดล
ชื่อเรื่อง: การยกระดับคุณค่ามันเทศให้เป็นอาหารทางเลือกเพื่อสุขภาพและแหล่งสำรองอาหารในภาวะวิกฤติเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการ
ชื่อเรื่อง (EN): Sweet potato elevation as healthy food and food in crisis situation for food and nutrition security
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรัญรัชต์ ธนวิยุทธ์ภัคดี
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การยกระดับคุณค่ามันเทศให้เป็นอาหารทางเลือกเพื่อสุขภาพและแหล่งสำรองอาหารในภาวะวิกฤติเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการ” แก่มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ผศ.ปรัญรัชต์ ธนวิยุทธ์ภัคดี เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) ศึกษาองค์ความรู้มันเทศครบวงจรครอบคลุมทั้งการผลิต การปรุง/แปรรูป/พัฒนาผลิตภัณฑ์คุณค่าทางโภชนาการและคุณประโยชน์ในการป้องกันรักษาโรคบางชนิด และยกระดับคุณค่ามันเทศให้เป็นแหล่งอาหารสำรอง 2) ศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับมันเทศแบบครบวงจรบนฐานวัฒนธรรมไทย เพื่อส่งเสริมให้มีการผลิต การปรับปรุง/แปรรูป/พัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นแหล่งอาหารสำรองในระดับครัวเรือน และชุมชน ในภาวะปกติและภาวะวิกฤติ 3) ศึกษาคุณค่างทางโภชนาการและคุณประโยชน์ของมันเทศเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพการป้องกันรักษาโรคบางชนิดและพัฒนาเป็นอาหารสุขภาพทางเลือกและเพิ่มคุณค่าทางเศรษฐกิจ และ 4) ศึกษาประวัติศาสตร์/วัฒนธรรม/ความเชื่อ/พฤติกรรมการบริโภคมันเทศ เพื่อวางยุทธศาสตร์การสื่อสาร/ส่งเสริมให้มันเทศได้รับการยอมรับในวงกว้างและถูกยกระดับความสำคัญให้เป็นแหล่งอาหารในภาวะวิกฤติ จากการศึกษาวิจัย พบว่าข้อมูลทุติยภูมิจากโครงข่ายอินเตอร์เน็ตจำนวน 71 เวปไซต์ที่เกี่ยวกับมันเทศ ข้อมูลส่วนใหญ่กระจัดกระจายและไม่เชื่อมโยงกัน ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการนำมันเทศมาใช้ประโยชน์ด้านอาหาร จากผลการศึกษา พบว่าการปลูกมันเทศมีการกระจายตัวในทั่วทุกภาคกว่า 44 จังหวัด และเมื่อศึกษาในกรณีจังหวัดพิจิตรพบว่ามีรูปแบบการเพาะปลูกที่หลากหลายอยู่ถึง 4 แบบ คือ 1) การปลูกพืชอนุรักษ์สำรองพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร มีจำนวน 431 สายพันธุ์ 2) การปลูกมันเทศเพื่อเป็นการค้ามีการเพาะปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่ มีการจัดการระบบน้ำ การใช้ปุ๋ย สารเคมีในปริมาณมาก และใช้เครื่องจักรกลในการทุ่นแรง โดยส่วนใหญ่ปลูกเพื่อส่งขายให้กับตลาดขายส่งขนาดใหญ่ 3) การปลูกมันเทศบนฐานวัฒนธรรมเกษตรแบบท้องถิ่น ซึ่งมีการลงทุนต่ำ ส่วนใหญ่ใช้แรงงานในครัวเรือนและไม่มีการใช้เครื่องจักรกลเป็นเครื่องทุ่นแรง มี 2 รูปแบบ คือ การปลูกมันเทศหลังนาที่อำเภอเมือง และการปลูกมันริมตลิ่งแม่น้ำในช่วงฤดูที่น้ำลด และ 4) การปลูกมันเทศที่นำสายพันธุ์เข้ามาจากต่างประเทศ เป็นการปลูกโดยชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรเพื่อส่งขายในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่และตลาดเฉพาะกลุ่ม นอกจากนี้ที่จังหวัดพิจิตรยังมีการเก็บสำรองพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์มันเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งข้อสรุปเบื้องต้นสะท้อนให้เห็นว่ามันเทศมีศักยภาพเพียงพอที่จะได้รับการพัฒนาเพื่อยกระดับให้เป็นหนึ่งในพืชทางเลือกของเกษตรกร โดยที่กระบวนการพัฒนาจำเป็นจะต้องมองอย่างเป็นองค์รวมพร้อมๆ กับระบบการปลูกพืชแบบผสมผสาน และมันเทศยังเป็นที่รู้จักของผู้บริโภค อีกทั้งยังมีการบริโภคในรูปแบบที่หลากหลาย โดยแหล่งที่ซื้อมันเทศสดและอาหารจากมันเทศส่วนใหญ่หาซื้อได้จากตลาดนัด ดังนั้น มันเทศจึงเป็นพืชที่น่าสนใจที่สมควรสนับสนุนให้มีการบริโภคมากขึ้นและพัฒนาเป็นทางเลือกของอาหารสุขภาพและในภาวะวิกฤติ รวมทั้งเพิ่มช่องทางในการนำเสนอสินค้าจากมันเทศทั้งแบบสดและอาหารจากมันเทศเพื่อการบริโภคในครัวเรือนก็มีความสำคัญ ประโยชน์ที่จะได้รับจากผลงานวิจัยนี้คือ ฐานข้อมูลมันเทศของประเทศไทยแบบครบวงจรเพื่อภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม ประชาชนทั่วไป และผู้ป่วยบางโรค
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-08-21
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-08-20
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2556
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยมหิดล
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การยกระดับคุณค่ามันเทศให้เป็นอาหารทางเลือกเพื่อสุขภาพและแหล่งสำรองอาหารในภาวะวิกฤติเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการ
มหาวิทยาลัยมหิดล
20 สิงหาคม 2557
การยกระดับคุณค่ามันเทศให้เป็นอาหารทางเลือกเพื่อสุขภาพและแหล่งสำรองอาหารในภาวะวิกฤติเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการ การยกระดับคุณค่ามันเทศให้เป็นอาหารทางเลือกเพื่อสุขภาพและแหล่งสำรองอาหารในภาวะวิกฤติเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการปีที่ 2 อนาคตของอาหารโลกอยู่ในมือของคุณ การยกระดับคุณค่ามันเทศให้เป็นอาหารทางเลือกเพื่อสุขภาพและแหล่งสำรองอาหารในภาวะวิกฤติเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการปีที่ 2 อาหารจานด่วน กินไว ตายผ่อนส่ง อาหารบำรุงสมอง ระบบอิมัลชันในอาหารและความคงตัว ระดับคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสมในอาหารปลาหมอ คุณค่าเชิงสุขภาพของเห็ดกินได้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แนวทางพัฒนาความมั่นคงทางอาหารระดับชุมชนกับการดำรงอยู่ของทรัพยากรธรรมชาติ การผลิต วัฒนธรรม และการค้า จังหวัดเชียงใหม่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก