สืบค้นงานวิจัย
การใช้เทคนิคสนามไฟฟ้าความต่างศักย์สูงกระตุ้นเป็นจังหวะเพื่อเตรียมขั้นต้นในการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากต้นอ่อนข้าวก่ำเพื่อป้องกันมะเร็งและการเสื่อมของเซลล์ประสาท
ยงยุทธ เฉลิมชาติ - สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: การใช้เทคนิคสนามไฟฟ้าความต่างศักย์สูงกระตุ้นเป็นจังหวะเพื่อเตรียมขั้นต้นในการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากต้นอ่อนข้าวก่ำเพื่อป้องกันมะเร็งและการเสื่อมของเซลล์ประสาท
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ยงยุทธ เฉลิมชาติ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: แผนงานวิจัยนี้เป็นโครงการต่อเนื่องปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดต้น อ่อนข้าวก่ำ ในการก่อกลายพันธุ์และต้านการกลายพันธุ์ โดยวิธีการทดสอบ Ames ในแบคทีเรีย S. typhimurium สายพันธุ์ TA100 และ TA98 (Salmonella mutation assay) และฤทธิ์ในการต้านภาวะดื้อ ต่ออินซูลินในเซลล์ไขมันอะดิโพไซต์ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยการอักเสบ โดยทดสอบจากการความสามารถ ในการนำกลูโคสเข้าสู่ซลล์ไขมัน และทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบในเซลล์ด้วยวิธีทดสอบ Griess ผล การทดสอบพบว่สารสกัดต้นอ่อนข้าวกำไม่มีความเป็นพิษต่อแบคเรียและไม่เพิ่มจำนวนของเซลล์ทั้ง ที่มีและไม่มีเอนไซม์กระตุ้น เมื่อทดสอบฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์พบว่าสารสกัดที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 125 - 500 ไม่โครกรัมสามารถต้านการกลายพันธุ์ที่เหนี่ยวนำด้วยสารก่อมะเร็งทั้งที่ต้องการและไม่ต้องการ เอนไซม์มากระตุ้น ทั้งนี้ สารสกัดมีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ในแบคทีเรีย TA100 ได้ดีกว่าชนิด TA98 ซึ่ง บ่งบอกถึงกลไกของสารสกัดในการปกป้องการทำลายดีเอ็นเอจากสารก่อกลายพันธุ์ สำหรับฤทธิ์ต้าน ภาวะดื้อต่ออินซูลินในเซลล์ไขมันอะดิโพไซต์ 313-L 1 พบว่าสารสกัดไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ และ สารสกัดที่ความเข้มข้นต่ำ (100 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถช่วยให้อินซูลินกระตุ้นการนำกลูโคส เข้าสู่เซลล์ไขมันแต่ไม่พบฤทธิ์ดังกล่าวที่ความเข้มข้นสูง อกจากนี้สารสกัดต้นอ่อนข้าวกำไม่ลดการ สร้างไนตริคออกไซด์ ที่เหนี่ยวนำขึ้นโดยสารก่ออักเสบได้ จากผลการทดลองในโครงการย่อยนี้ สรุปได้ว่า สารสกัดต้นอ่อนข้าวกำมีฤทธิ์ต้านการเกิด มะเร็ง โดยสารสกัดไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์แต่สามารถต้านการกลายพันธุ์ได้ อย่างไรก็ตาม ผลการ ทดสอบฤทธิ์การนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ไขมันยังไม่ชัดเจนที่จะสรุปได้ว่าสารสกัดต้นอ่อนข้าวกำมีฤทธิ์ต้าน การดื้อต่ออินซูลิน สุดท้ายนี้สารสกัดต้นอ่อนข้าวกำอาจจะนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการปกป้องการเกิด มะเร็งได้
บทคัดย่อ (EN): This research plan is the 2"d year project that has major aims to study mutagenicity and anti- mutagenicity activities of germinated purple rice extract by using Ames test (Salmonella mutation assay) in bacteria strain S. typhimurium TA100 and TA98 and the anti-insulin resistance activity in fat cell adipocyte induced by inflammation by using the glucose uptake assay and testing anti- inflammation by Griess assay. The results showed the germinated purple rice extract has no toxicity to bacteria and does not increase the bacteria colony both with and without enzyme induction. For anti-mutagenicity test, the extract at concentration of 125 - 500 ug exhibited anti- mutagenicity that was induced by mutagens in both with and without enzyme stimulation. In fact, the extract showed greater anti-mutagenicity effect against TA100 than TA98 suggesting that the mechanism of the extract on protection of DNA damage caused by mutagens. For anti-insulin resistance activity in the 3T3-L1 adipocyte, the extract had no toxicity to the adipocytes and at the low concentration (100 ug/mL) was able to aid the insulin-induced glucose uptake into the cells, but not have this activity at higher concentration. Moreover, the extract did not did not reduce nitric oxide production induced by an inflammatory agent. In conclusion, the results of this research project indicate that the germinated purple rice extract likely has anti-cancer activity as it is not a mutagen and can inhibit mutagenicity. However, there is unclear evidence for the insulin-induced glucose uptake into adipocytes so it is still not conclusive that the extract has anti-insulin resistance activity. Finally, the germinated purple rice extract might be beneficial for cancer prevention.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้เทคนิคสนามไฟฟ้าความต่างศักย์สูงกระตุ้นเป็นจังหวะเพื่อเตรียมขั้นต้นในการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากต้นอ่อนข้าวก่ำเพื่อป้องกันมะเร็งและการเสื่อมของเซลล์ประสาท
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
30 กันยายน 2555
การใช้เทคนิคสนามไฟฟ้าความต่างศักย์สูงกระตุ้นเป็นจังหวะเพื่อเตรียมขั้นต้นในการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ จากต้นอ่อนข้าวก่ำเพื่อป้องมะเร็งและการเสื่อมของเซลล์ประสาท การใช้เทคนิคสนามไฟฟ้าความต่างศักย์สูงกระตุ้นเป็นจังหวะเพื่อเตรียมขั้นต้นในการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากต้นอ่อนข้าวก่ำเพื่อป้องกันมะเร็งและการเสื่อมของเซลล์ประสาท (ต่อเนื่องปีที่ 2) การใช้เทคนิคสนามไฟฟ้าความต่างศักย์สูงกระตุ้นเป็นจังหวะเพื่อเตรียมขึ้นในการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากต้นอ่อนข้าวก่ำเพื่อป้องมะเร็งและการเสื่อมของเซลล์ประสาท (ต่อเนื่องปีที่ 2) การพัฒนาข้าวก่ำล้านนาสู่อุตสาหกรรม : การพัฒนาวิธีการสกัดแยกสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากข้าวก่ำ, และการพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากข้าวก่ำล้านนาสู่อุตสาหกรรม การพัฒนาข้าวก่ำล้านนาสู่อุตสาหกรรม - การพัฒนาวิธีการสกัดแยกสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากข้าวก่ำ, และการพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากข้าวก่ำล้านนาสู่อุตสาหกรรม การพัฒนาข้าวก่ำล้านนาสู่อุตสาหกรรม : การพัฒนาวิธีการสกัดแยกสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากข้าวก่ำ, และการพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากข้าวก่ำล้านนาสู่อุตสาหกรรม (ต่อเนื่องปีที่ 2) แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน การวิจัยคุณลักษณะจาเพาะต่อการแปรรูปของข้าว 84 พันธุ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ- การใช้เทคนิคโปรตีโอมิกส์ศึกษาวิถีการผลิตโปรตีนหลักในเมล็ดข้าวและการเตรียมเปปไทด์ออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเมล็ดและรำข้าว การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวก่ำสำหรับผู้สูงอายุ การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก