สืบค้นงานวิจัย
ผลของแบคทีเรีย Bacillus licheniformis BFP011 ในการยับยั้งเชื้อรา Colletotrichum capsici สาเหตุโรคแอนแทรคโนสของพริก
ปัทมวรรณ มณีสุวรรณ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของแบคทีเรีย Bacillus licheniformis BFP011 ในการยับยั้งเชื้อรา Colletotrichum capsici สาเหตุโรคแอนแทรคโนสของพริก
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Bacillus licheniformis BFP011 to inhibit Colletotrichum capsici, cause of Pepper Anthracnose
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปัทมวรรณ มณีสุวรรณ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Pattamawan Maneesuwan
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: พิศาล ศิริธร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Pisan Sirithorn
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: บทคัดย่อ: เมื่อนำแบคทีเรีย Bacillus spp. ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อสาเหตุโรคพืชจำนวน 11 ไอ้โซเลตมาทดสอบความ สามารถในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา Colletotrichum capsici จำนวน 4 ไอโซเลตที่แยกได้จากก้าน ใบ ผล และไอโซเลต 158 ci/KU โดยวางแผ่นการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) จำนวน 11 ทรีตเมนท์ (treatment) 4 ซ้ำ (replication) พบว่าแบคที่เรีย Bacillus licheniformis ไอโซเลต BFP011 สามารถยับยั้งการเจริญของ เส้นใยเชื้อรา C. capsici ได้ดีที่สุด ในทำนองเดียวกันสารสกัดหยาบของแบคทีเรีย B. licheniformis BFP011 ที่ทำให้เข้ม ข้นด้วยเครื่อง evaporator สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา C. capsici จำนวน 12 ไอโซเลตได้ดี เมื่อนำเส้นใย และสปอร์ของเชื้อรา C. capsici .ใส่ลงในซลล์แขวนลอยแบคที่เรีย B. Iicheniformis ไอโซเลต BFP011 ความเข้มข้น 1x10 cfu/mI และสารสกัดหยาบของแบคที่เรีย B. licheniformis BFP011 ความเข้มข้น 1,000 มก./มล. เป็นเวลา 24 ชม. ทำให้เส้นใยของเชื้อรา C. capsici มีลักษณะบวมพอง และลดเปอร์เซ็นต์การงอกของสปอร์เชื้อรา C. capsici ลงได้ 57.8 และ 71.4 % ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): Capability of 11 isolates of Bacillus spp. previously reported as antagonistic against some plant pathogens was tested. This is to inhibit the growth of four isolates of Colletotrichum capsici isolated from stalk, leaf, fruit and 158 ci/KU, by employing Completely Randomized Design (CRD) consisting of 11 treatments with 4 replications. The results showed that B. licheniformis BFP011 exhibited the most promising inhibition. Similarly, the evaporated crude extract produced by B. licheniformis BFP011 was able to inhibit greatly growth of C. capsici. When mycelium and spores of C. capsici were immersed in cell suspension at 1x108 cfu/ml and the evaporated crude extract at 1,000 mg/ml of B. licheniformis BFP011 for 24 hours. It is obvious that abnormal hypha and hypha tip with thickened cell wall and swellen cell could be notified meanwhile the percentage of spore germination were reduced by the cell suspension and the evaporated crude extract by 57.8 and 71.4 %, respectively.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=55O-PHATO-027.pdf&id=884&keeptrack=22
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของแบคทีเรีย Bacillus licheniformis BFP011 ในการยับยั้งเชื้อรา Colletotrichum capsici สาเหตุโรคแอนแทรคโนสของพริก
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2556
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
บทบาทของสารประกอบที่ว่องไวปฏิกิริยาต่อการเจริญและเปลี่ยนแปลงของเซลล์เชื้อราก่อโรคแอนแทรคโนสในพริก ผลยับยั้งของสารสกัดจากผลดีปลีต่อเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides สาเหตุโรคแอนแทรคโนสของผลมะม่วง ผลของสารระเหยที่ผลิตจากเชื้อ Daldinia spp. ต่อการควบคุมโรคแอนแทรคโนสของพริกหลังการเก็บเกี่ยวและการงอกของเมล็ดพริก ผลของแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus subtilis B006 ในการเคลือบเมล็ดเพื่อควบคุมเชื้อรา Botryosphaeria rhodina สาเหตุโรคยางไหลของแตง ความผันแปรทางพันธุกรรมระหว่างไอโซเลทของเชื้อราสกุล Trichoderma จากบริเวณรากของพริกและสารชีวภัณฑ์ ฤทธิ์ต้านเชื้อราของแบคทีเรียปฏิปักษ์ Streptomyces hygroscopicus NR8-2 ต่อเชื้อราสาเหตุโรคใบจุดของผักสลัด การใช้ประโยชน์จากความหลากหลายของแอคติโนแบคทีเรียเอนโดไฟต์ใน เมล็ดข้าวพันธุ์พื้นเมืองเพื่อค้นหาสารยับยั้งเชื้อราชนิดใหม่ อิทธิพลของปุ๋ยฟอสฟอรัสต่อการพึ่งพาเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา เพื่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพริก ผลของ Cold plasma ต่อความงอกและการควบคุมเชื้อราบนผิวเมล็ดพันธุ์พริก ประสิทธิภาพของสารสกัดจากแบคทีเรีย Xenorhabdus และ Photorhabdus ในการยับยั้งแบคทีเรียดื้อยา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก