สืบค้นงานวิจัย
ความคิดเห็นของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบงานข้าวประจำสำนักงานเกษตรจังหวัดที่มีต่อการดำเนินงานโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าว ปี 2545
ดุจเดี่ยว วงศ์ภักดิ์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความคิดเห็นของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบงานข้าวประจำสำนักงานเกษตรจังหวัดที่มีต่อการดำเนินงานโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าว ปี 2545
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ดุจเดี่ยว วงศ์ภักดิ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาความคิดเห็นของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบงานข้าวประจำสำนักงานเกษตรจังหวัดที่มีต่อการดำเนินงานโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าว ปี 2545 โดยมี วัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยสรุปดังนี้ (1) เพื่อศึกษาสถานภาพและการดำเนินงานศูนย์ (2) เพื่อศึกษาถึงความคิดเห็นของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบงานข้าวประจำสำนักงานเกษตรจังหวัดที่มีต่อโครงการศูนย์ ปี 2545 ในด้านปัญหาอุปสรรค (3) เพื่อศึกษาถึงปัญหาและข้อเสนอแนะของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบงานข้าวประจำสำนักงานเกษตรจังหวัดที่มีต่อโครงการศูนย์ ปี 2545 ได้ดำเนินศึกษาข้อมูลจากนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบงานข้าวประจำสำนักงานเกษตรจังหวัดซึ่งเป็นตัวแทนในการวิจัย จำนวน 76 จังหวัดจังหวัดละๆ 1 คน ช่วงดำเนินการตั้งแต่เดือน มกราคม 2546 ถึงเดือนมีนาคม 2547 วิเคราะห์ผลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าพิสัย และใช้มาตราประมาณค่าความคิดเห็นของ Likert ผลการวิจัยในส่วนของข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศชายจำนวน 62 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 81.6 มีอายุ สูงสุด 56 ปี อายุต่ำสุด 32 ปี อายุเฉลี่ย 38.5 ปี และมีอายุระหว่าง 41 - 45 ปี จำนวน 27 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 35.5 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่การศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 63 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 82.9 ระยะเวลารับผิดชอบงานข้าว สูงสุด 24 ปี ต่ำสุด 1 ปี เฉลี่ย 5.2 ปี มากที่สุด ระยะเวลาระหว่าง 4-8 ปี จำนวน 44 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 72.3 ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานศูนย์ (1) การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวในศูนย์ประกอบไปด้วย ความคิดเห็นต่อการรวมตัวของเกษตรกรผู้จัดทำแปลงของศูนย์จำนวน 10 -20 คน มีความคิดเห็นระดับดี จำนวน 41 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 53.9 ความคิดเห็นต่อความคิดเห็นต่อแปลงศูนย์ 200 ไร่ และขยายผลให้เป็นแหล่งข้าวคุณภาพดี 4,000 ไร่ ใน 4 ปี มีความคิดเห็นระดับดี จำนวน 25 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 32.9 ความคิดเห็นต่อจำนวนและร้อยละความคิดเห็นต่อการสนับสนุนปัจจัยการผลิตจากกรมส่งเสริมการเกษตร เช่น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยเคมี ในปีแรกและเมล็ดพันธุ์ในปีต่อไปจำแนกตามระดับความคิดเห็นมีความคิดเห็นระดับดี จำนวน 39 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 51.3 ความคิดเห็นต่อศูนย์ที่ขายเมล็ดพันธุ์ในแปลงให้กับเกษตรกรในพื้นที่ในราคาที่เหมาะสม มีความคิดเห็นระดับดีมากจำนวน 38 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 50 ความคิดเห็นต่อสมาชิกในศูนย์จัดตั้งกองทุนที่เกิดรายได้ที่มีของศูนย์ข้าว มีความคิดเห็นระดับดีมาก จำนวน 38 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 50.1 (2) การพิจารณาเทคโนโลยีที่เหมาะสม (GAP) มีความคิดเห็นต่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการป้องกันกำจัดศัตรูข้าว โดยปฏิบัติตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร มีความคิดเห็นระดับดีมาก จำนวน 34 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 44.7 ความคิดเห็นที่มีต่อการแนะนำการคัดพันธุ์ปนในแปลงนามีความคิดเห็นระดับดีมาก จำนวน 33 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 43.4 (3) การจัดจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ ความคิดเห็นต่อศูนย์ สามารถทำให้ได้ ข้าวคุณภาพดีขายให้ศูนย์ขยายพันธุ์พืชได้มากน้อยเพียงใด มีความคิดเห็นระดับน้อย จำนวน 24 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 34.6 ความคิดเห็นต่อการขายให้เกษตรกรในพื้นที่ข้างเคียงได้บ้างหรือไม่ทำได้ดีขนาดไหน มีความคิดเห็นระดับปานกลาง จำนวน 33 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 43.4 มีความคิดเห็นต่อการแปรรูปเป็นข้าวสารขายเพื่อเป็นรายได้ในศูนย์ข้าวชุมชนบ้างหรือไม่ ทำได้ดีขนาดไหน มีความคิดเห็นระดับน้อย จำนวน 21 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 27.6 (4) การจัดการโครงการที่ผ่านมา มีความคิดเห็นต่อการชี้แจงโครงการศูนย์ มีความคิดเห็นระดับดี จำนวน 46 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 60.5 ความคิดเห็นต่อการจัดส่งเอกสารหรือคู่มือโครงการ มีความคิดเห็นระดับดี จำนวน 44 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 57.9 มีความคิดเห็นต่อการจัดส่งพันธุ์ข้าวความคิดเห็นระดับดีมาก จำนวน 36 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 47.4 ความคิดเห็นต่อการจัดส่งปุ๋ยเคมี มีความคิดเห็นระดับดีมาก จำนวน 33 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 43.4 ความคิดเห็นต่อการโอนเงินงบประมาณโครงการ ส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นระดับปานกลาง จำนวน 48 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 63.2 การให้คะแนนความสำเร็จ ความคิดเห็นที่มีต่องานสำเร็จของโครงการศูนย์ โดยให้เป็นคะแนน โดยคะแนนเต็ม 100 คะแนน ระดับคะแนนที่มากที่สุด คือช่วงระหว่าง 51-70 คะแนน จำนวน 34 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 44.7 1.6 ผลการวิจัยในส่วนปัญหาและข้อเสนอแนะ พบว่าความคิดเห็นต่อปัญหาการดำเนินงานโครงการศูนย์ ปี 2545 จะเป็นปัญหา การกำหนดเป้าหมายในการกระจายพันธุ์ จำนวน 30 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 39.5 2. ข้อเสนอแนะ การวิจัยเรื่องความคิดเห็นของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรประจำสำนักงานเกษตรจังหวัดที่มีต่อโครงการศูนย์ ปี 2545 ซึ่งสามารถนำมาวิเคราะห์ และประมวลเป็นข้อเสนอแนะได้ดังนี้ การกำหนดเป้าหมายในการกระจายพันธุ์ การบริหารศูนย์ การจัดทำแปลง 200 ไร่ การได้รับการสนับสนุนจากทางราชการการและการเตรียมการ การกำหนดพื้นที่ควรจะติดต่อกันเป็นผืนเดียวกันจะทำการจัดการง่าย การวางแผนการต้องครอบคลุมถึงการกระจายพันธุ์ด้วย การประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรได้เข้าใจและรู้จักศูนย์และการจัดทำแปลงพันธุ์ไว้ใช้ในชุมชน ดังนั้นเพื่อให้การกระจายพันธุ์ได้ตามเป้าหมายของโครงการ และมีผลให้กองทุนเวียนกลุ่มเก็บได้มาก ควรสนับสนุน ชั้นพันธุ์หลัก หรือชั้นพันธุ์ขยาย ทุกปีตลอดโครงการ คือ 4 ปี อย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นเสริมสร้างกองทุนให้เข้มแข็งสามารถยั่งยืนได้ตลอดจนการสนับสนุนกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และการอบรมถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแปลงพันธุ์อย่างต่อเนื่องได้ ตลอดจนความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนก็มีส่วนช่วยให้การบริหารงานของศูนย์ เข้มแข็งขึ้นและควรมีการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการวางแผนการกระจายพันธุ์ให้ครบตามเป้าหมายโครงการ ตลอดจนการอบรมเกี่ยวกับความเป็นผู้นำชุมชนเพื่อมาประยุกต์ใช้กับการบริหารศูนย์ ส่วนการถ่ายทอดเทคโนโลยี การจัดทำแปลง 200 ไร่ และการเตรียมการ นั้นควรที่จะได้รับการแก้ไขปัญหาตามลำดับต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2545
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความคิดเห็นของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบงานข้าวประจำสำนักงานเกษตรจังหวัดที่มีต่อการดำเนินงานโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าว ปี 2545
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร ปัญหาการดำเนินงานส่งเสริมของวิทยาลัยเกษตรกรรม ความพึงพอใจของสมาชิกต่อการดำเนินงานโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2545 ตำบลหัวทุ่ง อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการดำเนินงานโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2545 ในตำบลนาดี อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ บทบาทของวิทยาลัยเกษตรกรรมในการสนับสนุนงานส่งเสริมการเกษตรของจังหวัดตามทรรศนะของผู้บริหารสำนักงานเกษตรจังหวัด ผลการดำเนินงานตามโครงการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ในจังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2545 การศึกษารอยเท้าน้ำของข้าวใน 3 จังหวัด ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ผลการดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลหนองกุงเซิน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ปี 2545 การประเมินผลโครงการส่งเสริมการปลูกข้าวญี่ปุ่นครบวงจร ปี2545 ทัศนคติของเกษตรจังหวัดที่มีต่อหน่วยงานวิชาการเกษตร

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก