สืบค้นงานวิจัย
การใช้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปรับปรุงบำรุงดินในนาข้าวของเกษตรกร ตำบลไผ่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
อาคม สมคะเนย์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การใช้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปรับปรุงบำรุงดินในนาข้าวของเกษตรกร ตำบลไผ่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อาคม สมคะเนย์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปรับปรุงบำรุงดินในนาข้าวของเกษตรกรตำบลไผ่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจโดยทั่วไปของเกษตรกร 2) สภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปรับปรุงบำรุงดินในนาข้าวของเกษตรกร 3) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปรับปรุงบำรุงดินในนาข้าวของเกษตรกร โดยเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นเกษตรกรผู้ทำนาข้าว จำนวน 219 ราย ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าแจกแจงความถี่ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาด้านสังคมและเศรษฐกิจพบว่าเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 47.98 ปี จบการศึกษาต่ำกว่าภาคบังคับ สมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 5.17 คน แรงงานทางการเกษตรของครอบครัวเฉลี่ย 2.87 คน มีการจ้างแรงงานทำการเกษตรเฉลี่ย 4.32 คน เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกองทุนพัฒนาหมู่บ้าน อาชีพหลักทำนา อาชีพรองรับจ้าง มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 21.47 ไร่ รายได้ในครอบครัวเฉลี่ย 74,563.47 บาทต่อปี เป็นรายได้ทางการเกษตรเฉลี่ย 47,504.10 บาทต่อปี รายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 27,136.98 บาทต่อปี รายจ่ายในครอบครัวเฉลี่ย 58,152.96 บาทต่อปี เป็นรายจ่ายทางการเกษตรเฉลี่ย 28,381.73 บาทต่อปี รายจ่ายนอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 30,490.86 บาทต่อปี เกษตรกรมีหนี้สินเฉลี่ย 14,091.32 บาทต่อครอบครัว เกษตรกรส่วนใหญ่กู้เงินจากกองทุนพัฒนาหมู่บ้าน สำหรับสภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปรับปรุงบำรุงดินในนาข้าว เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาทั้งหมด จำนวน 219 ราย ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว ส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ก่อนการปลูกข้าว 1-2 เดือน อัตราการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เฉลี่ย 659.58 กิโลกรัมต่อไร่ โดยวิธีการหว่านทิ้งไว้ในนา เกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์หลายชนิดรวมกัน ส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยคอกและมีไว้ใช้เอง เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดรู้จักวัสดุปรับปรุงบำรุงดินและชนิดของวัสดุปรับปรุงบำรุงดินในนาข้าว เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้วัสดุปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้ในอัตราเฉลี่ย 308.44 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนใหญ่ใช้วัสดุปรับปรุงบำรุงดินก่อนการปลูกข้าว 30-50 วัน โดยการหว่านไว้ทั่วทั้งแปลง ไม่มีข้อกำหนดที่แน่นอนในการใช้วัสดุปรับปรุงบำรุงดิน และส่วนใหญ่ไถกลบหลังจากการใส่วัสดุปรับปรุงบำรุงดินแล้ว เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เคยนำดินไปตรวจสอบความสมบูรณ์ของดินเลย ไม่จุดไฟเผาตอซังข้าวหลังการเก็บเกี่ยว และรู้ผลที่เกิดจากการจุดไฟเผาตอซังข้าว ส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องดินเค็มและดินเปรี้ยว เกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 219 ราย คิดว่าไม่มีข้อแตกต่างในการใช้พันธุ์ข้าวในนาดินเค็มและนาดินเปรี้ยว ส่วนใหญ่ใช้พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และเหนียวสันป่าตองในนาดินเค็ม ใช้พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในนาดินเปรี้ยว เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ในการแก้ไขนาดินเค็ม และใช้ปูนมาร์ล ปูนโดโลไมท์ เพื่อปรับความเป็นกรด-ด่าง ในการแก้ไขนาดินเค็ม ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ ปัญหาอุปสรรคในการจัดทำ หรือซื้อหาปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปรับปรุงบำรุงดินในนาข้าวของเกษตรกร ได้แก่ ไม่มีขายในท้องถิ่น แรงงานไม่พอ ขั้นตอนการทำ วิธีการทำ จำนวนที่ใช้ วิธีการใช้ยุ่งยาก และราคาแพง ข้อเสนอแนะด้านการจัดทำหรือซื้อหาปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุเพื่อใช้ในการปรับปรุงบำรุงดินในนาข้าวของเกษตรกร โดยการรวมกลุ่มการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และให้สมาชิกมีส่วนร่วมช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการผลิตปุ๋ย เพื่อแก้ปัญหาด้านแรงงานและเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงาน รวมทั้งใช้วัสดุในการจัดทำปุ๋ยอินทรีย์ และวัสดุในการปรับปรุงบำรุงดินที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่น เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยชีวภาพ แกลบ ตอซังข้าว ฯลฯ แนะนำส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปรับปรุงบำรุงดินให้เกษตรกรดำเนินการทุกหมู่บ้าน รณรงค์และประชาสัมพันธ์การใช้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปรับปรุงบำรุงดินในนาข้าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกรเห็นความสำคัญหันกลับมาใช้อย่างยั่งยืน ข้อเสนอแนะด้านความต้องการความช่วยเหลือจากทางราชการ โดยขอให้สนับสนุนด้านเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดหรือเชื้อจุลินทรีย์สารเร่งปุ๋ยหมัก สนับสนุนด้านสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ และการอบรมแนะนำการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปรับปรุงบำรุงดินให้แก่เกษตรกร
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปรับปรุงบำรุงดินในนาข้าวของเกษตรกร ตำบลไผ่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การใช้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปรับปรุงบำรุงดินในนาข้าวของเกษตรกร ตำบลขุนหาญ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ สภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปรับปรุงดินในนาข้าวของเกษตรกรตำบลตองปิด อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ การศึกษาวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษวัสดุอินทรีย์ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งไม้ สภาพการใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลโนนยาง อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร การใช้เทคโนโลยีปรับปรุงบำรุงดินด้านปุ๋ยพืชสด ในนาข้าวของเกษตรกรตำบลบุแกรง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ สภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวของเกษตรกรตำบลเมืองปัก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวของเกษตรกรตำบลบ้านแร่ กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ สภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรทำนา ตำบลพลับพลา อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกร ปีเพาะปลูก 2546/2547 ตำบลไผ่ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ สภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวของเกษตรกร ตำบลสลักใด อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก