สืบค้นงานวิจัย
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคโคนเน่ามะเขือเทศซึ่งเกิดจากเชื้อราเมล็ดผักกาดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในปี 2540-2541
สุรพงษ์ กลางเคื่อม - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคโคนเน่ามะเขือเทศซึ่งเกิดจากเชื้อราเมล็ดผักกาดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในปี 2540-2541
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุรพงษ์ กลางเคื่อม
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคโคนเน่ามะเขือเทศ ซึ่งเกิดจากเชื้อราเมล็ดผักกาดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ปี 2540-2541 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษษการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคโคนเน่ามะเขือเทศ และปัญหาอุปสรรคของการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคโคนเน่ามะเขือเทศ ซึ่งเกิดจากเชื้อราเมล็ดผักกาดของเกษตรกร โดยทำการศึกษาใน 6 จังหวัดได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ นครพนม สกลนคร หนองคาย มุกดาหาร และจังหวัดเลย สุ่มเลือกตัวอย่างโดยวิธี Multistage random sampling โดยสุ่มจังหวัดและอำเภอโดยวิธี Purposive random sampling เกษตรกรตัวอย่าง 186 ราย จากจำนวนเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 346 ราย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่า Chi-Square test ผลการศึกษาพบว่า สภาพพื้นฐานทั่วไปของเกษตรกรผู้ให้สัมภาษณ์เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 81.2 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 44.76 ปี ส่วนใหญ่ร้อยละ 86.0จบการศึกษาระดับต่ำกว่าหรือเท่ากับระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.9 คน แรงงานในครอบครัวที่ใช้ในการทำการเกษตรเฉลี่ย 4.41 คนมีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 17.27 ไร่ อาชีพทางการเกษตรที่ทำอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่ร้อยละ 52.3 ทำนา ปลูกพืชไร่และปลูกผัก มีพื้นที่ปลูกมะเขือเทศเฉลี่ย 1.90 ไร่ แรงงานในครัวเรือนที่ใช้ในการปลูกมะเขือเทศเฉลี่ย 2.38 คน แรงงานจ้างชั่วคราวเฉลี่ย 1.72 คน เกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.8 ปลูกมะเขือเทศเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 61.8 ปลูกมะเขือเทศในพื้นที่นาดอน ส่วนใหญ่ร้อยละ 87.1 ปลูกในดินร่วนปนทราย ช่วงเวลาที่เกษตรกรปลูกมะเขือเทศเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 74.2 ปลูกในช่วงฤดูแล้งหลังการเก็บเกี่ยวข้าว พันธุ์มะเขือเทศ เกษตรกรร้อยละ 36.6 ปลูกมะเขือเทศพันธุ์สีดา เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 75.2 ปลูกมะเขือเทศในพื้นที่ดินเดิมติดต่อกันมาแล้ว 2-3 ปี การเตรียมดินส่วนใหญ่ ร้อยละ 97.8 ไถแล้วตากดินทิ้งไว้ 1-2 อาทิตย์แล้วยกร่องขุดหลุมปลูก เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 69.4 ไม่ปรับสภาพดินเพื่อลดความเป็นกรดของดิน การใส่ปุ๋ยส่วนใหญ่ร้อยละ 73.6 ใช้ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมี แมลงศัตรูพืชที่เคยระบาดหรือทำลายในแปลงปลูกมะเขือเทศส่วนใหญ่ร้อยละ 54.8 ระบุว่าเพลี้ยไฟและหนอนเจาะผล เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 62.9 ระบุว่ามะเขือเทศเป็นโรคโคนเน่าราเมล็ดผักกาดและโรคเหี่ยวเหลือง ผลผลิตมะเขือเทศเกษตรกรได้รับผลผลิตเฉลี่ย 3,137 กก./ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 71.0 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเชื้อราไตรโคเดอร็มาในระดับปานกลาง เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 72.0 มีความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มาในระดับปานกลางและเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 98.4 มีความรู้เกี่ยวกับสภาพดินที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตของเชื้อราตรโคเดอร์มาถูกต้องสาเหตุที่เกิดโรคโคนเน่ามะเขือเทศ เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 70.4 ระบุว่าเกิดจากการปลูกพืชชนิดเดิมซ้ำในพื้นที่เดิม ดินเป็นกรดไม่ได้ปรับสภาพดินโดยใส่ปูนขาว เกษตรกรทุกคนที่ให้สัมภาษณ์ไม่เคยได้รับอันตรายจากการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการควบคุมโรคโคนเน่ามะเขือเทศ เกษตรกรร้อยละ 95.7 เคยผ่านการอบรมเรื่องการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการควบคุมโรคโคนเน่ามะเขือเทศ และช่องทางการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคโคนเน่ามะเขือเทศ เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 87.1 ได้รับข่าวสารทางโทรทัศน์มากที่สุดเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 97.8 ระบุว่าเคยเกิดโรคโคนเน่ามะเขือเทศระบาดเสียหายต่อผลผลิต เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ75.3 ระบุว่าควบคุมโรคโคนเน่าโดยวิธีใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา โดยเกษตรกรร้อยละ 45.2 ระบุว่าควบคุมในช่วงเตรียมดินปลูกและช่วงมะเขือเทศออกดอก ส่วนใหญ่ร้อยละ 94.6 ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาผสมรำข้าวและปุ๋ยหมัก ส่วนใหญ่ร้อยละ 93.6 ระบุว่า ก่อนใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มามีการผสมกับส่วนผสม แล้วจึงโรยข้างหลุมแล้วเอาดินกลบ อัตราส่วนผสมเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 91.4 ปฏิบัติถูกต้องตามคำแนะนำทางวิชาการ ความพอใจของเกษตรกร เกษตรกรร้อยละ 49.0 มีความพอใจมาก กับผลของการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา มาควบคุมโรคโคนเน่ามะเขือเทศ เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 81.7 เคยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคโคนเน่ามะเขือเทศมานาน 1 ปี ความสะดวกในการหาซื้อเชื้อราไตรโคเดอร์มา เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 98.4 หาซื้อไม่สะดวกเนื่องจากไม่มีขายในตลาดท้องถิ่น ความคิดเห็นของเกษตรกรในการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ควบคุมโรคพืช เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 82.8 มีความคิดเห็นว่าใช้งานไม่ยุ่งยาก ครอบครัวเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ93.5 สนับสนุนให้ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืชต่อไป เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 96.2 มีแนวโน้มที่จะใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืชต่อไป ปัญหาอุปสรรคการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 94.1 ระบุว่าไม่มีปัญหา ร้อยละ 5.9 มีปัญหาในเรื่องไม่มีสถานที่จำหน่ายเชื้อราไตรโคเดอร์มาในท้องถิ่นและหาซื้อยาก สำหรับผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าจำนวนแรงงานในครัวเรือนและขนาดพื้นที่ปลูกมะเขือเทศมีความสัมพันธ์กับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคโคนเน่ามะเขือเทศ ซึ่งเกิดจากเชื้อราเมล็ดผักกาดที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ส่วนอายุและระดับการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคโคนเน่ามะเขือเทศ ซึ่งเกิดจากเชื้อราเมล็ดผักกาด ที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะ ด้านการส่งเสริมการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคโคนเน่ามะเขือเทศควรส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรเรื่องความรู้ความเข้าใจ และส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคโคนเน่ามะเขือเทศ มีการติดตามให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่องรวมทั้งมีการประชาสัมพันธ์ให้เกิดการขยายผล สนับสนุนเกษตรกรให้สามารถผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มาได้การสนับสนุนควรสนับสนุนในรูปแบบกองทุนหมุนเวียน ในด้านการวิจัย ควรมีการศึกษาในเรื่องการผลิตและขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มาโดยใช้วัสดุผสมที่เหมะสมและหาได้ง่ายในท้องถิ่น และควรศึกษาวิธีการเก็บรักษาเชื้อราฯเพื่อรักษาคุณภาพให้ได้นาน และการทำเชื้อราสำเร็จรูปพร้อมใช้ในราคาถูก คุ้มทุน นำไปใช้สะดวก
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2540
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2541
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดกาฬสินธุ์ นครพนม สกลนคร หนองคาย มุกดาหาร และจังหวัดเลย
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: ปี 2540-2541
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคโคนเน่ามะเขือเทศซึ่งเกิดจากเชื้อราเมล็ดผักกาดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในปี 2540-2541
กรมส่งเสริมการเกษตร
2541
ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรครากเน่า-โคนเน่า ทุเรียนในภาคตะวันออก ราที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมการย่อยสลายแป้งและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากระบบนิเวศวิทยาป่าอุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรครากเน่า-โคนเน่าทุเรียนในภาคใต้ ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรครากเน่า-โคนเน่าส้มโอของเกษตรกรในจังหวัดพิจิตร ปี 2547 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรครากเน่า-โคนเน่าในส้มโอของเกษตรกรจังหวัดสมุทรสงคราม ปี 2546 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรครากเน่า-โคนเน่าในส้มโอของเกษตรกรจังหวัดสมุทรสงคราม ปี 2546 โครงการขยายผลเพื่อสำรวจและทดสอบตลาดของผลิตภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มา การพัฒนาเชื้อราไตรโคเดอร์มาปฏิปักษ์ที่ช่วยเพิ่มผลผลิตและลดโรคข้าวเป็นชีวภัณฑ์เชิงพาณิชย์ การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืชผักของเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น สถานการณ์โรคและแมลงศัตรูของยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและการจัดการ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก