สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลหนองหว้า กิ่งอำเภอบัวลาย จังหวัดนครราชสีมา
ภิรมย์ ยอดสร้อย - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลหนองหว้า กิ่งอำเภอบัวลาย จังหวัดนครราชสีมา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ภิรมย์ ยอดสร้อย
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาสภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลหนองหว้า กิ่งอำเภอบัวลาย จังหวัดนครราชสีมา ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานทั่วไป สภาพการผลิตข้าว ปัญหาและความต้องการของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี 2547 ในพื้นที่ตำบลหนองหว้า กิ่งอำเภอบัวลาย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 274 ราย วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 49.93 ปี จบการศึกษา ชั้นประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.23 คน แรงงานภาคเกษตรในครัวเรือนเฉลี่ย 2.41 คน ร้อยละ 86.86 มีพื้นที่การเกษตรของตนเอง ร้อยละ 20.44 ต้องเช่าพื้นที่ทำการเกษตร มีพื้นที่ทำนาเฉลี่ย 22.20 ไร่ ปลูกข้าวเฉลี่ย 21.85 ไร่ เป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกรสหกรณ์การเกษตร และ ธ.ก.ส. มีรายได้ต่อครัวเรือนต่อปีเฉลี่ย 108,156.08 บาท รายได้ภาคเกษตรเฉลี่ย 47,299.69 บาท และนอกภาคเกษตรเฉลี่ย 67,070 บาท ใช้เงินทุนของตนเองในการทำนาและกู้เงินจากสหกรณ์การเกษตร มีเครื่องจักรกลเกษตรของตนเอง เกษตรกรส่วนใหญ่เคยได้รับความรู้การปลูกข้าว ทำนาแบบหว่าน ไม่เผาตอซังข้าว มีการเตรียมดินโดยไถ 2 ครั้ง ค่าใช้จ่ายในการเตรียมดินเฉลี่ย 2,974.63 บาท ใช้ข้าวพันธุ์ กข.6 และพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ส่วนใหญ่เก็บพันธุ์ไว้ใช้เอง และบางส่วนซื้อจากส่วนราชการ เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยเคมีเฉลี่ย 603.41 กิโลกรัม คิดเป็นเงินเฉลี่ย 4,713.25 บาท เกษตรกรบางส่วนมีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ส่วนใหญ่มีความเข้าใจวิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืช และมีส่วนน้อยที่ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช เกษตรกรเก็บเกี่ยวข้าวระยะพลับพลึงโดยใช้แรงงานคน ค่าจ้างแรงงานต่อวันเฉลี่ย 124.78 บาท มีการใช้เครื่องเกี่ยวน้อยเพราะพื้นที่นาแปลงเล็กและค่าจ้างแพง หลังเกี่ยวข้าวแล้วมีการตากข้าวในแปลงนา 3 วัน และเก็บรวบรวมข้าวเอง แต่ส่วนใหญ่ต้องจ้างเครื่องนวดข้าวโดยเสียค่าจ้างเฉลี่ย 1,762.31 บาท เกษตรกรส่วนใหญ่เก็บพันธุ์ข้าวแยกกับข้าวบริโภค มีการจำหน่ายข้าวให้กับพ่อค้าท้องถิ่น หลังการเก็บเกี่ยวเกษตรกรไม่ปลูกพืชปุ๋ยสดเนื่องจากสภาพดินแห้งและขาดพันธุ์พืชปุ๋ยสด และยังพบว่าเกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับความรู้การผลิตข้าว ต้นทุนการผลิตสูงและด้านการตลาด ส่วนความต้องการของเกษตรกร ได้แก่ ปัจจัยการผลิตราคาถูก ให้มีเครื่องจักรกลเกษตรและโรงสีเป็นของชุมชน จัดให้มีตลาดสินค้าเกษตรและการประกันราคาข้าว สำหรับข้อเสนอแนะควรพัฒนาองค์กรเกษตรกรให้เข้มแข็ง การทำการเกษตรเชิงอนุรักษ์โดยเริ่มจากการทำให้ดินดีใช้พันธุ์ดีเป็นหลัก สำหรับในการศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาถึงสภาพการใช้เทคโนโลยีและการยอมรับการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในพื้นที่กิ่งอำเภอบัวลาย จังหวัดนครราชสีมา
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลหนองหว้า กิ่งอำเภอบัวลาย จังหวัดนครราชสีมา
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
สภาพการผลิตและการตลาดข้าวของเกษตรกรตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร ตำบลโนนเต็ง อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลกุดน้อย อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรจังหวัดเลย สภาพการผลิตและการตลาดข้าวนาปีของเกษตรกรกิ่งอำเภอ ลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรตำบลช้างทอง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรตำบลสัมฤทธิ์ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ตำบลรังกาใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรกิ่งอำเภอซับใหญ่ จังหวัดชัยภูมิ สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรในเขต ตำบลหนองระเวียง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก