สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 2 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะปลูกและการปฎิบัติรักษาเฮมพ์
สริตา ปิ่นมณี - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 2 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะปลูกและการปฎิบัติรักษาเฮมพ์
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Cultivation and Processing of Products from Hemp Subproject 2: Research and Development on Hemp Cultivation Technology and Management
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สริตา ปิ่นมณี
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: เฮมพ์ (Hemp) นอกจากเป็นพืชที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของชาวม้งแล้ว ในปัจจุบันเฮมพ์ยังเป็นพืชที่ส่งเสริมให้เป็นพืชเศรษฐกิจในประเทศไทย ดังนั้นการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเฮมพ์จึงมีความสำคัญ ซึ่งในปัจจุบันมีการศึกษาทั้งในการปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้มีปริมาณสาร THC ต่ำการเพิ่มเปอร์เซ็นต์เส้นใย และเพิ่มปริมาณน้ำมันในเมล็ด ส่วนการศึกษาวิจัยในการจัดการ และการเขตกรรมก็มีการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลด้านดังกล่าวก็ยังไม่เพียงพอ ดังนั้นโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะปลูกและการปฏิบัติรักษาเฮมพ์ จึงได้มีการศึกษาพันธุ์เฮมพ์ที่มี THC ต่ำ 4 พันธุ์ เพื่อให้ได้พันธุ์ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ การทดสอบระยะปลูกที่เหมาะสม การป้องกันกำจัดโรคโคนเน่า การจัดการธาตุอาหาร และการศึกษาวิธีการทำให้ใบร่วงก่อนการเก็บเกี่ยว (1) จากการศึกษาพันธุ์เฮมพ์ที่มี THC ต่ำ 4 พันธุ์ (RPF 1 RPF 2 RPF3 และ RPF 4) เพื่อให้ได้พันธุ์ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ พบว่าในแต่ละพื้นที่จะมีพันธุ์เฮมพ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ต่างกัน โดยในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 185 เมตร พันธุ์ที่มีความเหมาะสม ได้แก่ RPF4 และ RPF3 (4.05 และ 4.32 ตัน/ไร่) ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลที่ 300 เมตร พันธุ์ที่เหมาะสม ได้แก่พันธุ์ RPF3 และ RPF2 (5.23 และ 3.36 ตัน/ไร่) ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลที่ 900 เมตร พันธุ์ที่เหมาะสม ได้แก่พันธุ์ RPF3 และ RPF4 (8.92 และ 8.44 ตัน/ไร่) ส่วนความสูงจากระดับน้ำทะเลที่ 1200 เมตร พันธุ์ RPF 3 (6.83 ตัน/ไร่) (2) การทดสอบระยะปลูกที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตเฮมพ์ พบว่าระยะการปลูกที่มีความเหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตนั้นในแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกัน ที่สถานีเกษตรหลวงปางดะ การปลูกแบบ 5 แถว 3 แถว และ 4 แถวให้ผลผลิตสูงสุด (4.43 4.27 และ 4.21 ตัน/ไร่ ตามลำดับ) ที่พื้นที่นำร่องจังหวัดตาก พบว่า การปลูกแบบ 2 แถว 10 แถว และ 3 แถว (6.93 6.61 และ 6.31 ตัน/ไร่) ให้ผลผลิตต้นสดสูงที่สุด ส่วนที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง พบว่าการปลูกแบบ 1 แถวให้ผลผลิตต้นสดสูงที่สุด (8.08 ตัน/ไร่) แต่มีการแตกกิ่งก้านของเฮมพ์เยอะ (3) การป้องกันกำจัดโรคโคนเน่าในเฮมพ์ พบว่าการคลุกเมล็ดด้วยสารชีวภัณฑ์ และไตโคเดอร์ม่าสามารถลดการตายของต้นเฮมพ์ที่อายุ 15 วัน ได้ในพื้นที่โครงการขยายผลฯ ถ้ำเวียงแก แต่ในพื้นที่นำร่องส่งเสริมการปลูกเฮมพ์ จ.ตาก และศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง ได้อย่างมีประสิทธิภาพในการปลูกช่วงเดือนพฤษภาคม แต่เมื่อปลูกในเดือนกรกฎาคมยังพบมีการระบาดของโรคโคนเน่าอยู่ (4) การจัดการธาตุอาหาร พบว่าการจัดการธาตุอาหารเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพเส้นใยนั้น ในทุกพื้นที่มีปริมาณธาตุอาหารต่ำทั้งอินทรีย์วัตถุ และธาตุอาหารหลัก (ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม) ซึ่งต้องเพิ่มอินทรีย์วัตถุโดยการปลูกพืชบำรุงดิน ซึ่งสามารถเพิ่มปริมาณธาตุอาหารในดินได้อย่างยั่งยืนต่อไป และ (5) การศึกษาวิธีการทำให้ใบร่วงก่อนการเก็บเกี่ยว พบว่าการใช้สารเอธิฟอนที่ความเข้มข้น 5 ml/น้ำ 1 ลิตรพ่นที่ใบก่อนการเก็บเกี่ยว 4 วันสามารถทำให้ใบร่วง 70 % และนอกจากนั้นสารเอธิฟอนไม่มีผลกระทบต่อผลผลิตต้นสดเฮมพ์ จากผลการศึกษาดังกล่าวทั้งความเหมาะสมของพันธุ์ การจัดการ และการเขตกรรมมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ซึ่งข้อมูลจากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการปฎิบัติในแต่ละพื้นที่ต่อไปได้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 2 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะปลูกและการปฎิบัติรักษาเฮมพ์
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2557
การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2 โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 4: การสร้างเครือข่ายวิจัยและพัฒนาเฮมพ์ ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 1 การวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 7: การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพจากเฮมพ์ โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 8: การวิจัยและพัฒนาบ้านที่สร้างด้วยส่วนผสมของเฮมพ์ ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 3 การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างที่มีส่วนผสมของเฮมพ์ ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 1: การวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ ๓ : โครงการวิจัยและพัฒนากระบวนการหลังการเก็บเกี่ยว และการแปรรูปเฮมพ์ ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ ๑ : โครงการพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์เฮมพ์ โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์: โครงการย่อยที่ 6 การวิจัยและทดสอบยืนยันสายพันธุ์ด้วยวิธีชีวโมเลกุลของเฮมพ์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก