สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาแนวทางพัฒนาระบบการส่งออกยางพารา ในเขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลา
ทนงค์ศักดิ์ ดำรงนุกูล, ทนงค์ศักดิ์ ดำรงนุกูล - สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาแนวทางพัฒนาระบบการส่งออกยางพารา ในเขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลา
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาแนวทางพัฒนาระบบการส่งออกยางพาราในเขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การส่งออกสินค้าเกษตร ระบบการส่งออกยางพารา ตลอดจนแนวทางพัฒนาระบบการส่งออกยางพาราในเขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลา ด้วยวิธีศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณการส่งออกยางพาราและการจัดทำกลยุทธ์ทางเลือกโดยใช้ Tows Matrix (Generating alternative strategies using Tows Matrix) วิเคราะห์แนวทางการพัฒนาระบบการส่งออกในเขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลา ระยะเวลาศึกษาตั้งแต่ ตุลาคม 2558 - กันยายน 2559 ผลการศึกษาพบว่า ไทยส่งออกยางพาราไปประเทศจีนมากที่สุด ร้อยละ 49.95 รองลงมาเป็นมาเลเซีย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา โดยได้พัฒนาระบบการส่งออกจากระบบ Manual (เป็นระบบเก็บข้อมูลใบส่งสินค้าเป็นเอกสาร) มาเป็นระบบ Paperless (เป็นระบบศุลกากรไร้เอกสาร) มีหน่วยงานดำเนินการ 3 หน่วยงาน คือ 1) กรมวิชาการเกษตร ดำเนินการในเรื่องการขออนุญาตค้ายางพารา ส่งออกยางพาราไปนอกราชอาณาจักรใบผ่านด่านศุลกากรในการส่งออกยางพารา 2) การยางแห่งประเทศไทย ดำเนินการเรื่องรับชำระเงินสงเคราะห์เข้ากองทุนการทำสวนยาง 3) กรมศุลกากรดำเนินการผ่านพิธีการส่งออกผ่านพิธีการศุลกากร สำหรับแนวทางการพัฒนาระบบการส่งออกยางพารา การส่งออกยางพาราในเขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลา ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราแบบครบวงจร โดยการตั้งนิคมอุตสาหกรรมยางพารา พัฒนาระบบ NSW (NationalSingle Windows) โดยรัฐบาลเป็นผู้ลงทุนด้านซอฟแวร์ (Software) รวมถึงการพัฒนาและขยายพื้นที่ท่าเรือเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านในการศึกษามีข้อเสนอแนะว่าควรมีการแปรรูปยางพาราให้มากขึ้น ควรพัฒนาให้เกิดการบริหารแบบเบ็ดเสร็จ และการขยายอายุสัมปทานให้แก่เอกชนผู้บริหารท่าเรือจากระยะเวลาครั้งละ 5 ปี เป็นครั้งละ 25 ปี
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาแนวทางพัฒนาระบบการส่งออกยางพารา ในเขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลา
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
30 กันยายน 2559
กลุ่มวิจัยยางพารา การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การเก็บรักษาคัพภะยางพาราในสภาพอุณหภูมิต่ำในหลอดทดลอง ความหลากหลายทางพันธุกรรมของเชื้อรา Phytophthora spp. สาเหตุโรคของยางพารา (Hevea brasiliensis Muell.Arg.) ในพื้นที่เพาะปลูกจังหวัดสุราษฎร์ธานี การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน แนวทางการแก้ปัญหายางพาราเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ แนวทางพัฒนายางพาราไทย ศักยภาพของผู้ประกอบการและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว และเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด จังหวัดตาก กรณีศึกษา : มันสำปะหลังและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ แนวทางการพัฒนาโครงการแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบปี 2556 การวิจัยและพัฒนาไม้ยางพารา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก