สืบค้นงานวิจัย
ผลของอุณหภูมิในการเก็บรักษาปลาโอดำ (Thunnus tonggol) ต่อปริมาณฮีสตามีน คุณภาพทางด้านประสาทสัมผัสและอายุการเก็บรักษา
เบญจวรรณ รักษ์ทอง, ธันยาภรณ์ สุขช่วย - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ผลของอุณหภูมิในการเก็บรักษาปลาโอดำ (Thunnus tonggol) ต่อปริมาณฮีสตามีน คุณภาพทางด้านประสาทสัมผัสและอายุการเก็บรักษา
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of storage temperature on histamine formation, sensory quality and Shelflife of Thunnus tonggol
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาผลของอุณหภูมิในการเก็บรักษาปลาโอดำ(Thunnus tonggol) ต่อคุณภาพทางด้านประสาทสัมผัสและปริมาณฮีสตามีนโดยเก็บตัวอย่างปลาโอดำที่จับมาจากเรือประมงจากทะเลฝั่งอันดามันและทะเลฝั่งอ่าวไทย นำตัวอย่างปลามาเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 ระดับ ได้แก่ 0?, 4?, 10? และ 20?Cจากนั้นทำการสุ่มปลาวันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 4 ตัวในแต่ละอุณหภูมิที่เก็บรักษา แล้วนำมาวิเคราะห์คุณภาพทางด้านประสาทสัมผัส เพื่อศึกษาลักษณะปรากฎ กลิ่น เนื้อสัมผัสและการยอมรับโดยรวม และทำการวิเคราะห์ปริมาณฮีสตามีน จากนั้นทำการคาดคะเนอายุการเก็บรักษาของปลาโอดำที่อุณหภูมิต่างๆ ผลการตรวจวิเคราะห์ปริมาณฮีสตามีนในปลาโอดำที่จับจากทะเลอันดามันพบว่าที่ 0?Cสามารถเก็บรักษาได้เป็นเวลานานที่สุดคือ 22 วัน โดยที่ปริมาณฮีสตามีนยังไม่เกิน50 ppmและมีเวลาเก็บได้นานถึง 15, 8 และ 1 วัน ที่อุณหภูมิ4?, 10?และ 20?Cตามลำดับ ในส่วนของการเก็บรักษาปลาโอดำที่จับจากทะเลอ่าวไทยพบว่าที่0?Cสามารถเก็บรักษาได้นานที่สุดถึง 18 วัน และ 12, 7 และ 1 วัน สำหรับการเก็บรักษาที่ 4?, 10?และ 20?Cตามลำดับผลการตรวจสอบคุณภาพทางด้านประสาทสัมผัสปลาโอดำที่จับจากทะเลอันดามันที่ 0?Cสามารถเก็บรักษาได้เป็นเวลานานที่สุดคือ 19 วัน โดยที่คุณภาพทางด้านประสาทสัมผัสยังคงยอมรับได้ และสามารถเก็บรักษาได้15, 6 และ 1 วัน สำหรับการเก็บรักษาที่ 4?, 10?และ 20?C ตามลำดับ ส่วนปลาโอดำที่จับจากทะเลอ่าวไทยพบว่าเก็บรักษาได้ 17, 12, 7 และ 1 วัน ในการเก็บรักษาที่0?,4?, 10?และ 20?Cตามลำดับผลการคำนวณค่า Q10(sensory) ที่อยู่ระหว่าง 0?-10?Cและ 10?-20?Cพบว่ามีค่าเท่ากับ 2.64 และ 2.48 สำหรับปลาโอดำจับจากทะเลอันดามัน และมีค่า 2.07 และ 3.07 สำหรับปลาโอดำจับจากทะเลอ่าวไทย ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าหากผู้ผลิตต้องการเก็บรักษาปลาโอดำจากทั้งสองแหล่งจับให้มีคุณภาพที่เหมาะสมและมีค่าฮีสตามีนไม่เกิน50 ppm การเก็บรักษาไม่ควรเกิน 17, 12, 7 และ 1 วัน สำหรับการเก็บรักษาที่ 0?, 4?, 10?และ 20?Cตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): The study on effect of temperature on storage of Tonggol tuna(Thunnus tonggol) on sensory qualities and histamine contentwas conducted.Tonggol tunasamples were collected from fishing vessels which fishing from Andaman Sea and the Gulf of Thailand. Tonggol tuna were kept at 0?, 4?, 10? and 20?C. Four fishes were randomly took daily at each storage temperature.Then sensory quality was studied by the appearance, smell, texture and overall acceptance. The fish meat samples were analyzed for histamine content. Finally, shelf life at different temperatures was estimated. The results of the histamine content in samples collected from Andaman Sea showed that the longest storage time was 22 days at 0?C which histamine content not exceeding 50 ppm.The storage time was 15, 8 and 1 day, when samples were stored at 4?, 10? and 20?C, respectively. Meanwhile storage of fish caught in the Gulf of Thailand at 0?C can be stored for up to 18 days and 12, 7 and 1 day for storage at 4?, 10? and 20?C, respectively. The results of sensory evaluation indicated that sensory quality of fish caught in Andaman Sea stored at 0?C can be maintained for as long as 19 days.They can be stored for 15, 6 and 1 day for storage at 4?, 10? and 20?C, respectively.In the fish caught in the Gulf of Thailand, they can be preserved at 17, 12, 7 and 1 day for storage at 0?, 4?, 10? and 20?C, respectively. The Q10(sensory)(0?-10?C and 10?-20?C) values were found to be 2.64 and 2.48 for fish from Andaman Sea and 2.07 and 3.07 from the Gulf of Thailand.The overall results indicated that if the establishments want to maintain quality of Tonggol tuna fish and the histamine content is not higher than 50 ppm. The storage time should not exceed 17, 12, 7 and 1 day at 0?, 4?, 10? and 20?C, respectively
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของอุณหภูมิในการเก็บรักษาปลาโอดำ (Thunnus tonggol) ต่อปริมาณฮีสตามีน คุณภาพทางด้านประสาทสัมผัสและอายุการเก็บรักษา
กรมประมง
30 กันยายน 2558
กรมประมง
การคาดคะเนอายุการเก็บรักษาปลานิลในช่องทางการเคลื่อนย้าย การวิจัยกระบวนการเก็บรักษา และอายุวางจำหน่าย ของน้ำคั้นต้นกล้าและผลิตภัณฑ์สุขภาพจากธัญพืชไทย การศึกษาคุณภาพ และวิธีการเก็บรักษาต้นพันธุ์ที่มีต่อความงอกการเจริญเติบโตและผลผลิตของมันสําปะหลัง ศึกษาผลการฉายรังสีอัลตร้าไวโอเลต-ซี ต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพในการเก็บรักษาแกงไตปลาแห้งสำเร็จรูป ผลของกระบวนการผลิตต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาปลาดุกแดดเดียว อิทธิพลของระดับอุณหภูมิและระยะเวลาในการลดอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว ต่อการเปลี่ยนแปลงคาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจนในขณะเก็บรักษา และคุณภาพหลังการเก็บรักษากล้วยหอมทอง ผลของปริมาณฮีสตามีนเริ่มต้นในปลาทูน่า Skipjack (Katsuwonus pelamis) และระยะเวลาในการผลิตต่อปริมาณฮีสตามีนในผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋อง ผลของอุณหภูมิและภาชนะบรรจุต่ออายุการเก็บรักษามะพร้าวน้ำหอม เพื่อการส่งออก ผลของกระบวนการผลิตและการเก็บรักษาต่อคุณภาพปลาอินทรีเค็ม อายุการเก็บรักษาและระยะพักตัวของเมล็ดหญ้ารูซี่ที่เก็บรักษาในสภาพต่างๆ กัน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก