สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาและคัดเลือกพันธุ์อ้อยลูกผสม รุ่น 2014 ขั้นที่ 4 เปรียบเทียบพันธุ์มาตรฐาน (อ้อยปลูก)
นายจักรกฤษณ์ ขันทอง , นายชัยพร ขัดสงคราม, นางสาวขนิษฐา ขันทอง, นายณัฐวุฒิ กล่ำทัพ, นายศักดิ์ระวี ดิษฐ์ทอง, นายกฤษณะ ต๊ะวัน, นายเปรุต พลหาญ, นางสาวพัฒน์ธนันท์ อารีย์ - สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
ชื่อเรื่อง: การศึกษาและคัดเลือกพันธุ์อ้อยลูกผสม รุ่น 2014 ขั้นที่ 4 เปรียบเทียบพันธุ์มาตรฐาน (อ้อยปลูก)
ชื่อเรื่อง (EN): Study and Selection on 2014 Cane Series in standard yield trial stag (plant cane)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: อ้อยลูกผสมชุด 2014 เป็นอ้อยที่ทางสำนักงานคณะอ้อยและน้ำตาลทราย ได้ว่าจ้างให้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้ทำการผสมพันธุ์ขึ้นเมื่อปี 2014 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภาคที่ 2 ได้นำอ้อยลูกผสม ชุด 2014 ที่ผ่านการคัดเลือกขั้นที่ 2 มาปลูกเพื่อศึกษาและคัดเลือกพันธุ์ขั้นที่ 3 และ 4 ที่สถานีทดลองและขยายพันธุ์อ้อยพิจิตร ในสภาพดินเหนียว สามารถคัดเลือกอ้อยลูกผสมที่มีลักษณะดีเพื่อนำมาทดลองในขั้นที่ 4 ต่อจำนวน 12 สายพันธุ์ ได้แก่ DA14325-061 EA14224-043 EA14224-046 EA14243-026 EA14275-024 EA14275-050 EA14325-040 EA14340-038 IA14160-017 IA14202-025 LA14028-039 และ LA14358-024 โดยวางแผนการทดลอง แบบ RCB มี 4 ซ้ำ โดยใช้พันธุ์อ้อย LK92-11 และ ขอนแก่น 3 เป็นพันธุ์ตรวจสอบ ขนาดแปลงย่อย 7.5 x 6.0 เมตร พื้นที่เก็บเกี่ยว 4.5 x 6.0 เมตรใช้ระยะเวลาศึกษา 3 ปี คือ ในระยะอ้อยปลูก อ้อยตอ 1 และ อ้อยตอ 2 โดยใช้ผลการทดลองทางด้านผลผลิตอ้อย ผลผลิตน้ำตาล คุณภาพความหวาน ลักษณะทางการเกษตร และความต้านทานโรคและแมลงศัตรูอ้อยที่สำคัญเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาคัดเลือก จากผลการทดลองพบว่า ในสภาพดินเหนียวที่สถานีทดลองและขยายพันธุ์อ้อยพิจิตร ในระยะอ้อยปลูก พบว่า ผลผลิตอ้อยมีอ้อยลูกผสมพันธุ์ EA14275-024 ที่ให้ผลผลิตอ้อยสูงกว่าพันธุ์ LK92-11 และขอนแก่น 3 ด้านคุณภาพความหวานมีอ้อยลูกผสมชุด 2014 จำนวน 2 สายพันธุ์ ที่มีคุณภาพความหวานสูงกว่าอ้อยพันธุ์ LK92-11 และขอนแก่น 3 ที่ใช้เป็นพันธุ์ตรวจสอบ ได้แก่อ้อยลูกผสมพันธุ์ EA14224-046 และ IA14202-025 ในด้านผลผลิตน้ำตาลมีอ้อยลูกผสมพันธุ์ EA14275-024 ที่ให้ผลผลิตอ้อยน้ำตาลสูงใกล้เคียงกับพันธุ์ LK92-11 และขอนแก่น 3 ที่ใช้เป็นพันธุ์ตรวจสอบ และจำนวนลำเข้าหีบมีพันธุ์ลูกผสม LA14358-024 เพียงพันธุ์เดียวที่มีจำนวนลำเข้าหีบมากกว่าพันธุ์ LK92-11 และขอนแก่น 3 ทั้งนี้ยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่า อ้อยลูกผสม รุ่น 2014 พันธุ์ใดบ้างที่มีลักษณะดีเด่นกว่าพันธุ์ตรวจสอบ เพราะยังต้องใช้ข้อมูลจากการทดลองเปรียบเทียบพันธุ์อ้อยรุ่นนี้ในสภาพดินร่วนปนทรายที่แปลงทดลองของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภาคที่ 2 จังหวัดกำแพงเพชร เพื่อให้ได้ข้อมูลจากการทดลองในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันด้วย
บทคัดย่อ (EN): The 2014 hybrid cane is a sugar cane produced by the Office of the Cane and Sugar Board. hired Kasetsart University Kamphaeng Saen Campus Breeding was done in 2014. The Cane and Sugar Industry Promotion Center Region 2 brought the 2014 cane hybrids that passed the second stage of selection to be planted for study and selection of stage 3 and 4 varieties at Phichit Sugarcane Experiment and Propagation Station. in clay soil Able to select hybrid sugarcane with good characteristics to be tested at the 4th stage per 12 varieties, namely DA14325-061 EA14224-043 EA14224-046 EA14243-026 EA14275-024 EA14275-050 EA14325-040 EA14340-038 IA14160-017 IA14202. -025 LA14028-039 and LA14358-024. The RCB experiment was planned with 4 replications, using sugarcane cultivars LK92-11 and Khon Kaen 3 as check varieties, sub plot size 7.5 x 6.0 m, harvest area 4.5 x 6.0 m, study period 3. Year is during the planting stage of sugar cane stump 1 and sugar cane stump 2 by using the experimental results on sugar cane yield, sugar yield, sweetness quality. agricultural characteristics and resistance to important diseases and pests of sugarcane as information for selection consideration From the experimental results, it was found that in clay soil at Phichit sugarcane experiment and propagation station In the sugar cane planting period, it was found that the sugarcane hybrid cultivar EA14275-024 had higher sugar cane yield than LK92-11 and Khon Kaen 3, in terms of sweetness quality, there were 2 cultivars of 2014 hybrid sugarcane with higher sweetness quality than LK92-11 and Khon Kaen 3 cultivars. LK92-11 and Khon Kaen 3 were used as test varieties. The EA14224-046 and IA14202-025 hybrid canes were hybrid cane varieties. In terms of sugar yields, there were EA14275-024 hybrid cane yields similar to those of LK92-11 and Khon Kaen 3 that were used as check varieties. and the number of trunks, only one cultivar, LA14358-024, had a higher number of trunks than LK92-11 and Khon Kaen 3. It is not yet clear which cultivar of the 2014 hybrid cane has more outstanding characteristics. check varieties because it still requires data from the comparative experiment of this sugarcane variety in sandy loam soil at the experimental plot of the Cane and Sugar Industry Promotion Center Region 2, Kamphaeng Phet Province. to obtain data from experiments in different environments as well
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับชาติ:
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ดำเนินการวิจัยเอง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2563
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2563
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยพื้นฐาน
เผยแพร่โดย: สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาและคัดเลือกพันธุ์อ้อยลูกผสม รุ่น 2014 ขั้นที่ 4 เปรียบเทียบพันธุ์มาตรฐาน (อ้อยปลูก)
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
2563
เอกสารแนบ 1
การศึกษาและคัดเลือกพันธุ์อ้อยลูกผสม รุ่น CSB12 ขั้นที่ 4 เปรียบเทียบพันธุ์มาตรฐาน (อ้อยปลูก) การศึกษาและคัดเลือกพันธุ์อ้อยลูกผสม รุ่น CSB11 ขั้นที่ 4 เปรียบเทียบพันธุ์มาตรฐาน (อ้อยปลูก และอ้อยตอ 1) เปรียบเทียบการใช้ชนิดและปริมาณปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกอ้อยเพื่อเกษตรกรรายย่อยใน อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ การศึกษาและคัดเลือกพันธุ์อ้อยลูกผสม รุ่น CSB11 ขั้นที่ 4 เปรียบเทียบพันธุ์มาตรฐาน (อ้อยปลูก อ้อยตอ 1 และอ้อยตอ 2) การคัดเลือกพันธุ์อ้อยลูกผสม รุ่น CSB09 ขั้นที่ 4 เปรียบเทียบพันธุ์มาตรฐาน เขตภาคเหนือ (อ้อยปลูก อ้อยตอ 1 และอ้อยตอ 2) การศึกษาและคัดเลือกพันธุ์อ้อยลูกผสม ชุด CSB13 ขั้นที่ 4 เปรียบเทียบพันธุ์มาตรฐาน (อ้อยปลูก) อ้อยพันธุ์ ชัยนาท 1 การเปรียบเทียบพันธุ์อ้อยภายใต้สภาพอาศัยน้ำฝนในเขตพื้นที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี การศึกษาและคัดเลือกพันธุ์อ้อยลูกผสมชุด CSB10 ขั้นที่ 4 เปรียบเทียบพันธุ์มาตรฐาน (อ้อยปลูก อ้อยตอ 1 และอ้อยตอ 2) การศึกษาและคัดเลือกพันธุ์อ้อยลูกผสม รุ่น CSB10 ขั้นที่ 4 เปรียบเทียบพันธุ์มาตรฐาน (อ้อยปลูก อ้อยตอ 1 และอ้อยตอ 2)

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก