สืบค้นงานวิจัย
กลุ่มโครงการวิจัยขนาดเล็กการประยุกต์ใช้น้ำยางพาราในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง-ม.ส.(1)
ศิริชัย ขำสุวรรณ - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: กลุ่มโครงการวิจัยขนาดเล็กการประยุกต์ใช้น้ำยางพาราในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง-ม.ส.(1)
ชื่อเรื่อง (EN): Using Natural Rubber Latex for Application of constructuion - SU Small Project Group(1)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศิริชัย ขำสุวรรณ
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): Rubber Latex
บทคัดย่อ: โครงการวิจัย “การศึกษาการบ่มคอนกรีตด้วยน้ำยางพารา” นำเสนอการประยุกต์ใช้น้ำยางพารารักษาสภาพ ด้วยแอมโมเนียต่ำ เพื่อใช้ในการบ่มทดสอบกำลังอัดของคอนกรีต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบ การนำน้ำยางพารามาใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ด้วยการใช้บ่มเคลือบผิวคอนกรีตให้สามารถได้ค่ากำลังอัดประลัย สูง และมีประสิทธิภาพ และศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการบ่มคอนกรีตในลักษณะต่างๆ ซึ่งพิจารณาจากค่ากำลังอัด ประลัยที่คอนกรีตตัวอย่างสามารถจะรับได้สูงสุด ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ในการศึกษาการบ่มคอนกรีตด้วยน้ำ ยางพารา สามารถลำดับค่าการรับกำลังอัดประลัยที่อายุการทดสอบ 28 วัน ของตัวอย่างคอนกรีตค่ากำลังการออก แบบที่ 280 กก./ตร.ซม. และ 360 กก./ตร.ซม. ตามลำดับ ได้ดังนี้ 1. การบ่มด้วยการแช่น้ำ(422.25 กก./ตร.ซม.), 2. การบ่มแบบเคลือบน้ำยาเคมี(397.375 กก./ตร.ซม.), 3. การบ่มแบบเคลือบด้วยน้ำพารา 100%(387.375กก./ตร.ซม.), 4. การบ่มแบบห้อหุ้มแผ่นพลาสติกใส(385 กก./ตร.ซม.), 5.การบ่มแบบเคลือบด้วยน้ำยางพารา 70% ต่อน้ำธรรมดา 30%(386.5 กก./ตร.ซม.), 6. การบ่มแบบเคลือบด้วยน้ำยางพรีวัคคาไนต์(376.875 กก./ตร.ซม.), 7. การบ่มแบบเคลือบ ด้วยยางพารา 50% ต่อน้ำธรรมดา50%(375.75 กก./ตร.ซม.), 8. การบ่มแบบเคลือบด้วยยางพารา 30% ต่อน้ำธรรมดา 70%(371.75 กก./ตร.ซม.), และ 9. การไม่บ่มหรือปล่อยทิ้งตามสภาพอากาศ(359.625 กก./ตร.ซม.) ตามลำดับ ทั้งนี้ การพิจารณาเลือกใช้รูปแบบการบ่มคอนกรีตควรจะคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆที่เหมาะสมต่อไป บทคัดย่อ โครงการวิจัย “แผ่นดูดซับเสียงจากยางพาราเสริมเส้นใยมะพร้าว” นำเสนอการประยุกต์ใช้ยางพาราภายในประเทศ เพื่อใช้ผลิตแผ่นดูดซับเสียงภายในอาคารในเชิงอุตสาหกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตแผ่นดูดซับเสียงตัวอย่างที่สามารถ ติดตั้งในอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเปรียบเทียบน้ำหนักต่อตารางเมตรของแผ่นดูดซับเสียงจากยางพาราเสริมเส้นใย มะพร้าวกับวัสดุอื่น ๆ ได้แก่ ไม้อัด กระเบื้องแผ่นเรียบ ยิปซั่ม และแผ่นดูดซับเสียงชานอ้อย และเพื่อทดสอบคุณสมบัติการ ลดระดับเสียงของวัสดุทั้ง 5 ดังกล่าวข้างต้น ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ในการผลิตแผ่นดูดซับเสียงจากยางพาราเสริมเส้นใย มะพร้าวที่สามารถติดตั้งในอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นต้องมีความหนา 15 มิลลิเมตร โดยในการผลิตแผ่นดูดซับเสียง 1 ตารางเมตรจะใช้เส้นใยมะพร้าวและน้ำยางพาราประมาณอย่างละ 1.20 กิโลกรัม เมื่ออบแห้งแล้วจะมีน้ำหนักประมาณ 1.80 กิโลกรัม ในขณะที่ไม้อัดหนา 8 มิลลิเมตร กระเบื้องแผ่นเรียบหนา 6 มิลลิเมตร ยิปซั่มหนา 10 มิลลิเมตร และแผ่นดูด ซับเสียงชานอ้อยหนา 6 มิลลิเมตรจะมีน้ำหนัก 4.17, 10.69, 5.56 และ 2.78 กิโลกรัมต่อตารางเมตรตามลำดับ นอกจากนี้ใน การทดสอบคุณสมบัติการลดระดับเสียงพบว่าวัสดุที่ป้องกันการส่งผ่านเสียงได้ดีที่สุดคือ กระเบื้องแผ่นเรียบ รองลงไปได้ แก่ ไม้อัด ยิปซั่ม แผ่นดูดซับเสียงชานอ้อย และยางพาราเสริมเส้นใยมะพร้าวตามลำดับ ในขณะที่วัสดุที่สามารถดูดซับเสียง ได้ดีที่สุดคือ ยางพาราเสริมเส้นใยมะพร้าว รองลงไปได้แก่ แผ่นดูดซับเสียงชานอ้อย ไม้อัด ยิปซั่ม และกระเบื้องแผ่นเรียบ ตามลำดับ บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือการศึกษาผลจากการผสมน้ำยางพาราในอิฐดินซีเมนต์ ชนิดของน้ำ ยางพาราที่ใช้คือ น้ำยางรักษาสภาพแบบแอมโมเนียสูง (HA) น้ำยางสำหรับงานหล่อเบ้า (Casting) และกาวยาง (Latex Adhesive) โดยน้ำยางรักษาสภาพแบบแอมโมเนียสูงถูกนำมาผสมกับอิฐดินซีเมนต์ที่อัตราส่วนต่อปริมาตร น้ำ 10% 15% และ 20% ตามลำดับ น้ำยางสำหรับงานหล่อเบ้าผสมกับอิฐดินซีเมนต์โดยใช้อัตราส่วนผสมต่อ ปริมาตรน้ำ 20% และกาวยางผสมกับอิฐดินซีเมนต์โดยใช้อัตราส่วนผสมต่อปริมาตรน้ำ 15% การทดสอบคุณ สมบัติของอิฐดินซีเมนต์มีสี่ประเภทคือการทดสอบกำลังรับแรงอัด การทดสอบกำลังรับแรงดัด การทดสอบการ ดูดซึมน้ำ และการทดสอบการรับแรงกระแทก ผลการทดสอบผสมพบว่า ปริมาณน้ำยางรักษาสภาพ HA ที่ผสมอิฐได้สูงสุดอยู่ที่ 20% เพราะหากทำการ ผสมมากไปกว่านี้เนื้อยางจะจับตัวกันและขัดขวางการทำปฏิกิริยาของซีเมนต์ สำหรับน้ำยางสำหรับงานหล่อเบ้า และกาวยาง จากการทดลองผสมพบว่าอัตราส่วนที่มากที่สุดที่สามารถผสมได้โดยไม่จับเป็นก้อนคือ 20% และ 15% โดยปริมาตรของน้ำตามลำดับ เทคนิคการผสมน้ำยางพารา น้ำยางสำหรับงานหล่อเบ้า และกาวยาง เข้ากับ ส่วนผสมอิฐดินซีเมนต์นั้น ควรต้องค่อยๆเติมน้ำยางพาราลงไปทีละน้อยในระหว่างการกวนผสมด้วยเครื่องผสม ด้วย มิฉะนั้นน้ำยางพาราจะจับตัวกับส่วนผสมของอิฐดินซีเมนต์ทำให้เนื้อส่วนผสมเป็นก้อนใช้งานไม่ได้ ผลการทดสอบการรับแรงอัดพบว่า เมื่อมีร้อยละของน้ำยางรักษาสภาพแบบแอมโมเนียสูง (HA) มากขึ้น กำลังรับแรงอัดของอิฐมีแนวโน้มลดลง ความสัมพันธ์เป็นแบบแปรผกผันและไม่มีจุดวกกลับ ผลของอิฐดิน ซีเมนต์ผสมน้ำยางสำหรับงานหล่อเบ้าและอิฐดินซีเมนต์ผสมกาวยางมีกำลังรับแรงอัดสูงกว่าอิฐดินซีเมนต์ผสมน้ำ ยางรักษาสภาพ HA ที่อัตราส่วนผสมเท่าเทียมกัน แต่ยังคงน้อยกว่าอิฐดินซีเมนต์ที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำยางพารา ผลการทดสอบการรับแรงดัดพบว่า เมื่อมีร้อยละของน้ำยางรักษาสภาพแบบแอมโมเนียสูง (HA) มากขึ้น กำลังรับแรงดัดของอิฐมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อิฐผสมน้ำยาง HA 15% ให้กำลังรับแรงดัดสูงสุดคือ 183.06% ของอิฐ ธรรมดาแต่ที่ปริมาณน้ำยาง HA 20% กำลังรับแรงดัดกลับมีค่าต่ำลงเหลือ 171.21% ดังนั้นการเพิ่มของกำลังรับ แรงดัดของอิฐมีจุดวกกลับที่อัตราส่วนน้ำยาง HA 15% น้ำยางสำหรับงานหล่อเบ้าอิฐดินซีเมนต์ผสมกาวยางมี กำลังรับแรงดัดสูงกว่าอิฐดินซีเมนต์ผสมน้ำยางรักษาสภาพ HA ที่อัตราส่วนผสมเท่ากัน ผลการทดสอบการดูดซึมน้ำพบว่า เมื่อมีร้อยละของน้ำยางรักษาสภาพแบบแอมโมเนียสูง (HA) มากขึ้น ร้อยละการดูดซึมน้ำของอิฐที่เวลา 30 นาทีและเวลา 24 ชั่วโมง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ความสัมพันธ์เป็นรูปแบบแปร ผันตรงและไม่มีจุกวกกลับ ในกลุ่มของสูตรผสมน้ำยางสำหรับงานหล่อเบ้า และกาวยาง ร้อยละการดูดซึมน้ำมีค่า เพิ่มขึ้นกว่าอิฐดินซีเมนต์ที่มีส่วนผสมของน้ำยางพารารักษาสภาพ HA ที่อัตราส่วนผสมเท่ากัน ผลการทดสอบการรับแรงกระแทกพบว่าพบว่า เมื่อมีร้อยละของน้ำยางรักษาสภาพแบบแอมโมเนียสูง (HA) มากขึ้น ความสามารถรับแรงกระแทกของอิฐมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อเพิ่มอัตราส่วนผสมน้ำยาง HA เป็น 15% กำลังรับแรงกระแทกเพิ่มขึ้นถึง 144.30% แต่ที่ปริมาณน้ำยาง HA 20% กำลังรับแรงดกลับมีค่าต่ำลงเหลือ 128.48% ดังนั้นการเพิ่มของกำลังรับแรงดัดของอิฐมีจุดวกกลับที่อัตราส่วนน้ำยาง HA 15% น้ำยางสำหรับงาน หล่อเบ้า มีกำลังรับแรงกระแทกเท่ากับอิฐดินซีเมนต์ผสมน้ำยางรักษาสภาพ HA ที่อัตราส่วนผสมเท่าเทียมกัน และ อิฐดินซีเมนต์ผสมกาวยางให้ความต้านทานแรงกระแทกต่ำกว่าอิฐดินซีเมนต์ผสมน้ำยางรักษาสภาพ HA ที่อัตรา ส่วนเท่ากัน แต่ทุกส่วนผสมยังคงสามารถรับแรงกระแทกมากกว่าอิฐดินซีเมนต์ที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำยางพารา บทคัดย่อ จากแนวคิดของความพยายามในการนำผลิตภัณฑ์จากน้ำยางพารามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในงานก่อสร้าง คณะผู้วิจัยได้ทดลองนำน้ำยางพาราคงรูป (Prevulcanized latex) และกาวยางพารา (Rubber cement) มาผสมในปูนทรายที่ ใช้สำหรับการก่อ (Mortar) โดยได้ทดลองผสมในปูนทรายโดยการแทนที่น้ำหรือซีเมนต์ในปริมาณที่แตกต่างกัน และทำ การทดสอบคุณสมบัติต่างๆทั้งในแง่ของกำลังการรับแรง (แรงอัด แรงอัด และแรงดึง) และความสามารถในการดูดซึมน้ำ จากการทดลองพบว่า การใส่น้ำยางพาราคงรูปหรือกาวยางพาราเข้าไปในส่วนผสม จะทำให้กำลังการรับแรงดัดและแรงดึง ของปูนทรายที่ได้สูงขึ้น ในขณะที่กำลังรับแรงอัดจะลดลง จากนั้นปูนทรายที่มีสัดส่วนผสมของน้ำยางพาราคงรูปโดยการแทนที่น้ำร้อยละ 1 หรือกาวยางพาราโดยการแทน ที่ซีเมนต์ในปริมาณร้อยละ 5 ได้ถูกนำไปใช้ในการทดลองก่อและฉาบกำแพงเพื่อทำการทดสอบกำลังการรับแรงอัดและ แรงดัดของแผงกำแพง ซึ่งพบว่าน้ำยางพาราคงรูปในส่วนผสมของปูนทรายจะส่งผลให้กำลังรับแรงดัดของกำแพงมีค่าสูง ขึ้น เพราะช่วยเพิ่มความสามารถในการยึดเกาะระหว่างอิฐกับปูนทรายได้ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปูนทรายโดยทั่วไปที่มี การผสมน้ำยาก่อ ในขณะที่ผลของปูนทรายผสมกาวยางพารานั้นทำให้ปูนทรายที่ได้มีการก่อตัวเร็วและแห้งเร็วขึ้น ทำให้ การทำงานก่อฉาบนั้นทำได้ยากขึ้นอันเป็นผลให้กำลงการรับแรงในแง่ต่างๆของกำแพงที่ได้มีค่าลดลง แต่ย่างไรก็ตาม หาก มีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อปรับปรุงความสามารถในการใช้งานของปูนทรายที่ได้ มีความเป็นไปได้ที่จะนำปูนทรายที่ได้ไปใช้ ในงานจริงอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสูญเสียน้ำเนื่องจาการรั่วซึมในแบบจำลองคลองชลประทานที่มีส่วนผสม ของน้ำยางพารา ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการวัดอัตราการรั่วซึมของแบบจำลองคลองชลประทาน ซึ่งประกอบไปด้วยแบบ จำลองคลองชลประทานที่มีส่วนผสมของน้ำยางธรรมชาติ 7.5% , 10% , 12.5% , 15% และไม่มีส่วนผสมของน้ำยางพารา จากผลการวัดอัตราการรั่วซึมและคำนวณค่าคงที่ของการซึม (k) จะได้สมการปริมาณการซึมทั้งหมด (F) ดังต่อไปนี้ 1. แบบจำลองคลองชลประทานที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำยางพารา e-1.29t 1.29 - 0.5451 1.29 F = 0.0049T + 0.5451 2. แบบจำลองคลองชลประทานที่มีส่วนผสมของน้ำยางพารา 7.5% e-1.47t 1.47 - 0.4381 1.47 F = 0.0019T + 0.4381 3. แบบจำลองคลองชลประทานที่มีส่วนผสมของน้ำยางพารา 10% e-1.60t 1.60 - 0.3979 1.60 F = 0.0021T + 0.3979 4. แบบจำลองคลองชลประทานที่มีส่วนผสมของน้ำยางพารา 12.5% e-1.60t 1.60 - 0.3678 1.60 F = 0.0022T + 0.3678 5. แบบจำลองคลองชลประทานที่มีส่วนผสมของน้ำยางพารา 15% e-1.26t 1.26 - 0.9143 1.26 F = 0.0057T + 0.9143 จากสมการปริมาณการซึม (F) จะได้ค่าอัตราการรั่วซึมของแบบจำลองคลองชลประทานที่มีส่วนผสมของน้ำยาง ธรรมชาติ 7.5% , 10% , 12.5% , 15% และไม่มีส่วนผสมของน้ำยางพารา มีค่าอัตราการรั่วซึมดังนี้ 5.40 มม./วัน , 3.43 มม./วัน , 2.99 มม./วัน , 2.83 มม./วัน และ 8.20 มม./วัน จากทดลองพบว่าแบบจำลองคลองชลประทานที่มีส่วนผสม ของน้ำยางพารา 7.5% , 10% และ 12.5% สามารถลดอัตราการรั่วซึมของน้ำได้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2550
เอกสารแนบ: http://www.tnrr.in.th/2558/?page=result_search&record_id=68365
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
กลุ่มโครงการวิจัยขนาดเล็กการประยุกต์ใช้น้ำยางพาราในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง-ม.ส.(1)
การยางแห่งประเทศไทย
2550
เอกสารแนบ 1
กลุ่มวิจัยยางพารา โครงการวิจัยขนาดเล็กเรื่องยางพารา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation โครงการวิจัยขนาดเล็กเรื่องยางพารา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โครงการวิจัยขนาดเล็ก เรื่อง ยางพารา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน โครงการวิจัยขนาดเล็กเรื่องยางพารา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี การพัฒนาอิฐดินซีเมนต์ผสมน้ำยางพารา: โครงการวิจัยขนาดเล็กการประยุกต์ใช้น้ำมันยางพาราในอุตสาหกรรมก่อสร้าง โครงการวิจัยขนาดเล็กเรื่องยางพารา การพัฒนาอุปกรณ์วิเคราะห์น้ำยางพาราสำหรับใช้งานในสวนยางพารา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก