สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ตำบลสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
สิริกาญจน์ ธุรนุช - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ตำบลสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สิริกาญจน์ ธุรนุช
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาสภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ตำบลสำโรง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานบางประการทางด้านสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร และ 2) เพื่อศึกษาสภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือเกษตรกรที่ปลูกข้าวในตำบลสำโรง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ปีการเพาะปลูก 2546/47 จำนวน 15 หมู่บ้าน 1,302 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง 131 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรผู้ผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ร้อยละ 74 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 48.7 ปี เกษตรกรร้อยละ 59.5 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.9 คน เกษตรกรทุกรายเป็นสมาชิกกลุ่มทางการเกษตร โดยร้อยละ 98.5 เป็นลูกค้า ธ.ก.ส. แรงงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.6 คน พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 29.9 ไร่ พื้นที่ทำนาเฉลี่ย 29.2 ไร่ เกษตรกรร้อยละ 53.4 มีสิทธิการครอบครองพื้นที่ทางการเกษตรเป็นของตนเอง เครื่องมือเครื่องจักรกลทางการเกษตร เกษตรกรร้อยละ 74 มีรถไถเดินตาม รายได้ต่อครอบครัวต่อปีเฉลี่ย 91,980 บาท มีรายได้จากการจำหน่ายข้าวเฉลี่ย 48,072.70 บาท เกษตรกรร้อยละ 97.7 ใช้เงินทุนของตนเอง เกษตรกรมีขนาดพื้นที่ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 เฉลี่ย 20.2 ไร่ ร้อยละ 54.2 มีลักษณะพื้นที่ทำนาเป็นที่ลุ่ม และร้อยละ 45.8 เป็นที่ดอน ร้อยละ 92.4 ชนิดของเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย เกษตรกรทุกรายใช้น้ำฝนเป็นแหล่งน้ำในการผลิตข้าว ร้อยละ 58.8 ทำนาด้วยวิธีหว่าน เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 95.4 เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ทำพันธุ์เอง ร้อยละ 61.9 คัดทำความสะอาดเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก เกษตรกรร้อยละ 45.8 ไถกลบตอซัง ร้อยละ 51.6 ไถกลบตอซังช่วงเดือนธันวาคม - มกราคม การเตรียมดินเกษตรกรร้อยละ 55.7 เตรียมดินด้วยการไถ 2 ครั้ง คราด 2 ครั้ง การใส่ปุ๋ยเกษตรกรร้อยละ 68.7 ใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ โดยปุ๋ยเคมีที่ใช้ เกษตรกรร้อยละ 72.5 ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 ร้อยละ 94.1 ใส่ปุ๋ยเคมี 2 ครั้ง ร้อยละ 58 ใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 15-30 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เกษตรกรร้อยละ 82.4 ใช้ปุ๋ยคอก และร้อยละ 17.6 ปลูกพืชปุ๋ยสดและใช้น้ำหมักชีวภาพ เกษตรกรร้อยละ 61.8 ไม่ตัดข้าวปน โดยเกษตรกรร้อยละ 37.4 ตัดข้าวปน 1 ครั้ง ระยะเวลาที่ตัดข้าวปน ร้อยละ 64 ตัดข้าวปนระยะข้าวแตกกอ ช่วงระยะเวลาเก็บเกี่ยวเกษตรกรร้อยละ84.7 เก็บเกี่ยวข้าวระยะพลับพลึง ร้อยละ 92.4 เกี่ยวข้าวด้วยแรงงานคน ร้อยละ 99.2 นวดข้าวด้วยเครื่องนวด ร้อยละ096.6 ลดความชื้น เกษตรกรได้ผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 เฉลี่ย 6,740.9 กิโลกรัม เกษตรกรร้อยละ 57.3 เก็บข้าวเปลือกไว้รอจำหน่ายนานกว่า 3 เดือน ร้อยละ 47.3 จำหน่ายข้าวเปลือกให้แก่พ่อค้า จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) ควรให้คำแนะนำส่งเสริมให้เกษตรกรไถกลบตอซังและปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์และปรับโครงสร้างของดิน 2) ควรส่งเสริมให้เกษตรกรจัดทำแปลงพันธุ์ เพื่อให้เกษตรกรสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเก็บไว้ใช้เองได้ 3) ควรให้มีการเปลี่ยนพันธุ์ข้าวทุก 3 ปี ควรส่งเสริมให้เกษตรกรมีการเตรียมเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก ควรมุ่งเน้นเรื่องการทดสอบความงอกเป็นพิเศษ และ 4) ควรสนับสนุนให้เกษตรกรมีสระน้ำในไร่นาเพื่อใช้ในช่วงฝนทิ้งช่วงระยะตกกล้าและข้าวออกดอกสร้างเมล็ด
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ตำบลสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ตำบลตาอ็อง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ในอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ในกิ่งอำเภอท่าศรีอุดม จังหวัดอุบลราชธานี การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ปี 2546/2547 ตำบลโพนครก อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ การใช้เทคโนโลยีการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรตำบลราม อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เทคโนโลยีในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของ เกษตรกรตำบลซำ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรในอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรในอำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก