สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพ
ศิริพร วรกุลดำรงชัย - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพ
ชื่อเรื่อง (EN): Enchancing Technology to produce Durian Quality
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศิริพร วรกุลดำรงชัย
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ศิริพร วรกุลดำรงชัย
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยนี้ ประกอบด้วยการทดลองทั้งหมด 7 การทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้เทคโนโลยีการผลิตทุเรียนคุณภาพที่เหมาะสม และครบถ้วน ที่สามารถนำมาใช้ในการเพิ่มปริมาณการผลิตทุเรียนคุณภาพที่ปลอดภัย และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และมีต้นทุนการผลิต (บาท/กิโลกรัม) ต่ำลง มีระยะเวลาที่ทำการวิจัย ตั้งแต่ ตุลาคม พ.ศ. 2548 – กันยายน พ.ศ. 2553 รวม 5 ปี การทดลองที่ 1-3 วิจัยและประยุกต์เทคโนโลยีการผลิตทุเรียน ดำเนินการทดลองในพื้นที่การผลิตทุเรียนที่สำคัญ ได้แก่ ภาคตะวันออก (จ.จันทบุรี และตราด) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จ.ศรีสะเกษ) และภาคใต้ (จ.สุราษฎร์ธานี) ระยะเวลาดำเนินการ ตุลาคม พ.ศ. 2549 – กันยายน พ.ศ. 2550 วางแผนการทดลองแบบ RCB โดยทดสอบวิธีการจัดการสวนตามกรรมวิธี (เทคโนโลยี) ที่กำหนด 3 กรรมวิธี คือ การดูแลรักษาต้นทุเรียนแบบเกษตรกร การดูแลรักษาและจัดการปัจจัยการผลิตแบบ medium input และ high input กรรมวิธีละ 20 ต้น ผลการทดลองพบว่า ในแหล่งผลิตทุเรียนทั้ง 3 ภาค การจัดการสวนแบบ high input สามารถเพิ่มปริมาณผลผลิตรวม ผลผลิตที่มีคุณค่าทางการตลาด และผลตอบแทนสุทธิให้สูงขึ้นได้ รวมทั้งสามารถลดต้นทุนการผลิต (บาท/กิโลกรัม) ได้มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธี medium input และแบบเกษตรกร ตามลำดับ การทดลองที่ 4 การออกแบบสวนทุเรียนเพื่อเสริมประสิทธิภาพการผลิตทุเรียนคุณภาพ ดำเนินการวิจัยที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี (ห้วยสะพานหิน) ระยะเวลาดำเนินการ ตุลาคม พ.ศ. 2548 – กันยายน พ.ศ. 2553 ทำการทดลองในแปลงปลูกทุเรียนระยะปกติ 8x10 เมตร ต้นอายุ 2-3 ปี ทำการตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมและสร้างทรงพุ่มเป็นรูปครึ่งวงกลม สี่เหลี่ยมและปิรามิด จำนวน 60 ต้น ความสูง 5 เมตร ทำให้ 1 ต้นมีจำนวนกิ่ง 15-20 กิ่ง และ 1 ไร่ มี 20 ต้น ในปี พ.ศ. 2553 ต้นทุเรียนเริ่มมีโครงสร้างตามที่กำหนดมากขึ้น จึงทดสอบการไว้ผลผลิตเป็นปีแรก พบว่ากิ่งที่ออกดอกได้จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.3-2.7 เซนติเมตรขึ้นไป ปริมาณผลผลิตต่อต้นเฉลี่ย 15-20 ผล และเป็นผลผลิตที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ยังทำการทดลองในแปลงปลูกระยะชิด 3x13 เมตร โดยการสร้างแปลงใหม่ จำนวน 3 แปลงๆ ละ 30 ต้น โดยแปลงที่ 1 และ 2 เป็นต้นทุเรียนที่ปลูกจากกิ่งกระโดง ส่วนแปลงที่ 3 เป็นต้นทุเรียนที่ปลูกจากกิ่งข้าง ทำการตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมและสร้างทรงพุ่มเป็นรูปครึ่งวงกลม และสี่เหลี่ยม ความสูง 5 เมตร ทำให้ 1 ต้น มีจำนวนกิ่ง 10-12 กิ่ง และ 1 ไร่ มี 39 ต้น ในปี พ.ศ. 2553 ต้นทุเรียนในแปลงที่ 1 และ 2 มีอายุ 4 ปี และแปลงที่ 3 มีอายุ 3 ปี ตามลำดับ และเริ่มมีโครงสร้างต้นตามที่กำหนดมากขึ้น ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2554 จึงจะเริ่มทดสอบการไว้ผลผลิตเป็นปีแรก การทดลองที่ 5 ศึกษาการควบคุมโรครากเน่าและโคนเน่าของทุเรียนโดยใช้เชื้อจุลินทรียปฏิปักษ์ ได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์บนอาหารเลี้ยงเชื้อ และทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่แยกได้ต่อเชื้อรา P. palmivora ด้วยวิธีการ baiting จำนวน 2 ครั้ง พบว่าเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่มีประสิทธิภาพดีในการยับยั้งและกำจัดเชื้อราสาเหตุโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียนและไม่ทำให้ทุเรียนเป็นโรค ได้แก่ ไอโซเลท 5102, 5808-1 และ 5809-1 ซึ่งจากการนำเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ทั้ง 3 ไอโซเลท ไปจำแนกชนิดด้วยวิธี 16S rDNA พบว่า เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ไอโซเลท 5102 เป็นเชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis strain WD20 เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ไอโซเลท 5808-1 และ 5809-1 เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดเดียวกันคือ Bacillus subtilis strain CMG M8 จากการทดลองนี้ทำให้ได้ชนิดและสายพันธุ์ที่เฉพาะเจาะจงของเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพดีและปลอดภัยในการนำไปขยายผล เพื่อใช้ในการป้องกันกำจัดโรครากเน่าและโคนเน่าของทุเรียนต่อไป การทดลองที่ 6 ศึกษาการป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียนแบบผสมผสาน ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี (ห้วยสะพานหิน) ระยะเวลาดำเนินการตุลาคม พ.ศ. 2551 - กันยายน พ.ศ. 2553 โดยมีกรรมวิธีการจัดการป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่า ดังนี้ 1) การใช้สารเคมี 100 เปอร์เซ็นต์ 2) ไคโตซาน + พด 3 (เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ของกรมพัฒนาที่ดิน) 3) ไคโตซาน + เมทาแลคซิล + พด 3 4) อิมมูนพลัส (สารกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันโรคพืช) + พด 3 และ 5) อิมมูนพลัส + เมทาแลคซิล + พด 3 พบว่า การรักษาแผลโรครากเน่าโคนเน่าของทุกกรรมวิธี สามารถควบคุมโรคในการรักษาครั้งแรกได้แตกต่างกัน 77.7, 44.4, 66.6, 66.6 และ 77.7 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และเมื่อทำการรักษาแผลในครั้งที่สอง พบว่าทุกกรรมวิธีสามารถรักษาแผลให้หายได้ ทั้งนี้มีข้อแนะนำในการจัดการโรคราเน่าโคนเน่า ผลเน่า ที่เหมาะสม ได้แก่ การลดปริมาณเชื้อไฟท็อปทอร่าในดินโดยการใส่เชื้อไตรโคเดอร์ม่าลงไปควบคุมปริมาณเชื้อสาเหตุโรค การป้องกันโรคที่ลำต้น โดยการฉีดกรดฟอสฟอรัสเข้าลำต้น และรักษาแผลที่พบโดยทันที ถ้าขนาดของแผลไม่ใหญ่มาก รักษาโดยการใช้เชื้อราปฏิปักษ์ได้ ส่วนการลดความเสียหายของผลผลิตหลังเก็บเกี่ยว สามารถทำได้โดยการล้างทำความสะอาดที่เปลือกด้วยสารสะลายคลอรีน 5 เปอร์เซ็นต์ การทดลองที่ 7 ศึกษาการจัดการสวนทุเรียนแบบผสมผสานเพื่อลดการใช้สารเคมีในการผลิตทุเรียนคุณภาพ ดำเนินการวิจัยที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี (ห้วยสะพานหิน) ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550-กันยายน พ.ศ. 2553 โดยมีการจัดการสวนทุเรียนแบบลดการใช้สารเคมีต่างกัน 3 กรรมวิธี (กรรมวิธี 2-4) เปรียบเทียบกับการใช้สารเคมี 100 เปอร์เซ็นต์ (กรรมวิธี 1) พบว่ากรรมวิธีที่ 2 (การใช้สารเคมี 50 เปอร์เซ็นต์ + สารธรรมชาติจากภูมิปัญญาชาวบ้าน) และกรรมวิธีที่ 3 (การใช้สารเคมี 50 เปอร์เซ็นต์ + สารธรรมชาติที่ผลิตจากจุลินทรีย์ EM) สามารถนำไปใช้ในการผลิตทุเรียนคุณภาพได้ โดยที่ทุเรียนมีสภาพความสมบูรณ์ต้น, จำนวนผล/ต้น, ปริมาณผลผลิต/ต้น, ปริมาณผลผลิต/ไร่ และปริมาณผลผลิตที่มีคุณค่าทางการตลาดไม่แตกต่างกันทางสถิติกับกรรมวิธีที่ 1 โดยกรรมวิธีที่ 1, 2 และ 3 มีความสมบูรณ์ต้นเฉลี่ย 73.90, 72.20 และ 73.01เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนต้นทั้งหมด จำนวนผล/ต้นเฉลี่ย 14, 12 และ 11 ผล ปริมาณผลผลิต/ต้น 51.58, 43.45 และ 44.62 กิโลกรัม ปริมาณผลผลิต/ไร่ 1,031.63, 868.90 และ 892.50 กิโลกรัม และปริมาณผลผลิตที่มีคุณค่าทางการตลาด 68.23, 70.93 และ 63.83เปอร์เซ็นต์ ของผลผลิตทั้งหมด ตามลำดับ ส่วนกรรมวิธี ที่ 4 (การใช้สารเคมี 50เปอร์เซ็นต์ + สารธรรมชาติที่ผลิตเป็นการค้า) มีปริมาณผลผลิต/ไร่ต่ำเพียง 679.94 กิโลกรัม จึงไม่แนะนำให้ใช้กรรมวิธีนี้ในการผลิตทุเรียนคุณภาพผลที่ได้จากการทดลองทั้ง 7 การทดลองนี้ จะนำมาผนวกรวมกับเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพที่มีอยู่เดิม เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถนำไปใช้ในการผลิตทุเรียนคุณภาพในแหล่งผลิตทุเรียนที่สำคัญของประเทศไทยต่อไป
บทคัดย่อ (EN): This research project is comprised of seven experiments with the purpose of enhancing appropriate and comprehensive technology on quality durian production that can utilize for increasing the number of quality durian with safety and least environmental impact which correlated with market need and lower production cost (Baht/kg). This project was in a five-year timeline from October 2005 (B.E. 2548) to September 2010 (B.E. 2553). The first, second and third experiments were aimed to research and apply proper technology for durian production by implementing in those major cultivation areas of eastern coast region (Chantaburi and Trat provinces), northeastern region (Srisaket province) and southern region (Surat Thani province) with implementing period during October 2006 to September 2007. Under the RCB experimental method, there were three processes tested following to the cultivation technology process as they were (1) farming system, (2) production care and management of medium input and (3) of high input. Each process had 60 durian trees for testing. The results of those three regions revealed that the high input process could increase the gross output, higher market-valued productivity and net revenue, also could decrease the production cost (Baht/kg) compared with the other two processes of medium input and farming system, respectively. The fourth experiment was aimed to Durian Orchard Design to strengthen the efficiency of quality durian production, conducted at the Chanthaburi Horticultural Center (Huay Saphan Hin) during October 2005 to September 2010. This experiment was processed with regular space planting of 2-3 years old durian trees inside the 8x10 meters experimental plots. Branch pruning was conducted to 90 durian trees at height of 5 meters to control and to build different canopies in semi-circle, square and pyramid shapes. Thus, each tree would have 15-20 branches and there were 20 durian trees in each rai. In 2010, those durian trees showed more evidences of their formed structure as ready for the first productivity experiment. It also found that any branches with flowers would have their circumstance 1.3-2.5 centimeters with average productivity of 15-20 quality durians. Another experiment was processed with intense space planting of 3x13 meters with 30 durian tress in each of three experimental plots. The plots no. 1 and 2 was durian trees developed from vertical branch, but the plot no. 3 was those grown from the lateral branch. These trees at height of 5 meters received pruning to control and to build different canopies in semi-circle, square and pyramid shapes. Thus, each tree would have 10-12 branches and there were 39 durian trees in each rai. Those durian trees in the plots no. 1 and 2 were 4 years old in the year 2010. The others in the plot no. 3 were 3 years old and began to show more evidences of formed structure. Consequently, they will be tested for their first productivity experiment in the year 2011. The fifth experiment was aimed to control the root rot and stem rot in durian using antagonistic microorganism during October 2007 to September 2010. The efficiency of some antagonistic microorganisms was tested on culture medium, then testing the extracted antagonistic microorganism with P. palmivora for twice on baiting technique. It revealed that some extracted microorganisms such as Isolate 5102, 5808-1 and 5809-1 had their potentials on controlling and eliminating those fungi in durian’s root rot and stem rot, also preventing on infection. Referring to identify those antagonistic microorganisms in three Isolates by 16S rDNA method, it showed that the Isolate 5102 was Bacillus subtilis strain WD20 and those Isolates 5808-1 and 5809-1 were the same Bacillus subtilis in different strain of CMG M8. This experiment has extracted both specific species and genome of microorganisms with efficiency and safety that can be extended for preventing durian’s root rot and stem rot in the future. The sixth experiment was aimed to integrate prevention and elimination of the root rot and stem rot in durian. This experiment was conducted at the Chanthaburi Horticultural Center (Huay Saphan Hin) during October 2008 to September 2010 with these following integrated processes. (1) Full 100 % chemical use, (2) Chitosan + PD3 (Trichoderma spp. of the Department of Land Development), (3) Chitosan + Metalaxyl + PD3, (4) Immune-plus (for stimulating the protective immune) +PD3 and (5) Immune-plus + Metalacsil + PD3. It remarked that curing the wound from the root rot and stem rot with all above-mentioned processes provided different outcomes for the first treatment as 77.7, 44.4, 66.6, 66.6 and 77.7%, respectively. For the second treatment, it showed that each process could cure the disease. The recommendations to tackle the root rot and stem rot, rotten fruit were reducing the amount of Phytopthora palmivora in soils by adding Trichoderma spp. for controlling the amount of infected germ. Prevention the stem disease was conducted by injecting phosphorus acid into the stem and instant curing any of the existing wounds. In case of not-too-big wounds could be cured by antagonistic microorganisms. Also, reducing the possible damage on production after harvesting could be performed by cleaning rind with 5% chlorine solution. The seventh experiment was aimed to study an integrated management on durian orchards for effective chemical use reduction on production. It was conducted at the Chanthaburi Horticultural Center (Huay Saphan Hin) during October 2007 to September 2010. This experiment focused on reducing chemical use in three different processes (from the 2nd, 3rd and 4th processes) in comparison with full 100% chemical use (the 1st process). It revealed that the 2nd process (chemical use of 50% + natural extracts from local intellectuals) and the 3rd process (chemical use of 50% + natural extracts from effective microorganisms: EM) could provide the quality durian production with tree fertility, the number of fruits per tree, the volume of productivity per tree and per rai, also the market-valued production without any statistical differential from the 1st process. These three processes showed the average of tree fertility at 73.90, 72.20 and 73.01% of total trees, the average number of fruits per tree at 14, 12 and 11, the productivity per tree at 51.58, 43.45 and 44.62 kg., also the productivity per rai at 1,031.63, 868.90 and 892.50 kg., and the market-valued production were 68.23, 70.93 and 63.83% of total production. But the 4th process (chemical use of 50% + commercialized natural extracts) showed the low productivity per rai of 679.94 kg., that it was not recommended for producing quality durian. All outcomes of these experiments would be combined to be an effective package technology on enhancing higher quality of durian production as it could be applied for producing quality durian in all other potential sites over Thailand.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพ
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย ความผันแปรใน Phytophthora palmivora (Butl.) Butl. ทุเรียน : ลักษณะรูปร่างและแบบคู่ผสม การใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพของกรมพัฒนาที่ดินร่วมกับการปลูกหญ้าแฝกเพื่อเพิ่มคุณภาพของผลผลิตทุเรียนในจังหวัดระยอง โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกล้วยไข่คุณภาพเพื่อการส่งออก โครงการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่ง การใช้เทคโนโลยีการผลิตทุเรียนของสมาชิกกลุ่มปรับปรุงคุณภาพทุเรียน จังหวัดระยอง ปัญหางานส่งเสริมการผลิตและการตลาดทุเรียนเพื่อส่งออก จ.ระยอง โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรด เทคโนโลยีการผลิตพืชแห่งศตวรรษที่ 21 โครงการวิจัยเทคโนโลยีการผลิตมันฝรั่งที่มีคุณภาพ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก