สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาเปรียบเทียบขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของเกษตรตำบลในพื้นที่ชลประทานและพื้นที่อาศัยน้ำฝน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โสพิศ ปัญญาบุตร - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาเปรียบเทียบขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของเกษตรตำบลในพื้นที่ชลประทานและพื้นที่อาศัยน้ำฝน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: โสพิศ ปัญญาบุตร
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทราบแนวทางในการเสริมสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาบุคลิกภาพและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเกษตรตำบลในพื้นที่ชลประทานและพื้นที่อาศัยน้ำฝน โดยกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยเฉพาะไว้ 4 ประการคือ(1)ลักษณะพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรตำบล(2)ระดับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของเกษตรตำบล(3)เปรียบเทียบระดับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของเกษตรตำบลและ(4)ข้อเสนอแนะของเกษตรตำบลในการปรับปรุงระดับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานประชากรตัวอย่างในการวิจัยมีจำนวน 128 คน เป็นเกษตรกรตำบลที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ชลประทาน จำนวน 67 คน และเกษตรตำบลที่ปฏิบัติงานในพื้นที่อาศัยน้ำฝน จำนวน 61 คน จาก จ.ขอนแก่น จ.กาฬสินธุ์ จ.สกลนคร และ จ.มหาสารคาม โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงเครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า พื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจบางประการของเกษตรตำบลทั้งสองกลุ่มมีลักษณะดังนี้กล่าวคือส่วนใหญ่เป็นชายที่มีอายุตั้งแต่ 30-39 ปี สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส.และมีภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวนเกือบครึ่งหนึ่งของกลุ่มทำงานอยู่ในระดับ 4 โดยมีอัตราเงินเดือนตั้งแต่ 6,500-6,999 บาท ปฏิบัติงานในกรมส่งเสริมการเกษตรมาแล้วเป็นเวลา 6-15 ปี โดยปฏิบัติงานในจังหวัดนั้น ๆ เป็นเวลา 10-12 ปี และส่วนใหญ่มีเวลาปฏิบัติงานในระดับพื้นที่เป็นเวลาน้อยกว่า 2 ปี จำนวนรองลงมาเป็นเวลา 5 ปี และรับผิดชอบงาน จำนวน 1 ตำบล เกษตรตำบลในพื้นที่ชลประทานมีขวัญกำลังใจอยู่ในระดับดีเมื่อพิจารณาแต่ละปัจจัยพบว่ามีขวัญกำลังใจอยู่ในระดับดีในเรื่องเพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา ความพอใจในงาน ศักดิ์ศรีอาชีพ ความมั่นคงปลอดภัย สุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน ลักษณะครอบครัว(ดั้งเดิม) หน่วยงานอื่น ลักษณะของเกษตรกรและลักษณะภูมิประเทศและมีขวัญกำลังใจอยู่ในระดับพอใช้ในเรื่องสภาพการทำงาน โอกาสก้าวหน้า สวัสดิการ ความเพียงพอของรายได้ และการเมือง ส่วนเกษตรตำบลในพื้นที่อาศัยน้ำฝน มีขวัญกำลังใจอยู่ในระดับพอใช้ เมื่อพิจารณาแต่ละปัจจัยพบว่ามีขวัญกำลังใจอยู่ในระดับดีในเรื่องเพื่อนร่วมงาน ความพอใจในงาน ศักดิ์ศรีอาชีพ สุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน ลักษณะครองครัว(ดั้งเดิม)และหน่วยงานอื่นและมีขวัญกำลังใจอยู่ในระดับพอใช้ในเรื่องสภาพการทำงาน ผู้บังคับบัญชา ความมั่นคงปลอดภัย โอกาสก้าวหน้า สวัสดิการ ความเพียงพอของรายได้ ลักษณะของเกษตรกร ลักษณะภูมิประเทศและการเมือง ผลการเปรียบเทียบระดับขวัญกำลังใจของเกษตรตำบลทั้งสองกลุ่มปรากฏว่ามีขวัญกำลังใจอยู่ในระดับที่แตกต่างกัน โดยเกษตรตำบลในพื้นที่ชลประทานมีขวัญกำลังใจอยู่ในระดับดี ส่วนเกษตรตำบลในพื้นที่อาศัยน้ำฝนมีขวัญกำลังใจอยู่ในระดับพอใช้ เมื่อเปรียบเทียบตามปัจจัยที่มีผลกระทบต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ปรากฏว่าเกษตรตำบลทั้งสองกลุ่มมีขวัญกำลังใจอยู่ในระดับที่แตกต่างกันในเรื่องผู้บังคับบัญชา ความมั่นคงปลอดภัย ลักษณะของเกษตรกร และลักษณะภูมิประเทศและทั้งสองกลุ่มมีขวัญกำลังใจอยู่ในระดับที่เหมือนกัน 2 ระดับ คือ ระดับดีในเรื่องเพื่อนร่วมงาน ความพอใจในงาน ศักดิ์ศรีอาชีพ สุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน ลักษณะครอบครัว(ดั้งเดิม)และหน่วยงานอื่นและระดับพอใช้ในเรื่องสภาพการทำงาน โอกาสก้าวหน้า สวัสดิการ ความเพียงพอของรายได้และการเมือง เกษตรตำบลทั้งสองกลุ่มให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรรุงระดับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานในประเด็นสำคัญที่เหมือนกันและแตกต่างกันคือข้อเสนอแนะที่เหมือนกันเรียงตามลำดับดังนี้(1)ควรเพิ่มค่าเบี้ยเลี้ยงให้เหมาะสมกับปริมาณงานที่ปฏิบัติ(2)ควรเพิ่มค่าน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับจักรยานยนต์ให้มากขึ้น(3)ควรพิจารณาเพิ่มเงินเดือน(4)ควรเพิ่มการสนับสนุนโสตฯ(5)ควรเลื่อนระดับตำแหน่งหน้าที่การงานที่สูงขึ้นด้วยความยุติธรรม(6)จังหวัดหรืออำเภอควรพิจารณาจัดหากิจกรรมการเกษตร(7)ควรจ่ายค่าเช่าบ้านให้เฉพาะผู้ที่เช่าบ้านพักจริงโดยจ่างให้ทุกสิ้นเดือน(8)เกษตรอำเภอควรมีความเป็นกันเองและจริงใจ(9)ควรมีการสอบถามความสมัครใจของเกษตรตำบลก่อนการออกคำสั่งย้ายในกรณีไม่ได้ขอย้าย(10)ไม่ควรให้เกษตรตำบลรับผิดชอบงานของกระทรวงและกรมอื่น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2535
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2535
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาเปรียบเทียบขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของเกษตรตำบลในพื้นที่ชลประทานและพื้นที่อาศัยน้ำฝน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรมส่งเสริมการเกษตร
2535
การปฏิบัติงานของเกษตรตำบลที่เกี่ยวข้องกับองค์การบริหารส่วนตำบล การปฏิบัติของเกษตรกรในการจัดการหนูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การปฏิบัติของเกษตรกรในการจัดการหนูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษาเปรียบเทียบบทบาทที่กรมส่งเสริมการเกษตรมอบหมายกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของเกษตรตำบล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ความคิดเห็นของเกษตรตำบลที่มีต่อการปฏิบัติงานของเกษตรอำเภอในภาคตะวันออก ระบบการจัดการพื้นที่สาธารณประโยชน์ของชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การดำเนินงานกลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล (เกษตรตำบล) ในจังหวัดภาคกลางที่อยู่ในโครงการปรับปรุงระบบการส่งเสริมการเกษตรของประเทศไทย สภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานสารสนเทศของสำนักงานเกษตรจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขวัญในการปฏิบัติงานของเกษตรตำบลภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่อยู่ในโครงการปรับปรุงระบบส่งเสริมการเกษตรของประเทศไทย

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก