สืบค้นงานวิจัย
การควบคุมโรคผลเน่าของส้มโดยใช้น้ำส้มควันไม้และสารสกัดจากพืชสมุนไพรบางชนิด
ณัฐนัย วิสิทธวงศ์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การควบคุมโรคผลเน่าของส้มโดยใช้น้ำส้มควันไม้และสารสกัดจากพืชสมุนไพรบางชนิด
ชื่อเรื่อง (EN): Controlling Penicillium Fruit Rot of Citrus Using Wood Vinegar and Some Medicinal Plant Extracts
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ณัฐนัย วิสิทธวงศ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Nuttanai Wisittawong
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สรัญยา ณ ลำปาง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Sarunya Nalumpang
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: เชื้อรา Penicillium sp. จำนวน 15 ไอโซเลท แยกได้จากผลส้มที่แสดงอาการโรค ผลเน่า จากแหล่งจำหน่ายส้มในจ.เชียงใหม่ เมื่อทดสอบความสามารถในการก่อโรค พบว่า เชื้อรา Penicillium sp. ไอโซเลท POF-2 สามารถก่อโรคผลเน่ารุนแรงที่สุด การทดสอบ ประสิทธิภาพของน้ำส้มควันไม้ 5 ชนิด ได้แก่ น้ำส้มควันไม้จากกะลามะพร้าว ไม้ไผ่ ยางพารา ยูคาลิปตัส และลำไย สารสกัดจากพืชสมุนไพร สำเร็จรูป 2 ชนิด ได้แก่ สารสกัดจากสะเดา และสารสกัดจากขมิ้น ในการยับยั้งการเจริญ ของเชื้อรา Penicillium sp. ไอโซเลท POF-2 โดยผสมน้ำส้มควันไม้หรือสารสกัดจากพืช ลงใน อาหารเลี้ยงเชื้อ potato dextrose agar (PDA) ที่ 5 ระดับความเข้มข้น ได้แก่ 1, 2, 3, 4 และ 5 % พบว่า น้ำส้มควันไม้จากไม้ไผ่ และยางพาราที่ความเข้มข้น 2 %(v/v) มี ประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา และยับยั้งการสร้างสปอร์ได้เท่ากับ 100 % โดยค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการ เจริญของเส้นใยเชื้อรา (minimum inhibition concentration; MIC) ของน้ำส้มควันไม้จาก ยางพารา และไม้ไผ่ได้ เท่ากับ 1.4 และ 1.5 % (v/v) ตามลำดับ การแช่ผลส้มในน้ำส้มควันไม้ จากยางพารา ความเข้มข้น 1.4% และจาก ไม้ไผ่ ความเข้มข้น 1.5 % เป็นระยะเวลา 1 นาที และปลูกเชื้อที่ 0 และ 12 ชม.หลังการ แช่น้ำส้มควันไม้ พบว่า น้ำส้มควันไม้จากยาง พารา มีประสิทธิภาพในการควบคุมการเกิดโรค ผลเน่าบนส้ม ได้ 66.67% และ 56.56% ขณะ ที่น้ำส้มควันไม้จากไม้ไผ่ ควบคุมโรคได้ 57.50% และ 46.67% ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): Fifteen strains of Penicillium sp., caused citrus fruit rot disease, were isolated from citrus sold in Chiang Mai. The pathogenicity test showed that POF-2 was the most virulent isolate for citrus rot disease. Efficacy of five different wood vinegar, namely wood vinegar from coconut shell, bamboo, rubber tree, eucalyptus, longan and efficacy of two plant extracts of neem and turmeric were determined for inhibition of growth and development of POF-2 isolate. Each wood vinegar and medicinal plant extract was separately mixed into potato dextrose agar (PDA) at final concentration of 1, 2, 3, 4 and 5 %. The results showed that wood vinegar from bamboo and rubber tree at 2 % (v/v) could inhibit 100% of mycelia growth and sporulation of POF-2 isolate. The minimum inhibition concentration (MIC) of wood vinegar from rubber tree and bamboo were 1.4 and 1.5 % (v/v), respectively. Afterward, wood vinegar of bamboo and rubber tree were tested for disease control on citrus fruits. Citrus fruits were separately soaked into 1.4% (v/v) wood vinegar from rubber tree and 1.5 % (v/v) bamboo wood vinegar for 1 minutes. The results showed that rubber tree wood vinegar had the efficacy to control the disease at 0 and 12 h after soaking for 66.67 and 56.56% whereas bamboo wood vinegar could control the disease by 57.50 and 46.67%, respectively.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การควบคุมโรคผลเน่าของส้มโดยใช้น้ำส้มควันไม้และสารสกัดจากพืชสมุนไพรบางชนิด
กรมวิชาการเกษตร
2560
เอกสารแนบ 1
การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากสมุนไพรไทยบางชนิดในการกำจัดหอยเชอร์รี่ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสารจากสมุนไพร (metabolites) ที่ตรวจพบในเลือดของอาสาสมัครสุขภาพดีหลังกินยาจากสมุนไพรอายุรเวทศิริราชตำรับห้าราก (AVS022) กับลักษณะการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดเป็นรายบุคคล- โครงการ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสารจากสมุนไพร (metabolites) ที่ตรวจพบในเลือดของอาสาสมัครสุขภาพดีหลังกินยาจากสมุนไพรอายุรเวทศิริราชตำรับห้าราก (AVS022) กับลักษณะการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดเป็นรายบุคคล: โครงการ การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การพัฒนาสารสกัดฝักส้มป่อยเป็นสารเสริมประสิทธิภาพน้ำส้มควันไม้ในการควบคุมศัตรูพืช ฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรบางชนิดในการยับยั้งโรคพืชที่เกิดจากเชื้อ Xanthomonas campestris การใช้น้ำส้มควันไม้ และน้ำส้มควันไม้กลั่นจากไม้มะขามในการผลิตเห็ด 2554A17003039 การเกิดแมลงศัตรูพืชในแปลงพืชผัก 2 ชนิดที่ใช้น้ำส้มควันไม้ในการควบคุมแมลงศัตรูพืช ผลของน้ำส้มควันไม้ต่อประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคของข้าว ผลของน้ำส้มควันไม้ต่อประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคของข้าว

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก