สืบค้นงานวิจัย
อิทธิพลของระยะเวลาปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่ระยะปักดำแตกต่างกันต่อการทำลายของแมลงบั่ว
จินตนา ทยาธรรม - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: อิทธิพลของระยะเวลาปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่ระยะปักดำแตกต่างกันต่อการทำลายของแมลงบั่ว
ชื่อเรื่อง (EN): [Effects of Khao Dawk Mali 105 rice planting time in different spacing on infestation of rice gall midge) Orseolia oryzae (Wood-Mason)]
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จินตนา ทยาธรรม
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Jintana Tayatam
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: แมลงบั่วเป็นแมลงศัตรูข้าวที่มีความสำคัญต่อการทำนาน้ำฝนในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 กันอย่างกว้างขวาง การระบาดรุนแรงในบางปีที่มีภูมิอากาศเหมาะสม ทำให้เกิดการสูญเสียผลผลิตอย่างมากมายอยู่เสมอ เนื่องจากข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นพันธุ์ที่ไม่ต้านทาน การป้องกันกำจัดโดยวิธีเขตกรรมน่าจะเป็นแนงทางที่ควรศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหา ดังกล่าว ในขณะที่ปัจจุบันไม่มีพันธุ์ข้าวที่ต้านทานต่อแมลงบั่วที่เป็นที่นิยมของซาวนาเหมือนขาวดอกมะลิ 105 และยังมีข้อจำกัตในการใช้สารฆ่าแมลง เพราะสารฆ่าแมลงที่ใช้ได้ผลดีเป็นสารชนิดเม็ดที่ต้องใช้ในอัตราที่สูงถึง 5 กิโลกรัมต่อไร่ และมีราคาแพง จึงมีความเสี่ยงต่อสิ่งที่มีชีวิตในระบบนิเวศน์การเกษตร จึงไห้ศึกษาหาช่วงเวลาการปลูก และระยะปักดำที่เหมาะสม ที่มีการทำลายของแมลงบั่วน้อย และได้ผลผลิตดีเพื่อเป็นข้อแนะนำในแหล่งที่มีการระบาดประจำ ได้ทำการทดลองที่สถานีทดลองข้าวหนองคาย ระหว่างปี พ.ศ. 2542 ถึง 2545 รวม 4 ฤดูปลูก วางแผนการทดลองแบบ split plot จำนวน 4 ซ้ำ ขนาดแปลงย่อยละ 5x5 เมตร ปักดำด้วยกล้าอายุ 30 วัน กอละ 1 ต้น โดยมีระยะเวลาปักดำ ที่ต่างกัน 6 ครั้ง เป็นปัจจัยหลักดังนี้ 15 มิถุนายน, 30 มิถุนายน, 15 กรกฎาคม, 30 กรกฏาคม, 15 สิงหาคม และ 30 สิงหาคม แต่ละครั้งที่ปักดำ ใช้ระยะปักดำที่ต่างกัน 4 ระยะ เป็นปัจจัยรอง คือ 10x15, 15x15. 20x20 และ 25x25 ซม. ตรวจนับการทำลายของแมลงบั่วตั้งแต่ระยะกล้าก่อนนำไปบักดำ โดยสุมต้นข้าว 200 ต้น ผ่าตรวจนับหนอนในตายอดของต้นกล้า หลังปักดำตรวจนับจำนวนหลอดบั่วที่เกิดขึ้นทุก 15 วัน จนถึงระยะข้าวตั้งท้องบันทึกข้อมูลการทำลายของตัวเบียน ความสูง การแตกกอ วันออกดอกและวันเก็บเกี่ยว ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา เก็บเกี่ยวผลผลิตจากเนื้อที่ 3x3 เมตร ผลการทดลอง ดังแสดงในตารางที่ 1 และที่ 2 มีดังนี้ ปี 2542 ตรวจพบหลอดบั่วมากที่สุด 13.14 เปอร์เซ็นต์ ในข้าวที่ปักดำครั้งที่ 1 ที่ระยะปักดำ 10x15 ชม โดยพบค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์หลอดบั่วในการปักคำครั้งที่ 1, 2, 3 เพียง 7.89, 2.91, 0.99 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการปักดำครั้งที่ 4 ถึง 6 มีการทำลายต่ำไมถึง 1 เปอร์เซ็นต์ และ พบว่า ระยะปักดำ 10x15, 15x15, 20x20 และ 25x25 ซม. ของการปักดำครั้งที่ 1 มีหลอดบั่ว 13.14, 9.99, 5.02 และ 3.40 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และ 8.13, 2.31 , 0.97 และ 0.24 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับของการปักดำครั้งที่ 2 แต่ค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์หลอดบั่ว จากการปักดำทั้ง 6 ครั้ง พบว่า ที่ระยะปลูก 10x15, 15x15, 20x20 และ 25x25 มีหลอดบั่ว 3.93, 2.33 , 1.13 และ 0.7 เปอร์เซ็นต์ ค่าเฉลี่ยผลผลิตในการปักดำทั้ง 6 ครั้ง มีความแตกต่างกัน แต่การปักดำครั้งที่ 1-3 ที่มีการทำลายของแมลงบั่วได้ผลผลิตไม่แตกต่างกัน การปักดำครั้งที่ 2 ให้ผลผลิตสูงสุดคือ 553.42 กิโลกรัมต่อไร่ การปักดำครั้งที่ 6 ให้ผลผลิตต่ำที่สุด คือ 381.70 กิโลกรัมต่อไร่ และที่ระยะปักดำ 10x15 ให้ผลผลิตมากที่สุดคือ 520.12 กิโลกรัมต่อไร่ ปี 2543 ตรวจพบหลอดบั่วมากที่สุด 29.36 เปอร์เซ็นต์ ในข้าวที่ปักดำครั้งที่ 1 ที่ระยะปลูก 10x15 ชม. โดยพบค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์หลอดบั่วในการปักดำครั้งที่ 1, 2, 3 และ 4 แตกต่างกัน คือ 17.59. 9.04, 4.75 และ 1.41 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แต่ไม่พบการทำลายของแมลงบั่วในการปักดำครั้งที่ 5 และ 6 ส่วนระยะปักดำที่ 10x15, 15x15, 20x20 และ 25x25 ซม. มีค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์หลอดบั่ว 13.53, 9.73, 5.14 และ 4.40 เปอร์เซ็นต์ตามลำตับ และค่าเฉลี่ยของผลผลิตของการปักดำครั้งที่ 1-5 ไม่มีความแตกต่างกัน แต่แตกต่างจากครั้งที่ 6 ซึ่งผลผลิตต่ำที่สุด คือ 258.49 กิโลกรัมต่อไร่ การปักดำครั้งที่ 3 ให้ผลผลิตมากที่สุดคือ 427.73 กิโลกรัมต่อไร่ และที่ระยะปักดำ 10x15 ชม.ให้ผลผลิตมากที่สุดคือ 386.13 กิโลกรัมต่อไร่ ปี 2544 ตรวจพบหลอดบั่วมากที่สุด 18.12 เปอร์เซ็นต์ ในข้าวที่ปักดำครั้งที่ 2 ที่ระยะปลูก 10x15 ซม. ค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์หลอดบั่วในการปักดำครั้งที่ 2 มากที่สุด คือ 15.78 เปอร์เซ็นต์ แตกต่างจากการปักดำครั้งที่ 1 และ 3 ที่มีหลอดบั่ว 10.16 และ 7.80 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ การทำลายของแมลงบั่วในการปักดำครั้งที่ 4, 5 และ 6 พบน้อยมาก ระยะปักดำที่ 10x15, 15x15, 20x20 และ 25x25 มีหลอดบั่วแตกต่างกัน คือ 8.11, 7.62, 6.85 และ 5.70 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และค่าเฉลี่ยของผลผลิตไม่มีความแตกต่างกัน แต่การปักดำครั้งที่ 3 ให้ผลผลิตมากที่สุด 388.35 กิโลกรัมต่อไร่ และการปักครั้งที่ 6 ผลผลิตน้อยที่สุด 244.78 กิโลกรัมต่อไร่ และที่ระยะบักดำ 15x15 ชม. ให้ผลผลิตมากที่สุด คือ 347.55 กิโลกรัมต่อไร่ ปี 2545 ตรวจพบหลอดบั่วมากที่สุด 22.28 เปอร์เซ็นต์ ในการปักดำครั้งที่ 2 ที่ระยะปักดำ10x15 ซม. โดยพบค่าเฉลี่ยหลอดบัวในการปักดำครั้งที่ 1, 2, 3, และ 4 เป็น 13.00, 16.26, 7.85 และ 1.52 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนการปักดำครั้งที่ 5 และ 6 พบหลอดบั่วน้อยไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ ส่วนระยะปักดำที่พบหลอดบั่วมากที่สุดในการปักดำครั้งที่ 1, 2 และ 3 คือ ระยะ 10x15 ชม. และ 15x15 ชม. ค่าเฉลี่ยผลผลิตของการปักดำครั้งที่ 1, 2. 3 ไม่แตกต่างกันคือ 447.92, 419.74 และ 383.34 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ผลผลิตมากที่สุดที่การปักดำครั้งที่ 1 ส่วนการปักดำครั้งที่ 6 ให้ผลผลิตต่ำที่สุด ผลผลิตเฉลี่ยที่ระยะปักดำ 10x15 , 15x15 และ 20x20 ชม. ไม่มีความแตกต่างกัน แต่ที่ระยะ 15x15 ซม. ให้ผลผลิตมากที่สุด คือ 380.67 กิโลกรัมต่อไร่ ผลการทดลองทั้ง 4 ฤดูปลูก แสดงให้เห็นว่าการปักดำเร็ว (มิถุนายน) มีการทำลายของแมลงบั่วมากกว่าการปักดำปกติ (กรกฎาคม) แต่ให้ผลผลิตได้ดีกว่า ส่วนการปักดำช้า (สิงหาคม) ไม่มีการทำลายของแมลงบั่ว แต่ให้ผลผลิตต่ำในทุกฤดูปลูก ระยะปักดำถี่ 10x15 และ 15x15 ชม. พบการทำลายมาก แต่ให้ผลผลิตดีกว่าระยะปักดำห่าง โดยเฉพาะระยะ 25x25 ชม. ให้ผลผลิตต่ำกว่าทุกระยะปักดำ ดังนั้น การปลูกข้าวในแหล่งที่มีการระบาดของแมลงบั่วประจำ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะเวลาที่เหมาะสม คือ การตกกล้า เดือน มิถุนายน ปักดำในเดือนกรกฎาคม ด้วยระยะปักดำ 15x15 ชม. หรือ 20X20 ชม. ควรหลีกเลี่ยงการปักดำในเดือนมิถุนายน หากไม่สามารกปฏิบัติได้ก็ควรปักดำด้วยระยะปักคำห่าง 20x20 ซม. หรือ 25x25 ซม. และถ้ามีความจำเป็นต้องปลูกช้า ก็ไม่ควรเกิน 15 สิงหาคม และ ควรปักดำระยะถี่ 10x15 ซม. เพราะมีระยะเวลาการแตกกอสั้นและไม่มีปัญหาการทำลายของแมลงบั่ว
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2542
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2545
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/doa/search_detail/result/156116
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: 2 tables
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
อิทธิพลของระยะเวลาปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่ระยะปักดำแตกต่างกันต่อการทำลายของแมลงบั่ว
กรมการข้าว
2545
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร ผลของพาโคลบิวทราโซลต่อคุณภาพของข้าวดอกมะลิ 105 และผลตกค้างของสารในข้าว การรวบรวมข้อมูลข้าวขาวดอกมะลิ 105 พันธุ์กลายเพื่อการขอรับรองพันธุ์ ผลของระยะปักดำต่อผลผลิตและการเป็นโรคจู๋ของข้าว คุณภาพข้าวสุกจากการผสมข้าว กข 23 และ ชัยนาท 1 ในขาวดอกมะลิ 105 ผลของพืชปุ๋ยสดต่อผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 และการแข่งขันของวัชพืชในระบบการหว่านข้าวแห้ง โภชนาการและประโยชน์ต่อสุขภาพของข้าวกล้องงอกนึ่งสายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ผลกระทบและระยะเวลาการเก็บเกี่ยวที่มีผลต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 จากการใช้เครื่องเกี่ยวนวด การแข่งขันระหว่างข้าวกับวัชพืชจากการใส่ปุ๋ยรองพื้นระยะเวลาต่างๆ ในนาหว่านข้าวแห้ง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก