สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาการเพาะเห็ดฟาง โดยใช้ก้อนเชื้อเห็ดที่ทิ้งแล้ว
สมชาย ไทยทัตกุล - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาการเพาะเห็ดฟาง โดยใช้ก้อนเชื้อเห็ดที่ทิ้งแล้ว
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมชาย ไทยทัตกุล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: ในการศึกษาวิจัยเรื่อง การเพาะเห็ดฟางโดยใช้ก้อนเชื้อเห็ดที่ทิ้งแล้วมีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลผลิตเห็ดฟางที่ได้จากการเพาะด้วยก้อนเชื้อเห็ดที่เก็บผลผลิตแล้ว ได้แก่ เห็ดนางรม เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดหูหนู เห็ดทั้ง 3 ชนิดผสมกัน และเปรียบเทียบผลตอบแทนที่ใช้ในการลงทุนเพาะเห็ดฟาง ตลอดจนถึงการหารูปแบบที่เหมาะสมในการผลิตเห็ดฟางจากก้อนเชื้อที่ทิ้งแล้วไปใช้ในการส่งเสริมการผลิตเห็ด โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB (RANDOMIZED COMPLETE BLOCK DESIGN) โดยแบ่งการทดลองเป็น 4 แบบ (treatment) แต่ละแบบทำการทดลอง 4 ซ้ำ (replicaton) ทำการเพาะเห็ดฟางในกระบะที่เตรียมไว้ ขนาดพื้นที่ 0.5 ตารางเมตร รวม 16 กระบะ โดยใช้เวลาทดลองตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม - 15 เมษายน 2540 จากการทดลองพบว่า ผลผลิตเฉลี่ยการเพาะเห็ดฟาง โดยใช้ก้อนเชื้อเห็ดนางรมที่ทิ้งแล้วให้ผลผลิตสูงสุดเฉลี่ย 1,464.8 กรัม รองลงมา คือ ก้อนเชื้อเห็ดเป๋าฮื้อ ก้อนเชื้อทั้ง 3 ชนิด ผสมกัน และก้อนเชื้อเห็ดหูหนู เฉลี่ย 1,226 กรัม 1,156 กรัม และ 611.3 กรัม ตามลำดับ โดยผลผลิตมีความแตกต่างกนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผลผลิตที่แต่งทำความสะอาดแล้วก็เป็นไปในแนวทางเดียวกัน โดยก้อนเชื้อเห็ดนางรมที่ทิ้งแล้วให้ผลผลิตสูงสุด เฉลี่ย 1,126.8 กรัม รองลงมา คือ ก้อนเชื้อเห็ดเป๋าฮื้อ ก้อนเชื้อเห็ดทั้ง 3 ชนิดผสมกํน และก้อนเชื้อเห็ดหูหนู เฉลี่ย 897.3 กรัม 807 กรัม และ 429.8 กรัม ตามลำดับ ซึ่งผลผลิตมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับ 0.01 สำหรับการเปรียบเทียบผลตอบแทนต่อการลงทุนในการเพาะเห็ดฟางจากก้อนเชื้อเห็ดนางรมที่ทิ้งแล้วมีค่า 3.42 รองลงมาคือ ก้อนเชื้อเห็ดเป๋าฮื้อ ก้อนเชื้อเห็ดทั้ง 3 ชนิดผสมกัน และก้อนเชื้อเห็ดหูหนู มีค่า 2.90, 2.73 และ 1.45 ตามลำดับ สูงกว่า 1 แสดงว่าคุ้มค่าการลงทุน ส่วนผลตอบแทนต่อการลงทุนเมื่อแต่งทำความสะอาดแล้ว เพื่อส่งในตลาดระดับสูงขึ้นไป เช่น ซุปเปอร์มาเก็ต เป็นไปในทางเดียวกัน คือ มีค่า 4.94, 4.07, 3.72 และ 1.99 ตามลำดับ สูงกว่าผลตอบแทนเห็ดฟางที่ยังไม่ได้แต่งทำความสะอาด นอกจากนั้นยังได้นำผลการทดลองไปเปรียบเทียบกับการเพาะเห็ดฟางด้วยฟางข้าวของเกษตรกร และวิธีการแนะนำเกษตรกรให้เพาะโดยใช้ก้อนเชื้อเห็ดที่ทิ้งแล้ว พบว่า ผลตอบแทนต่อการลงทุนก่อนแต่งทำความสะอาดมีค่าเท่ากับ 3.46 และ 3.38 ตามลำดับ มีค่าใกล้เคียงกับการเพาะเห็ดฟางโดยใช้ก้อนเชื้อเห็ดนางรม คือ 3.42 และเมื่อแต่งทำความสะอาดแล้ว มีค่า 4.83 และ 4.71 ตามลำดับ มีค่าใกล้เคียงกับการเพาะเห็ดฟาง โดยใช้ก้อนเชื้อเห็ดนางรม คือ 4.94 นอกจากนั้นยังได้มีการสัมภาษณ์เกษตรกรที่แนะนำให้เพาะเห็ดฟาง โดยใช้ก้อนเชื้อเห็ดที่ทิ้งแล้วพบว่า เกษตรกรเห็นด้วยกับการเพาะด้วยวิธีนี้ ทั้งในด้านผลตอบแทน ต้นทุนการผลิต วิธีการเพาะ ผลผลิต การดูแลรักษา และการจัดหาวัสดุเพาะ ด้วยระดับคะแนนเฉลี่ย 3.87, 3.80, 3.73, 3.67, 3.61 และ 3.54 ตามลำดับ ในส่วนของรูปแบบที่เหมาะสมในการส่งเสริมการเพาะเห็ดฟาง จากก้อนเชื้อเห็ดที่ทิ้งแล้วนั้นคือ ผู้เพาะเห็ดฟาง สามารถนำก้อนเชื้อเห็ดที่ทิ้งแล้วมาผสมรวมกันเพื่อเพาะเห็ดฟางได้โดยไม่ต้องเสียเวลาคัดแยกชนิดเห็ด ซึ่งทำให้ผลตอบแทนที่ได้สูงขึ้น เมื่อสรุปผลจากการทดลองแล้ว จะเห็นว่า การนำก้อนเชื้อเห็ดที่เก็บผลผลิตแล้วมาเพาะเห็ดฟาง จะให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า เนื่องจากก้อนเชื้อเห็ดเหล่านี้มีธาตุอาหารเหลืออยู่พอที่จะให้เชื้อเห็ดฟางเจริญได้ไม่ต้องใช้อาหารเสริม พร้อมกันนี้ยังสามารถลดปัญหาขยะจากก้อนเชื้อเห็ดที่ทิ้งแล้วที่มีปริมาณถึง 150 ล้านตัน/ปี ไม่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษในสิ่งแวดล้อม แมลงศัตรูเห็ดระบาดในฟาร์มเพาะเห็ดถุง ทั้งยังแก้ไขปัญหาขาดแคลนวัสดุเพาะเห็ดฟางไปได้ระยะหนึ่ง และเมื่อเพาะเห็ดฟางแล้ว ก็ไม่ต้องเคลื่อนย้ายกองเพาะ เนื่องจากสามารถนำไปเป็นปุ๋ยอินทรีย์กลับคืนสู่ธรรมชาติเป็นการบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ก่อนปลูกพืช ทำให้ได้ผลผลิตพืชนั้น ๆ สูงขึ้นอีกด้วย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2540
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2543
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาการเพาะเห็ดฟาง โดยใช้ก้อนเชื้อเห็ดที่ทิ้งแล้ว
กรมส่งเสริมการเกษตร
2543
การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเห็ดบดเพื่อการบริโภคในประเทศและส่งออก นวัตกรรมสำหรับกลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเห็ด: การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า การใช้น้ำส้มควันไม้กับการเพาะเห็ดโคนน้อย เห็ดฟาง ในกระถางที่มีส่วนผสมของผักตบชวาสำหรับระยะการเจริญเป็นดอกเห็ด การสะสมโลหะหนักในเห็ดฟางจากวัสดุเพาะที่แตกต่างกัน โครงการวิจัยการศึกษาเครื่องมือเพื่อผลิตเครื่องอัดก้อนเห็ดวัสดุเพาะเห็ดจากเปลือกฝักข้าวโพดแบบก้อนยาว ศึกษาการปรับปรุงพันธุ์เห็ดและพัฒนาเทคนิคการเพาะเลี้ยงเห็ดเพื่อลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตและอาหารปลอดภัย การเปรียบเทียบการเพาะเห็ดนางฟ้าด้วยฟางข้าวแห้งและก้อนเชื้อเห็ดเก่า ผลของการใช้กากสลัดจ์ปาล์มน้ำมันเป็นอาหารเสริมสำหรับการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก การใช้กากสลัดจ์ปาล์มน้ำมันเป็นอาหารเสริมสำหรับเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน การผลิตเห็ดฟางแบบโรงเรือนในจังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก