สืบค้นงานวิจัย
การตลาดและพฤติกรรมการซื้อส้มพันธุ์สายน้ำผึ้งของผู้บริโภคและผู้ค้าส่งในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
กรรณิกา แซ่ลิ่ว - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การตลาดและพฤติกรรมการซื้อส้มพันธุ์สายน้ำผึ้งของผู้บริโภคและผู้ค้าส่งในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง (EN): Marketing and Purchasing Behavior of Consumers and Wholesalers for ‘Sai Nam Pueng’ Mandarin in Fang District, Chiang Mai Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กรรณิกา แซ่ลิ่ว
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Kannika Saeliw
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่:
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการตลาดและพฤติกรรมการซื้อส้มพันธุ์สายน้ำผึ้งของผู้บริโภคและผู้ค้าส่งในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่โดยใช้ข้อมูลการสัมภาษณ์ผู้บริโภคจำนวน 384 ราย และ สัมภาษณ์ผู้ค้าส่งจำนวน 20 ราย และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่าผลผลิตของส้มพันธุ์สายน้ำผึ้งส่วนมากจะออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมากในช่วงเดือนพฤศจิกายน–เดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเกษตรกรจะขายส้มผ่านพ่อค้าส่งและจำหน่ายเอง ในด้านของพฤติกรรมการบริโภคนั้น กลุ่มผู้บริโภคส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง และมีภูมิลำเนาเป็นคนในพื้นที่ มีความถี่ในการซื้อโดยเฉลี่ย 1-2 ครั้งต่อเดือน โดยมากเป็นการซื้อ ครั้งละ 1-2 กิโลกรัมต่อครั้ง ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะซื้อส้มเพื่อบริโภคที่ตลาดสด และจะซื้อส้มเพื่อเป็นของฝากที่แผงขายผลไม้ ในส่วนของพฤติกรรมการซื้อส้มพันธุ์สายน้ำผึ้งของผู้ค้าส่งโดยมากจะทำการรับซื้อจากเกษตรกร รายเดิมของตนเองก่อนรวมถึงมีการเข้าไปติดต่อกับเกษตรกรรายใหม่ถึงแหล่งเพาะปลูกเองซึ่งมีปริมาณการซื้อช่วงในฤดูกาลโดยเฉลี่ย 12,000–25,000 กิโลกรัมต่อวันส่วนช่วงนอกฤดูกาลจะซื้อเฉลี่ย 4,000–15,000 กิโลกรัม ต่อวันโดยมีการกำหนดราคาซื้อขายมาจากตลาดปลายทาง และชำระค่าสินค้าโดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร ให้กับเกษตรกรซึ่งระยะเวลาการจ่ายเงินมีตั้งแต่การจ่ายชำระทันทีไปจนถึงเครดิตประมาณ 7 วัน
บทคัดย่อ (EN): This study aimed to study ‘Sai Nam Pueng’ Mandarin purchasing behaviors of consumers and wholesalers in Fang district, Chiang Mai province. Questionnaires were used to collect data from 384 consumers and 20 wholesalers. Using descriptive statistics, results show that most of Sai Nam Pueng’ Mandarin is sold in the market during November to February and farmers supply their orange to two channels, which are wholesalers and direct market. Regarding to purchasing behavior, most consumers are female, living in the local area, and the average purchase frequency is 1-2 times per month with 1- 2 kg. Most consumers buy orange from fresh market for consumption and buy orange from roadside stands for gifts. Most wholesalers buy oranges from their old farmers, but also contact with new farmers. The average purchase volume in season is 12,000 - 25,000 kilograms a day; on the other hand, the average purchase volume during off-season is 4,000 - 15,000 kilograms a day.The wholesale price is determined by the destination market, and wholesalers often pay in cash or by bank transfer to farmers immediately or within 7 days.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2562
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=55_Eco072.pdf&id=3527&keeptrack=3
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: อ.ฝาง จ.เชียงใหม่
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การตลาดและพฤติกรรมการซื้อส้มพันธุ์สายน้ำผึ้งของผู้บริโภคและผู้ค้าส่งในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2562
เอกสารแนบ 1
การศึกษาพฤติกรรมการเลือกที่อยู่อาศัยของหมึกสายขาว (Octopus aegina Gray, 1849) ในห้องปฏิบัติการ ปัจจัยการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อน้ำผลไม้สำเร็จรูปของผู้บริโภค การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคและพัฒนาแผนการตลาดของผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพร ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลผลิตเกษตรอินทรีย์และปลอดสารพิษในตลาดเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ ผลของสารเคลือบผิวต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของส้มพันธุ์สายน้ำผึ้ง การศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าอาหารของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร การแสดงออกของพันธุ์และสายพันธุ์ถั่วฝักยาวในการปลูกแบบอินทรีย์และแบบใช้สารเคมี พฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์: กรณีศึกษาผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สภาวะธาตุอาหารพืชในใบของส้มพันธุ์สายน้ำผึ้งในสวนของเกษตรกรที่มีศักยภาพการให้ผลผลิตต่างกันพื้นที่ลุ่มน้ำย่อยแม่สูน จังหวัดเชียงใหม่ ผลของการห่อผลและการเคลือบผิวต่อสีผิวและคุณภาพผลของส้มพันธุ์สายน้ำผึ้ง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก