สืบค้นงานวิจัย
อิทธิพลของ Paclobutrazol และสภาพแวดล้อม ต่อการออกดอก ติดผล และคุณภาพของทุเรียน
สุขวัฒน์ จันทรปรรณิก - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: อิทธิพลของ Paclobutrazol และสภาพแวดล้อม ต่อการออกดอก ติดผล และคุณภาพของทุเรียน
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of Paclobutrazol and Environmental Factors on Early Flowering, fruit Setting and Quality of Durian
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุขวัฒน์ จันทรปรรณิก
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Sookwat chandraparnik
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ได้ทำการศึกษาอิทธิพลของสภาพแวดล้อมและอัตราความเข้มข้นของสารพาโคลบิวทราโซลที่มีผลต่อการออกดอก ติดผล และคุณภาพของทุเรียนพันธุ์ชะนีโดยใช้สารพาโคลบิวทราโซล ฉีดพ่นต้นทุเรียนที่มีความสมบูรณ์มาก และต้นที่มีความสมบูรณ์น้อยที่สวนเกษตรกร อ. แหลมสิงห์ อ. ขลุง อ. มะขาม และ อ. ท่าใหม่ จ. จันทบุรี ในระหว่างเดือนสิงหาคม 2530 (ฤดูการผลิต 2530/31) พบว่าการฉีดพ่นสารพาโคลบิวทราโซล ทุกอัตราขณะที่ต้นทุกเรียนมีใบเพสลาดมากสามารถทำให้ต้นทุเรียนออกดอกเร็วขึ้น 30-40 วัน ตามอัตราความเข้มข้น (r = 0.319*) และปริมาณดอกทุเรียนเพิ่มขึ้น 29-64% เมื่อเทียบกับต้นที่ไม่ได้ฉีดพ่นสาร ต้นทุเรียนจะเริ่มออกดอกในขณะที่มีค่า leaf water potential ประมาณ 8 KPa อุณหภูมิเฉลี่ย 20-25 C ความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 50-70% ติดต่อกันประมาณ 5 วันก่อนออกดอก ชนิดหรืออัตราความเข้มข้นของสารพาโคลบิวทราโซล ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อการติดผลและคุณภาพของทุเรียน การใช้สารโคลบิวทราโซลมีผลทำให้อัตราการพัฒนาการของดอกและผลช้ากว่าต้นที่ไม่ได้ฉีดพ่นสาร ในฤดูกาลผลิต 2531/32 ได้ทำการทดลองซ้ำเพื่อยืนยันผลการทดลองในปี 2530/31 โดยการเลือกใช้ปัจจัยการทดลองให้เหมาะสมยิ่งขึ้นตามผลการทดลองที่ได้ในปี 2530/31 พบว่าการฉีดพ่นสารพาโคลบิวทราโซล ครั้งเดียว หรือแบ่งฉีดพ่น 2 ครั้ง ทุกอัตราความเข้มข้นสามารถทำให้ 80% ของต้นทุเรียนที่ได้รับการฉีดพ่นสารออกดอกเร็วขึ้น 14 - 45 วัน ทั้งนี้ขึ้นกับรูปแบบการกระจายของฝน ต้นทุเรียนที่ใช้สารพาโคลบิวทราโซลในอัตราและเวลาที่เหมาะเหมาะสมสำหรับต้นทุเรียนที่มีขนาดพอดีสามารถทำให้ต้นทุเรียนออกดอกได้เร็วขึ้น เมื่อมีช่วงฝนแล้งที่เหมาะสม
บทคัดย่อ (EN): Experiment on paclobutrazol (Cultar) to induce early flowering was conducted in 12-years-old durian cv. chanee (Durio zibethinus Murr.) After harvest, selected trees were pruned, followed by management to stimulate leaf flushing. Paclobutrazol, at the rates of 0, 750, 1000 and 1500 ppm, were sprayed to durian trees when the new flushing leaves developed to the stage of fully expanded. flowering in treatd trees occurred 14 to 45 days earlier than that of the untreated trees Flowering response to paclobutrazol, was more readily in higher rates. In general, as climatic conditions prevailed, a prerequisite of 10 to 14 days of continuous dry period was required for untreated trees to induce flowering. In contrast, an interuption of 3 to 7 days of continuous dry period after chemical treatment was sufficient to promote flowering in treated trees. When compared with the untreated or control trees, the number of flowers per tree in trees treated with paclobutrazol was increased by 29 to 64%. It had been also observed that fruit set and fruit development were not influenced by paclobutrazol application, however, the rates of flower and fruit development were delayed. Results of the experimont indicated that a successful induction of flowering by using paclobutrazol involved the degree of vegetative growth suppression, concentration and time of chemical application and an interrupt of continuous dry period.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2536
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2536
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
อิทธิพลของ Paclobutrazol และสภาพแวดล้อม ต่อการออกดอก ติดผล และคุณภาพของทุเรียน
กรมวิชาการเกษตร
2536
เอกสารแนบ 1
ความผันแปรใน Phytophthora palmivora (Butl.) Butl. ทุเรียน : ลักษณะรูปร่างและแบบคู่ผสม โครงการวิจัยเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพ เค้กทุเรียน ประโยชน์ของทุเรียน “ทุเรียนไร้หนาม” ฝันที่เป็นจริงของทุเรียนเลิฟเวอร์ ยกระดับกระบวนการผลิต สู่ระบบการตลาดทุเรียนคุณภาพ (Premium) พื้นที่ จังหวัดศรีสะเกษ ผลของแป้งจากเศษเหลือทิ้งของทุเรียนต่อคุณภาพของพาสต้าปราศจากกลูเตน โซเดียมในทุเรียนทอด ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชต่อการออกดอกนอกฤดู และคุณภาพผลของส้มพันธุ์สายน้ำผึ้ง การใช้ประโยชน์ทุเรียนดิบบดแห้งที่ทำจากทุเรียนดิบพันธุ์หมอนทอง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก