สืบค้นงานวิจัย
ความคิดเห็นของเจ้าของสวนยางสงเคราะห์ที่มีต่อหลักการปฏิบัติการปลูกแทนด้วยยางพันธุ์ดีของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางในจังหวัดระยอง
บดี นพวงศ์ ณ อยุธยา - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความคิดเห็นของเจ้าของสวนยางสงเคราะห์ที่มีต่อหลักการปฏิบัติการปลูกแทนด้วยยางพันธุ์ดีของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางในจังหวัดระยอง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: บดี นพวงศ์ ณ อยุธยา
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการของเจ้าของสวนยางสงเคราะห์ ความรู้เกี่ยวกับหลักการปฏิบัติการปลูกแทนด้วยยางพันธุ์ดี และความคิดเห็นที่มีต่อการปฏิบัติการปลูกแทนด้วยยางพันธุ์ดี รวมทั้งปัญหาและข้อเสนอแนะ กลุ่มตัวอย่างที่ทำการวิจัยคือเจ้าของสวนยางสงเคราะห์ที่ปลูกแทนยางแบบ 2จำนวน 120 คน จากจำนวนทั้งสิ้น 1,213 คน ในจังหวัดระยอง ได้ทำการเก็บข้อโดยการสัมภาษณ์ และทำการวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต และค่าไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า เจ้าของสวนยางสงเคราะห์ส่วนมากเป็นชาย จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 มีอาชีพหลักคือการทำสวนยาง อายุเฉลี่ย 54.33 ปี จำนวนสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ยครอบครัวละ 6 คน แต่ช่วยในการทำสวนยางเพียงครอบครัวละ 3 คน มีพื้นที่ทำสวนยางเฉลี่ยครอบครัวละ 20.70 ไร่ ไม่มีเจ้าของสวนยางสงเคราะห์จ้างแรงงานถาวรเลย มีส่วนน้อยที่มีการจ้างแรงงานชั่วคราว จากการทดสอบความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการปลูกยาง ปรากฏว่าเจ้าของสวนยางสงเคราะห์ส่วนมากมีความรู้ดี (ร้อยละ 81.67) และพอใจมากในหลักการปฏิบัติการปลูกแทนด้วยยางพันธุ์ดีทั้ง 7 งวด และได้พบว่าเจ้าของสวนยางสงเคราะห์ที่มีพื้นที่สวนยางมากมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการปลูกแทนด้วยยางพันธุ์ดีของสำนักงานกองทุนสงเคราะหืการทำสวนยาง มากกว่าเจ้าของสวนยางสงเคราะห์ที่มีพื้นที่สวนยางน้อย เจ้าของสวนยางสงเคราะห์ส่วนมากไม่มีปัญหา ที่มีปัญหาส่วนน้อยนั้นเกี่ยวกับการใช้สารเคมีปราบวัชพืช โรคและศัตรูยาง และการใส่ปุ๋ยต้นยาง ข้อเสนอแนะของผู้วิจัย เห็นควรให้มีการศึกษาอัตราสารเคมีที่ใช้ปราบวัชพืชและวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสม รวมทั้งอัตราปุ๋ยที่ใส่ในแต่ละพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินแตกต่างกัน และควรมีการเน้นหนักการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่เจ้าของสวนยางสงเคราะห์ที่มีพื้นที่น้อย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2529
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2530
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความคิดเห็นของเจ้าของสวนยางสงเคราะห์ที่มีต่อหลักการปฏิบัติการปลูกแทนด้วยยางพันธุ์ดีของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางในจังหวัดระยอง
กรมส่งเสริมการเกษตร
2530
ความคิดเห็นของพนักงานสงเคราะห์สวนยางต่อการใช้วิธีการสอนงานในสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางในภาคใต้ ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานสงเคราะห์สวนยางในสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดพัทลุง และจังหวัดสงขลา ประเมินผลการดำเนินงานสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง การใช้ประโยชน์ข่าวสารการเกษตรจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางของชาวสวนยางพาราในจังหวัดลำปาง ศึกษาสภาพสวนยางที่พ้นการสงเคราะห์ปลูกแทน สภาพการใช้เทคโนโลยีในการปลูกยางพาราของเกษตรกรเจ้าของสวนสงเคราะห์ในจังหวัดระยอง ศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตของสวนยางสงเคราะห์ปลูกแทน ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการส่งเสริมการปลูกยางพาราในจังหวัดระยอง การแสดงออกของพันธุ์และสายพันธุ์ถั่วฝักยาวในการปลูกแบบอินทรีย์และแบบใช้สารเคมี ผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีการผลิตยางพารา ต่อรายได้ของเกษตรกรชาวสวนยาง ปีการผลิต 2549 : กรณีศึกษาจังหวัดระยอง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก