สืบค้นงานวิจัย
การทดสอบและคัดเลือกพันธุ์กระถินเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์
ฉายแสง ไผ่แก้ว - กรมปศุสัตว์
ชื่อเรื่อง: การทดสอบและคัดเลือกพันธุ์กระถินเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์
ชื่อเรื่อง (EN): Species Evaluation of Leucaena spp. as Animal Feed
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ฉายแสง ไผ่แก้ว
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Chaisang Phaikaew
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดสอบและคัดเลือกพันธุ์กระถิน (Leucaena spp.) เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ จากกระถิน 17 สายพันธุ์ คือ 1) L. /eucocephala cv. Cunningham 2) L. collinsi subsp. Zacapana 56/88 3) L. collinsi 52/88 4) L. diversifolia subsp. Diversif 83/92 5) L. diversifolia subsp. Stenocarpa 53/88 6) L. esculenta subsp. Esculenta 47/87 7) L. esculenta subsp. Paniculata 52/878) L. lanceolata 43/85 9) L. lempirana 6/91 10) L. leucocephala subsp. Glabrata 34/92 11) L.macrophylla subsp. Nelsoni 47/85 12) L. multicapitulata 81/87 13) L.pulerulenta 83/87 14) L. salvadorensis 17/86 15) L. shanoni subsp. Magnifica 19/84 16) L. trichodes 61/88 และ17) L. pallida CQ 3439 โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized complete block มี 3 ซ้ำ ดำเนินการทดลองเป็นเวลา 3 ปี (2540-2543) ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครราชสีมา . ปากช่อง จ. นครราชสีมา ผลการทดลองพบว่ากระถินสายพันธุ์ L. Ieucocephala subsp. Glabrata 34/92 มีสมรรถภาพการเจริญเติบโตให้ผลผลิตดีกว่าทุกสายพันธุ์ คือ จากการตัดต้นวัดผลผลิตรวม 8 ครั้ง ในระยะเวลา 28 เดือน ให้ผลผลิตส่วนที่กินได้ (Forage edible yield) คือ น้ำหนักแห้งส่วนใบสูงสุด 3,520 กิโลกรัมต่อไร่ และน้ำหนักต้นแห้ง 6,802 กิโลกรัมต่อไร่ ในด้านองค์ประกอบทางเคมีของใบแห้งมีโปรตีน 22.51 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใย NDF 35.93เปอร์เซ็นต์ ค่าการย่อยได้ของวัตถุแห้ง 80.11 เปร์เซ็น ปริมาณลิกนินและแทนนิน 8.5 และ 1.06 เปอร์เซ็นต์ และมิโมซิน (mimosin) 3.35 เปอร์เซ็นต์ กระถินสายพันธุ์ L. salvadorensis 17/86 มีผลผลิตใบแห้งรองลงมา คือ 3,088 กิโลกรัมต่อไร่ ค่โปรตีน 19.81 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใย NDF 42.15 เปอร์เซ็นต์ ส่วนกระดินสายพันธุ์ L. tichodes 61/88 มีค่าโปรตีนส่วนใบแห้งสูงสุด 27.88 เปร์เซ็นต์ แต่ให้ผลผลิตใบแห้งค่อนข้างต่ำ คือ 1,937 กิโลกรัมต่อไร่ มีการระบาดของเพลี้ยไก่ฟ้าเกิดขึ้นเป็นระยะสั้นในช่วงฤดูแล้งระหว่างเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ กระดินสายพันธุ์ L./eucocephala subsp. Gabrata 34/92 แสดงสมรรถนะในการฟื้นตัวเจริญเติบโตหลังถูกทำลายโดยเพลี้ยไก่ฟ้าดีกว่าสายพันธุ์อื่น
บทคัดย่อ (EN): Seventeen accessions of leucaena spp. had been evaluated for forage edible yield as animal feed during August 1997-July 2000 at Nakhon Ratchasima Animal Nutition Research and Development Center. A randomized complete block design was used, with 10 trees line plots established in 3 replications, with 0.50 m between trees within a line and 3 m between lines. Treatments were 17 accessions of Leucaena spp.; namely; 1) L. leucocephala cv. Cunningham 2) L. collinsi subsp. Zacapana 56/88 3) L. collinsii 52/88 4) L. diversifolia subsp. Diversif 83/92 5) L. diversifolia subsp. Stenocarpa 53/88 6) L. esculenta subsp. Esculenta 47187 7) L. esculenta subsp. Paniculata 52/87 8) L. lanceolata 43/859) L. lempirana 619110) L. leucocephala subsp. Glabrata 34/92 11) L. macrophylla subsp. Nelsoni 47/8512) L. multicapitulata 81/87 13) L.pulverulenta 83/87 14) L. salvadorensis 17/86 15) L. shanoni subsp. Magnifica 19/84 16) L. trichodes 61/88 and 17) L. pallida CQ 3439 The results showed that performance of L. leucocephala subsp. Glabrata 34/92 was better than the other sixteen accessions, with the highest forage dry matter edible yield from 8 cuts during 28 months (3,520 kg/rai). Chemical composition of this accession contained 22.51 % protein, 35.93 % NDF, 80.11% DMD, 8.56% lignin, 1.06% tannin and 3.35% mimosine, respectively. The second forage dry matter edible yield was found in accession L. salvadorensis 17/86 (3,088 kg/rai) that contained 19.81%protein, 42.15 %NDF. The highest protein content was found from accession L. tricohodes 61/88 (27.88%) but gave low forage dry matter edible yield (1,937 kg/rai). Leucaena was destroyed by psyllid in a short period during dry season (December-February). L. leucocephala subsp. Glabrata 34/92 had a potential in better recover after destroyed by psyllid than the other accessions.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: สำนักพัฒนาอาหารสัตว์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
เอกสารแนบ: http://nutrition.dld.go.th/Research%20Report53-55/Research_Knowlage/RESEARCH/research_full/2548/R4803.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองอาหารสัตว์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การทดสอบและคัดเลือกพันธุ์กระถินเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์
กองอาหารสัตว์
2548
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กรมปศุสัตว์
ผลผลิตและคุณค่าทางอาหารสัตว์ของกระถิน 10 พันธุ์ ผลผลิตและคุณค่าทางอาหารสัตว์ ของกระถิน 10 พันธุ์ โครงการศึกษาการให้ผลผลิตและคุณค่าทางอาหารสัตว์ของต้นแคกับกระถินพันธฮาวายในดินชุดราชบุรี อาหารสัตว์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนไทย การทดสอบพันธุ์พืชอาหารสัตว์ กระถินสำหรับใช้เป็นพืชอาหารสัตว์ การใช้ผักตบชวาเป็นอาหารสัตว์ ความเป็นไปได้ในการใช้กากมะเขือเทศเป็นอาหารสัตว์5)การใช้เป็นอาหารเป็ดเทศ การทดสอบและคัดเลือกพันธุ์หญ้าและถั่วอาหารสัตว์บริเวณพื้นที่ดินเสื่อมโทรม ตำบลเขาชะงุ้ม จังหวัดราชบุรี การใช้ “ กากมะเขือเทศ ” เป็นอาหารสัตว์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก