สืบค้นงานวิจัย
ผลของการใช้ปุ๋ยชีวภาพขยายเชื้อจุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจน จุลินทรีย์ละลายฟอสฟอรัสและจุลินทรีย์ละลายโพแทสเซียมร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตของยางพาราช่วงก่อนเปิดกรีด
วรรณา สุวรรณวิจิตร - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: ผลของการใช้ปุ๋ยชีวภาพขยายเชื้อจุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจน จุลินทรีย์ละลายฟอสฟอรัสและจุลินทรีย์ละลายโพแทสเซียมร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตของยางพาราช่วงก่อนเปิดกรีด
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of bio-fertilizer and chemical fertilizer on growth of new para rubber .
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วรรณา สุวรรณวิจิตร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): keywords
บทคัดย่อ: ผลของการใช้ปุ๋ยชีวภาพขยายเชื้อจุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจน จุลินทรีย์ละลายฟอสฟอรัส และจุลินทรีย์ละลายโพแทสเซียมร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตของยางพาราช่วงก่อนเปิดกรีด ดำเนินการ ณ บ้านเอ้ ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ระยะเวลาทำการวิจัย ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 ถึงเดือนมกราคม 2558 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยชีวภาพขยายเชื้อจุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจน จุลินทรีย์ละลายฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของเส้นรอบวงลำต้นยางพารา ช่วงก่อนเปิดกรีด ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดิน ภายหลังการใช้ปุ๋ยชีวภาพขยายเชื้อจุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจน จุลินทรีย์ละลายฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม วางแผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block Design จำนวน 3 ซ้ำ ๆ 8 ตำรับ ประกอบด้วย การใส่ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน และปุ๋ยชีวภาพขยายเชื้อจุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจน จุลินทรีย์ละลายฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมตามอัตราแนะนำกรมพัฒนาที่ดินในอัตราต่าง ๆ กัน โดยมีการเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดิน และการเจริญเติบโตของยางพารา จากผลการทดลองพบว่า ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) และค่าการนำไฟฟ้า (ECe) ทั้งก่อนและหลังการทดลองทุกตำรับไม่แตกต่างกัน ส่วนเปอร์เซ็นต์อินทรียวัตถุก่อนและหลังทดลองปีที่ 1 มีค่าแตกต่างกัน แต่มีค่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำถึงต่ำมาก สำหรับดินก่อนการทดลองมีปริมาณฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์แตกต่างกันทางสถิติ ส่วนดินหลังการทดลองทั้ง 2 ปีมีค่าไม่แตกต่างกัน โดยปริมาณฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ทั้งก่อนและหลังการทดลองมีค่าต่ำถึงต่ำมาก นอกจากนี้พบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ทำให้ยางพารามีอัตราการเพิ่มขึ้นของเส้นรอบวงมากที่สุด เท่ากับ 4.62 เซนติเมตร หลังจากใส่ปุ๋ยดังกล่าวแล้ว 18 เดือน ดังนั้น อัตราปุ๋ยที่แนะนำให้เกษตรกรใช้เพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของเส้นรอบวงลำต้นยางพารา คือ การใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ส่วนอัตราแนะนำรองลงมา ได้แก่ การใช้ปุ๋ยเคมีอัตราครึ่งหนึ่งของค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับปุ๋ยชีวภาพตามคำแนะนำกรมพัฒนาที่ดิน และการใช้ปุ๋ยเคมีอัตราครึ่งหนึ่งของค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับปุ๋ยชีวภาพอัตราครึ่งหนึ่งของคำแนะนำกรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งทำให้อัตราการเพิ่มขึ้นของเส้นรอบวงลำต้นยางพารามีค่าใกล้เคียงกัน
บทคัดย่อ (EN): Effect of bio-fertilizer, which contained microorganisms that fixed nitrogen and solute phosphorus and potassium, applied with chemical fertilizers to new Para rubber was conducted at Ban Ae, Tambon Kho Ae, Amphur Kaeng nai, Ubon Ratchathani Province during October 2013 to January 2015. The objectives were aimed to study on the effect of bio-fertilizers applied with chemical fertilizers to increase the circumference of before-tapping Para rubber including the change of soil chemical properties. The experiment was designed as randomized complete blocks with 8 treatments and 3 replications. The treatments were the application of chemical fertilizer recommended by the Rubber Welfare Fund Office, chemical fertilizer recommended by Land Development Department and bio-fertilizers. The changes of soil chemical properties data and Para rubber growth data were collected. The results found that soil pH and soil EC both before and after experiment were not statically different. The soil organic matter content was different but still counted on low to very low level. Soil chemical properties in both 2 years were not different and the levels were low to very low. Furthermore, the application of base-on soil analysis chemical fertilizers could increase Para rubber’s circumference which was 4.62 centimeters after 18 month of application. Therefore, the application of base-on soil analysis chemical fertilizers was recommended. The second choice was the application of base-on soil analysis chemical fertilizers in half rate with bio-fertilizer.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการใช้ปุ๋ยชีวภาพขยายเชื้อจุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจน จุลินทรีย์ละลายฟอสฟอรัสและจุลินทรีย์ละลายโพแทสเซียมร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตของยางพาราช่วงก่อนเปิดกรีด
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2556
การศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตของยางพารา (ช่วงอายุก่อนเปิดกรีด) การศึกษาผลของปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ที่มีต่อการเจริญเติบโตของแหนแดง การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ในการควบคุมทางชีวภาพ ศึกษาการใช้ประโยชน์ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพต่อการเจริญเติบโตของพืช ผลของอัตราการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตของยางพารา การทำนายค่าอินทรียวัตถุ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในดินโดยใช้แสงอินฟราเรดย่านใกล้ ผลของการใช้เทคโนโลยีชีวภาพร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตยางพารา ผลผลิตและการเจริญเติบโตของกุ้งกุลาดำที่เลี้ยงในระบบปิดหมุนเวียนด้วยชีวภาพร่วมกับการใช้จุลินทรีย์ มะม่วงดอง : การเปลี่ยนแปลงทางเคมีและการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ผลของการใส่ปุ๋ยต่อการเจริญเติบโตของต้นสาคู

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก