สืบค้นงานวิจัย
โครงการย่อยที่ 3 โครงการพัฒนากลุ่มเกษตรกรผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์จากใยเฮมพ์
นิตยา มหาไชยวงศ์ - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการย่อยที่ 3 โครงการพัฒนากลุ่มเกษตรกรผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์จากใยเฮมพ์
ชื่อเรื่อง (EN): Developing for Hemp producer groups
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: นิตยา มหาไชยวงศ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการการพัฒนากลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตผลิตภัณฑ์จากใยเฮมพ์ Development for Hemp producer groups บทคัดย่อ เฮมพ์ (Hemp) เป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถนำทุกส่วนของต้นมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้หลากหลายไม่น้อยกว่า 5,000 ชนิด ทั้งที่เป็นเครื่องอุปโภค บริโภค เวรภัณฑ์ และเครื่องนุ่งห่ม ในด้านเส้นใยเฮมพ์เป็นเส้นใยธรรมชาติประเภท Bast Fiber ที่เหนียวที่สุดในโลก ดังนั้นหากจะคิดประดิษฐ์ของใช้ที่ต้องการความคงทนถาวร ต้องเลือกใช้เฮมพ์เป็นวัตถุดิบ นอกจากนี้เฮมพ์ยังเป็นพืชที่ปลูกง่าย โตเร็ว และเป็น Environmental sustainable crop ที่ช่วยรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อมได้ดีที่สุด และมีการปลูกเฮมพ์เพื่อใช้ประโยชน์ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกมาเป็นเวลามากกว่า 2,300 ปี สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงได้มองเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นอย่างมหาศาลจากเฮมพ์จึงได้ดำเนินโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาการปลูกเฮมพ์มาตั้งแต่ปี 2550 ทำการคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีปริมาณสาร THC ต่ำ พัฒนาการผลิตเส้นใยและผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ออกสู่ตลาด ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เกษตรกรรเป้าหมายเกิดรายได้จากการส่งเสริมการปลูกเฮมพ์อย่างครบวงจรและถูกต้อง โครงการพัฒนากลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตผลิตภัณฑ์จากใยเฮมพ์ เป็นโครงการย่อยที่อยู่ภายใต้โครงการวิจัยดังกล่าว โดยในปี 2552 จะมุ่งเน้นในการเพิ่มผลผลิตในการผลิตเส้นใยเฮมพ์ให้มีคุณภาพ โดยทดลองทำการแช่หมักต้นเฮมพ์ให้ได้เส้นใยที่เปื่อยนุ่ม มีเครื่องมือในการผลิตเส้นที่มีประสิทธิภาพช่วยให้ผลิตเส้นด้ายเฮมพ์ที่มีขนาดสม่ำเสมอ ทำการต้มฟอกเส้นใยให้บางในเวลาที่ น้อยลงและสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงไม่มาก และได้เชื่อมโยงไปสู่การแปรรูปผลิตภัณฑ์เฮมพ์ออกสู่ตลาดได้เอง หรือทำการผลิตส่งจำหน่ายให้แก่มูลนิธิโครงการหลวง โดยในปี 2552 นี้มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการพัฒนากระบวนการแปรรูปเส้นใยเฮมพ์และปรับปรุงเครื่องมือที่ใช้ทำการผลิตเส้นใยเฮมพ์ให้มีประสิทธิภาพและสามารถลดต้นทุนในการผลิต ทำการออกแบบและจัดทำผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์นำเสนอสู่ตลาด รวมทั้งพัฒนากลุ่มเกษตรกรให้สามารถผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากใยเฮมพ์สู่ตลาด ผลการดำเนินงานทางโครงการได้ทำการทดลองแช่หมักต้นเฮมพ์และเส้นใยเฮมพ์ให้เปื่อยนุ่ม อ่อนตัว ง่ายสำหรับการนำไปปั่นเป็นเส้นด้ายเฮมพ์ให้มีขนาดเล็กสม่ำเสมอ พร้อมกับได้ปรับ ปรุงเครื่องนวดแกนต้นเฮมพ์ เครื่องสางเส้นใย และเครื่องหวีเส้นใย เพื่อช่วยให้สามารถทำการผลิตเส้นได้ง่ายและเป็นเส้นที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ได้ทำการออกแบบผลิตภัณฑ์จากใยเฮมพ์เป็นประเภทเครื่องแต่งกาย 4 รูปแบบได้แก่ เสื้อกั๊กชาย เสื้อกั๊กมีฮูด เสื้อแจ๊กเกต และกางเกงขาสั้น เป็นผลิตภัณฑ์ของใช้และตกแต่ง ได้แก่ ผ้ากลางโต๊ะ ผ้ารองจาน หมอนอิง หมอนวางตัก เบาะนั่ง กล่องทิชชู และผ้าแขวนประดับผนัง รวมจำนวน 11 แบบ ในด้านการพัฒนากลุ่มเกษตรกรนั้นทางโครงการได้จัดการอบรมการผลิตเส้นใยให้เกษตรกรเป้าหมาย 2 ครั้ง มีเกษตรกรจำนวน 39 คน จากพื้นที่โครงการหลวง 3 แห่ง และจัดการอบรมแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ 2 ครั้ง มีเกษตรกรเป้าหมายมาเข้าร่วมอบรมจำนวน 41 คน จากพื้นที่โครงการหลวง 4 แห่ง พร้อมกับที่โครงการได้นำผลิตภัณฑ์เฮมพ์ต้นแบบนำเสนอสู่ตลาดผ่านทางฝ่ายหัตถกรรมมูลนิธิโครงการหลวง โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เส้นใยเฮมพ์สู่ตลาดบน คณะบริหารธุรกิจ ทั้งนี้ทางฝ่ายหัตถกรรมมูลนิธิโครงการหลวงพร้อมที่จะรับซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพการผลิตดี เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีรายได้จากการผลิตอย่างครบวงจร
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการย่อยที่ 3 โครงการพัฒนากลุ่มเกษตรกรผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์จากใยเฮมพ์
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2552
ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ ๑ : โครงการพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์เฮมพ์ โครงการย่อยที่ 1 โครงการพัฒนาเครื่องมือแปรรูปเส้นใยเฮมพ์ โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 7: การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพจากเฮมพ์ โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 4: การสร้างเครือข่ายวิจัยและพัฒนาเฮมพ์ ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 3 การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างที่มีส่วนผสมของเฮมพ์ โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 8: การวิจัยและพัฒนาบ้านที่สร้างด้วยส่วนผสมของเฮมพ์ โครงการย่อย 2: โครงการวิจัยและพัฒนาวิธีการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์เฮมพ์ ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ ๔: โครงการวิจัยและพัฒนาห่วงโซ่การผลิตและการตลาดเฮมพ์บนพื้นที่สูงภายใต้ระบบการควบคุม ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ ๓ : โครงการวิจัยและพัฒนากระบวนการหลังการเก็บเกี่ยว และการแปรรูปเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 5 โครงการวิเคราะห์ปริมาณสาร THC ในเฮมพ์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก