สืบค้นงานวิจัย
ผลของฮอร์โมนต่อการเพาะเลี้ยงอับเรณูข้าวขาวดอกมะลิ 105
กิ่งกาญจน์ พิชญกุล - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: ผลของฮอร์โมนต่อการเพาะเลี้ยงอับเรณูข้าวขาวดอกมะลิ 105
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of hormone on Khao Dawk Mali 105 anther culture
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กิ่งกาญจน์ พิชญกุล
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Gingkarn Pitchayakul
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นเทคนิคพื้นฐานในการสร้างพืชใหม่ๆ ที่มีลักษณะพึงประสงค์และการเพาะเลี้ยงอับละอองเรณูข้าวเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยในกระบวนการปรับปรุงพันธุ์ข้าว อาหารที่ใช้เพาะเลี้ยงอับละอองเรณูเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยให้การเพาะเลี้ยงประสบผลสำเร็จ และส่วนประกอบของอาหารที่จำเป็นชนิดหนึ่งคือ ฮอร์โมนหรือสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช จึงทำการศึกษาผลของฮอร์โมน 2 ชนิด คือ ออกซิน (auxin) และไซโตไคนินที่เติมในอาหารเพาะเลี้ยงอับละอองเรณูข้าวขาวดอกมะลิ105 โดยเลือกออกซิน 2 ชนิดคือ 2,4-D, NAA และ ไซโตไดนิน 2 ชนิด คือ kinetin, BAP ความเข้มข้นของออกซินและไซโตไคนิน 6 ระดับ คือ 0.5 1.0 1.5 2.0 2.5 และ 3 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่า เมื่อเปรียบเทียบอาหารที่เติมออกซินอย่างเดียว 2,4-D ให้ผลในการชักนำให้เกิดแคลลัสและพัฒนาเป็นต้นอ่อนได้ดีกว่า NAA และเมื่อใช้ร่วมกับไซโตไคนิน ทั้ง 2,4-D และ NAA ที่ใช้ร่วมกับ BAP ให้ผลในการชักนำให้เกิดแคลลัสและพัฒนาเป็นต้นดีกว่า kinetin โดย 2,4-D ความเข้มข้น 2.5 มิลลิกรัมต์อลิตรร่วมกับ BAP 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้จำนวนต้นสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 29.2 ของจำนวนอับละอองเรณูที่เพาะเลี้ยง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2542
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2543
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/doa/search_detail/result/156144
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: Summary only
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของฮอร์โมนต่อการเพาะเลี้ยงอับเรณูข้าวขาวดอกมะลิ 105
กรมการข้าว
2543
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร ผลของพาโคลบิวทราโซลต่อคุณภาพของข้าวดอกมะลิ 105 และผลตกค้างของสารในข้าว การรวบรวมข้อมูลข้าวขาวดอกมะลิ 105 พันธุ์กลายเพื่อการขอรับรองพันธุ์ คุณภาพข้าวสุกจากการผสมข้าว กข 23 และ ชัยนาท 1 ในขาวดอกมะลิ 105 ผลของพืชปุ๋ยสดต่อผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 และการแข่งขันของวัชพืชในระบบการหว่านข้าวแห้ง โภชนาการและประโยชน์ต่อสุขภาพของข้าวกล้องงอกนึ่งสายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 สภาพการผลิตและการตลาดข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในจังหวัดพิจิตร การใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี การสกัดและเพาะเลี้ยงโปรโตพลาสต์ของข้าวหอม (Oryza sativa L.) พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก