สืบค้นงานวิจัย
การผลิตผงถ่านกัมมันต์จากฟางข้าวและประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตไซลิทอล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิดาภา ทิน้อย - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การผลิตผงถ่านกัมมันต์จากฟางข้าวและประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตไซลิทอล
ชื่อเรื่อง (EN): Actiated Carbon production from Rice straw and Application in Xylitol Production Process
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิดาภา ทิน้อย
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: " สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การผลิตผงถ่านกัมมันต์จากฟางข้าวและประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตไซลิทอล” แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จิดาภา ทิน้อย เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะในการกระตุ้นการผลิตผงถ่านกัมมันต์จากฟางข้าวให้มีคุณสมบัติในการดูดซับด้วยการตรึงเซลล์ (immobilized cell) ในขั้นตอนการผลิตเพื่อให้ได้ไซลิทอลบริสุทธิ์ จากการศึกษาวิจัย พบว่าจากการคัดเลือกฟางข้าวเพื่อเป็นวัตถุดิบที่เหมาะสมสำหรับเตรียมผงถ่านกัมมันต์ที่มีคุณภาพสูง โดยคัดเลือกจากฟางข้าว 3 ชนิด คือ ฟางข้าวขาวดอกมะลิ 105 ฟางข้าว กข 6 และ ฟางข้าวข้าวเหนียวสันป่าตอง พบว่า ฟางข้าวเหนียวสันป่าตองมีปริมาณลิกนิกมากที่สุดซึ่งส่งผลดีต่อคุณภาพของผงถ่านกัมมันต์ที่ผลิตได้ จากนั้นได้เตรียมผงถ่านโดยการคาร์บอไนเซชัน พบว่าฟางข้าว ขนาด 60 เมซ เมื่อคาร์บอไนเซชันได้สมบูรณ์ที่อุณหภูมิ 400 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง พบค่าร้อยละการดูดซับไอโอดีนและตะกั่วสูง และจากภาพถ่าย SEM พบรูพรุนมีขนาดใหญ่ หลังจากนั้น ได้กระตุ้นผงถ่านเพื่อผลิตผงถ่านกัมมันต์ที่มีคุณสมบัติเทียบเท่าผงถ่านกัมมันต์ที่ใช้ในทางการแพทย์ (USP grade) โดยการกระตุ้นด้วยกรดฟอส- ฟอริกและโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์โดยใช้วิธีการกลั่นไหลกลับ โดยศึกษาการกระตุ้นผงถ่านแบบขั้นตอนเดียวและ 2 ขั้นตอน พบว่าการกระตุ้นผงถ่านแบบ 2 ขั้นตอน โดยใช้โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ที่อัตราส่วนของผงถ่านต่อโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ 1:10 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร อุณหภูมิ 700 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง พบว่าผงถ่านกัมมันต์ที่ผลิตได้มีค่าร้อยละการดูดซับไอโอดีนและตะกั่วสูง ปริมาณรูพรุนสูง และมีพื้นที่ผิวจำเพาะใกล้เคียงกับผงถ่านกัมมันต์ที่ใช้ในทางการแพทย์ ซึ่งจะได้ว่าผงถ่านกัมมันต์ที่ผลิตได้มีคุณสมบัติและคุณลักษณะ เทียบเท่ากับผงถ่านกัมมันต์ที่ใช้ในทางการแพทย์ ประโยชน์ที่จะได้รับจากผลงานวิจัยได้ประยุกต์ใช้ผงถ่านกัมมันต์ที่ผลิตได้ในกระบวนการผลิตไซลิทอลจากส่วนสกัดฟางข้าว โดยประยุกต์ใช้ในขั้นตอนการทำบริสุทธิ์สารละลายไซลิทอล เพื่อกำจัดสีและสารปนเปื้อนต่าง ๆ พบว่า สามารถใช้ทำบริสุทธิ์สารละลายไซลิทอลได้ แต่มีประสิทธิภาพน้อยกว่าผงถ่านเชิง พาณิชย์ แต่พบการสูญเสียปริมาณไซลิทอลน้อยกว่าเมื่อเทียบกับผงถ่านเชิงพาณิชย์เมื่อใช้ในปริมาณ เท่ากัน และได้ประยุกต์ใช้เพื่อเป็นตัวค้ำจุนสำหรับตรึงเซลล์ยีสต์สำหรับกระบวนการผลิตไซลิทอลด้วย พบว่าแกรนูลถ่านกัมมันต์สามารถใช้ในการเป็นตัวค้ำจุนในการตรึงเซลล์ Candida tropicalis สำหรับการผลิตไซลิทอลจากส่วนสกัดฟางข้าว ซึ่งสามารถผลิตไซลิทอลได้มากกว่าเซลล์อิสระและเซลล์ตรึงด้วยแคลเซียมอัลจิเนต โดยพบปริมาณไซลิทอลเท่ากับ 6.8 กรัมต่อลิตร เมื่อเพาะเลี้ยง 120 ชั่วโมง และมีอัตราการผลิตไซลิทอลเท่ากับ 0.06 กรัมต่อลิตรต่อชั่วโมง และยังพบว่าเซลล์ตรึงสามารถนำกลับมาใช้ใหม่สำหรับการผลิตไซลิทอลจากส่วนสกัดฟางข้าวได้นอกจากนี้ยังได้นำเซลล์ตรึงด้วยแกรนูลถ่านกัมมันต์มาใช้สำหรับการผลิตไซลิทอลในถังหมักขนาด 2 ลิตรด้วย พบว่าสามารถผลิตไซลิทอลได้เท่ากับ 6.0 กรัมต่อลิตร เมื่อเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 192 ชั่วโมง ซึ่งถือเป็นแนวทางหนึ่งในการประยุกต์ใช้ถ่านกัมมันจากฟางข้าวที่ผลิตได้"
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-10-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2557
เผยแพร่โดย: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตผงถ่านกัมมันต์จากฟางข้าวและประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตไซลิทอล
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
30 ตุลาคม 2558
ประเมินศักยภาพการดูดซับแก๊สชีวภาพด้วยถ่านกัมมันต์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร การพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อลำไยแช่อิ่มอบแห้งและการนำไปใช้ประโยชน์ ผลของการใช้เปลือกและซังข้าวโพดหมักร่วมกับฟางข้าว ในอาหารโคนมรุ่น การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันเมล็ดมะเยาหินโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาร่วมกับถ่านกัมมันต์ด้วยเทคนิคไมโครเวฟ การวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตเอทานอลคุณภาพสูงจากข้าวโพดเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน การพัฒนากระบวนการผลิตและการตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำพริกแกงชุมชนบ้านทอน – อม อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร ผลของการใช้ปุ๋ยแคลเซียมซิลิเกตต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวพันธุ์ปทุมธานี 80 ในดินเค็ม ผลของการปรับปรุงฟางข้าวโดยการนึ่งไอน้ำร่วมกับสารละลายแคลเซียมออกไซด์ต่อจลนศาสตร์ การผลิตแก๊สและการย่อยสลายของโภชนะ ผลของการผลิตแบบผสมผสานระหว่างข้าวกับเป็ดที่มีต่อชาวนา ผลของการใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับการจัดการธาตุอาหารเฉพาะพื้นที่ต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตข้าวพันธุ์ปทุมธานีในชุดดินสรรพยา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก