สืบค้นงานวิจัย
การเลี้ยงปศุสัตว์ในระบบเกษตรผสมผสานของเกษตรกรรายย่อย ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
ศรณรงค์ ศุภชวลิต - กรมปศุสัตว์
ชื่อเรื่อง: การเลี้ยงปศุสัตว์ในระบบเกษตรผสมผสานของเกษตรกรรายย่อย ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
ชื่อเรื่อง (EN): ORIGINAL
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศรณรงค์ ศุภชวลิต
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษารูปแบบการผลิตปศุสัตว์ในระบบเกษตรผสมผสาน และการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการผลิตปศุสัตว์ของเกษตรกรรายย่อย ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เกษตรกรที่มีการเลี้ยงสัตว์ในระบบเกษตรผสมผสาน ในพื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 9 จังหวัด ๆ ละ 5 ราย รวม 45 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากข้อมูลพื้นฐานที่ทำการศึกษา พบว่า เกษตรกรที่ให้สัมภาษณ์เป็นเพศชายร้อยละ 82.22 มีอายุเฉลี่ย 53.29 ปี สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวนสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 4.98 คน จำนวนสมาชิกในครอบครัวที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม 2.56 คน อาชีพหลักประกอบอาชีพเกษตรกรรม อาชีพเสริมรับจ้าง มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 25.24 ไร่ แยกเป็นพื้นที่ทำนาเฉลี่ย 14.49 ไร่ ทำไร่เฉลี่ย 1.89 ไร่ ทำสวนเฉลี่ย 3.04 ไร่ พื้นที่ปลูกผักสวนครัวเฉลี่ย 0.51 ไร่ ปลูกพืชอาหารสัตว์เฉลี่ย 3.11 ไร่ และพื้นที่สระน้ำเฉลี่ย 2.04 ไร่ ผลการศึกษาด้านการเลี้ยงปศุสัตว์ในระบบเกษตรผสมผสานของเกษตรกร พบว่า การเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร แยกออกเป็น 3 กลุ่มชนิดสัตว์ ได้แก่ กลุ่มชนิดสัตว์ที่ใช้บริโภคในครอบครัวและเป็นรายได้รายวัน (สัตว์ปีก) ได้แก่ ไก่พื้นเมือง ไก่ไข่ เป็ดเทศ และเป็ดไข่ มีจำนวนที่เกษตรกรเลี้ยงโดยเฉลี่ย 68.6, 8.49, 96.22 และ 18.33 ตัว ใช้บริโภคในครอบครัวเฉลี่ยต่อปี ไก่พื้นเมือง 8.22 ตัว ไข่ไก่ 2.89 ฟอง เป็ดเทศ 0.6 ตัว และไข่เป็ด 2.18 ฟอง ในรอบปีที่ผ่านมามีรายได้จากการจำหน่ายเฉลี่ย 4,936.67, 1,022.22, 6,626.67 และ 1,782.22 บาท ตามลำดับ กลุ่มชนิดสัตว์ที่เป็นรายได้รายเดือน (สัตว์เล็ก) ได้แก่ สุกร จำนวนเฉลี่ย 4.16 ตัว มีรายได้เฉลี่ย 11,138.49 บาท และกลุ่มชนิดสัตว์ที่เป็นเงินออม (สัตว์ใหญ่) โดยเกษตรกรเลี้ยงโคเนื้อ และกระบือ เฉลี่ย 6.42 , 2 ตัว มีรายได้เฉลี่ย 17,806.67 และ 2,466.67 บาท ข้อมูลด้านการนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการเกษตรของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรยึดหลักความพอประมาณ หลักความมีเหตุผล และหลักมีภูมิคุ้มกันที่ดี อยู่ในเกณฑ์ระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 2.93, 2.77 และ 2.61 ตามลำดับ)
บทคัดย่อ (EN): This study aims to investigate to socio-economic characteristics, raising management to livestock, data of bring philosophy of sufficiency economy to agricultural of farmers in Lower Northeastern Thailand. Population in this study were farmers raised livestock on integrated farming system in area of lower northeastern Thailand 9 provinces, 45 farmers. Interview by questionnaires and statistically analyzed using computer package; the results expressed as frequency, percentage, mean, standard deviation, maximum and minimum. The results were as follows; the majority of were male, means of age 53.29 years, finished primary education, mean of household members were 4.98 persons, mean of farm worker were 2.56 persons. Agricultural were the source of their main income, to employee were support income. Size of agriculture average 25.54 rai, divide to paddy rice cultivation average 14.49 rai, to grow plant crops average 1.89 rai, to grow tree crops average 3.04 rai, to grow vegetables average 0.51 rai, pasture land average 3.11 rai and area of pool average 2.04 rai. Data of raised livestock were beef cattle, buffaloes, swine, native chicken, layer chicken, muscovy duck and layer duck average 6.42, 2, 4.16, 68.6, 8.49, 96.22 and 18.33 heads, respectively. Annual household income earned selling beef cattle, buffaloes, swine, native chicken, layer chicken, muscovy duck and layer duck average 17,806.67, 2,466.67, 11,138.49, 4,936.67, 1,022.22, 6,626.67 and 1,782.22 baht/year, respectively. Data of bring philosophy of sufficiency economy to agricultural found that farmers were principal of immunity , principal of enough and principal of reasonable to high level(mean = 2.93, 2.77 and 2.61), respectively.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมปศุสัตว์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเลี้ยงปศุสัตว์ในระบบเกษตรผสมผสานของเกษตรกรรายย่อย ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
กรมปศุสัตว์
30 กันยายน 2552
กรมปศุสัตว์
การศึกษาวิธีการปรับปรุงพันธุ์ปลานิลของเกษตรกรรายย่อยใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตพื้นที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษารูปแบบที่เหมาะสมการเลี้ยงหมูหลุม ของเกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง กลุ่มเกษตรกรที่มีประสิทธิภาพตามทรรศนะของเกษตรอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การปฏิบัติของเกษตรกรในการจัดการหนูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การปฏิบัติของเกษตรกรในการจัดการหนูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษาสภาพการเลี้ยงการตลาดแพะในระบบเศรษฐกิจพอเพียงพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง การใช้ประโยชน์ของดินชุดยโสธรเพื่อการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษาออกมาอยู่นาเพื่อทำเกษตรระบบผสมผสานของเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก