สืบค้นงานวิจัย
การผลิตเมล็ดพันธุ์โสนขนสายพันธุ์ลีและเกลนเพื่อใช้เป็นพืชอาหารสัตว์ในที่ลุ่ม (4) อายุการเก็บเกี่ยวที่มีต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์โสนขนสายพันธุ์ลี
สมพล ไวปัญญา - กรมปศุสัตว์
ชื่อเรื่อง: การผลิตเมล็ดพันธุ์โสนขนสายพันธุ์ลีและเกลนเพื่อใช้เป็นพืชอาหารสัตว์ในที่ลุ่ม (4) อายุการเก็บเกี่ยวที่มีต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์โสนขนสายพันธุ์ลี
ชื่อเรื่อง (EN): Seed Production of Aeschynomene americana cv.Lee and Glenn for Forage Crop in Wetter Low – Lying Area (4) Harvesting Time on Seed Yield and Seed Quality of Aeschynomene americanacv.Lee
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมพล ไวปัญญา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN):
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาอายุการเก็บเกี่ยวที่มีต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์โสนขนสายพันธุ์ลีประกอบด้วย 5 วิธีการเก็บเกี่ยว คือ การเก็บเกี่ยวเมล็ดโดยวิธีการตัดต้นที่ 30, 45, 60 และ75 วัน หลังโสนขนสายพันธุ์ลีเริ่มออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2543 เปรียบเทียบกับการเก็บเกี่ยวเมล็ดด้วยมือโดยวิธีการทยอยเก็บฝักแก่ ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยอาหารสัตว์นครศรีธรรมราช ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2543 - ธันวาคม 2544 ในดินชุดสงขลา ซึ่งเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย มีค่า pH 5.5 ปริมาณอินทรียวัตถุ 1.28 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 18 ppm และโพแทสเซี่ยม 63 ppm วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block มี 4 ซ้ำ ผลการทดลอง แสดงให้เห็นว่าการเก็บเกี่ยวเมล็ดโสนขนสายพันธุ์ลีด้วยมือโดยวิธีการทยอยเก็บฝักแก่ ให้ผลผลิตเมล็ดพันธุ์เฉลี่ยสูงที่สุดอย่างแตกต่างกันทางสถิติ (p<0.05) กับวิธีการเก็บเกี่ยวอื่น ๆ คือ 115 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมา คือ วิธีการตัดต้นที่ 30 วัน หลังโสนขนลี เริ่มออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์ ที่ให้ผลผลิตเมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 66 กิโลกรัมต่อไร่ อย่างไรก็ตามการเก็บเกี่ยวเมล็ดโสนขนสายพันธุ์ลีด้วยมือโดยวิธีการทยอยเก็บฝักแก่ต้องใช้เวลาและแรงงานมากกว่าวิธีการตัดตัน ส่วนคุณภาพเมล็ดพันธุ์ของโสนขนสายพันธุ์ลี ซึ่งประกอบด้วย ความบริสุทธิ์ ความงอก และน้ำหนัก 1,000 เมล็ด พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) ทุกวิธีการเก็บเกี่ยว
บทคัดย่อ (EN): The study on harvesting time on seed yield and seed quality of Aeschynomene americana cv. Lee composited of 5 harvesting times, which was harvesting seed by cutting plants at 30, 45, 60 and 75 days after 50 percentage of flowering on 12 December 2000 comparison with harvesting seed accumulation by hand The experiment was conducted at Nakhonsithummarat Animal Nutrition Research Center during May 2000 – December 2001. The soil is Songkhla series; sandy clay loam, which were pH 5.5 ; 1.28 percentage of organic matter; 18 ppm available P and 63 ppm K. The design of experiment was Randomized Complete Block with 4 replications.The result showed that harvesting seed accumulation by hand of A.americana cv. Lee gave the highest (p<0.05) average seed yield 115 kg per rai , followed by method of cutting plant at 30 days after 50 percentage of flowering with seed yield of 66 kg per rai. However, method of hand harvesting seed needs more time and labour in collecting seed than harvesting seed by cutting plants. For the seed quality, on percentage of purity, germination and 1,000 seed weight of there were not significant different (p>0.05) between harvesting times.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: สำนักพัฒนาอาหารสัตว์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
เอกสารแนบ: http://nutrition.dld.go.th/Research%20Report53-55/Research_Knowlage/RESEARCH/research_full/2547/R4710.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองอาหารสัตว์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตเมล็ดพันธุ์โสนขนสายพันธุ์ลีและเกลนเพื่อใช้เป็นพืชอาหารสัตว์ในที่ลุ่ม (4) อายุการเก็บเกี่ยวที่มีต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์โสนขนสายพันธุ์ลี
กองอาหารสัตว์
2547
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กรมปศุสัตว์
การผลิตเมล็ดพันธุ์โสนขนสายพันธุ์ลีและเกลนเพื่อใช้เป็นพืชอาหารสัตว์ในที่ลุ่ม (2) อิทธิพลของอัตราปลูกต่อผลผลิตเมลผ้ดพันธุ์โสนขนสายพันธุ์ลีและเกลน การศึกษาคุณภาพเมล็ดพันธุ์พืชอาหารสัตว์ การผลิตเมล็ดพันธุ์โสนขนสายพันธุ์ลีและเกลนเพื่อใช้เป็นพืชอาหารสัตว์ในที่ลุ่ม (3) ผลของระยะเวลาการตัดยอดที่มีต่อผลผลิตเมล็ดพันธุ์โสนขนสายพันธุ์ลีและเกลน การทดสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์พืชอาหารสัตว์ที่ผลิตจากสถานีพืชอาหารสัตว์ต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พืชอาหารสัตว์พันธุ์ใหม่ การศึกษาพืชอาหารสัตว์ในประเทศไทย อาหารสัตว์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนไทย การผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่ว American Jointvetchสายพันธุ์ Leeและสายพันธุ์Glenn เพื่อใช้เป็นพืชอาหารสัตว์ในที่ลุ่ม (1) การเร่งความงอกของเมล็ดถั่ว American Jointvetch สายพันธุ์ Lee และสายพันธุ์ Glenn การทดสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ในห้องปฏิบัติการ อายุการเก็บเกี่ยว และสภาพการเก็บรักษาคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ถั่วพร้า

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก