สืบค้นงานวิจัย
การติดตามประเมินผลวิสาหกิจชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดิน ปี พ.ศ. 2554
ดารณี ชนะชนม์ - สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ชื่อเรื่อง: การติดตามประเมินผลวิสาหกิจชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดิน ปี พ.ศ. 2554
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ดารณี ชนะชนม์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: เพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินการกิจกรรมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และการพัฒนาองค์ความรู้ผ่านกระบวนการ โครงการติดตามประเมินผลวิสาหกิจชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดิน ปี 2554 มีวัตถุประสงค์หลัก คือ วิสาหกิจชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดิน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มีวิสาหกิจชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดิน ตั้งแต่ปี 2549 ถึง ปี 2553 ทั้งสิ้น จำนวน 9,319 กลุ่ม สมาชิก 151,699 ราย ส่วนการสนับสนุนเงินทุน ส.ป. ได้ดำเนินการตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การให้กู้ยืมเงินกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแก่เกษตรกร และสถาบันเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2536 และในส่วนของการอบรม ส.ป.ก. มีผลการดำเนินงานด้านการจัดฝึกอบรมพัฒนาองค์ความรู้ ผ่านกระบวนการวิสาหกิจชุมชนดังกล่าวในเขตปฏิรูปที่ดิน ตั้งแต่ปี 2549 ถึง ปี 2553 จำนวน 98,442 ราย การติดตามและประเมินผลครั้งนี้ เป็นการศึกษาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่าง จากประชากรกลุ่มเป้าหมาย เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดิน ตั้งแต่ ปี 2549 ถึงปี 2553 จำนวน 9,319 กลุ่ม สมาชิก 151,699 ราย พื้นที่รวม 69 จังหวัด กำหนดขนาดตัวอย่าง จำนวน 8 จังหวัด โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) ได้แก่ สุ่มจังหวัด 8 จังหวัด แบ่งตามสัดส่วนได้จังหวัดที่ตกเป็นตัวอย่าง ภาคเหนือ 2 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 จังหวัด ภาคกลาง 2 จังหวัด และภาคใต้ 2 จังหวัด สุ่มจังหวัด จากแต่ละภาค โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย(Simple Random Samping) ด้วยการจับฉลาก สุ่มกลุ่มวิสาหกิจ ชุมชน จากจังหวัดที่ตกเป็นตัวอย่าง โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบระบU (Systematic random Sampling) กำหนด จำนวนตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Yamane ณ ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 90 จะได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างของ วิสาหกิจชุมชน จำนวน 100 กลุ่ม สุ่มสมาชิกวิสาหกิจชุมชน กลุ่มละ 7 ราย รวม 700 ราย ใน 8 จังหวัดที่ตกเป็น ตัวอย่าง ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี จันทบุรี สระแก้ว ชุมพร และพังงา เครื่องมือ ที่ใช้ในการติดตามและประเมินผล คือ แบบสัมภาษณ์แบบที่ 1 สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในประเด็น ด้านระบบบัญชีและการเงิน ด้านผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด 7 ประการและความเข้มแข็ง ด้านแหล่งที่มาของวัตถุดิบ ด้านรายได้และการจำหน่ายของผลิตภัณฑ์จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ด้านสินเชื่อและความสามารถในการชำระหนี้ ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับความก้าวหน้าของผลการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน ด้านการได้รับพัฒนาองค์ความรู้ ผ่านกระบวนการวิสาหกิจชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดิน แบบสัมภาษณ์ที่ 2 สำหรับสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในประเด็น การพัฒนาองค์ความรู้โดยผ่านกระบวนการวิสาหกิจชุมชน เกี่ยวกับการได้รับองค์ความรู้ ผลการสำรวจได้มี การเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนสิงหาคม 2554 มีค่าใช้จ่ายเป็นเงิน 286,892 บาท สัมภาษณ์กลุ่มวิสาหกิจ ที่ตกเป็นตัวอย่างได้ จำนวน 99 กลุ่ม และสัมภาษณ์สมาชิกจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ตกเป็นตัวอย่างได้ จำนวน 686 ราย นอกจากนี้ได้ศึกษาเชิงคุณภาพประเด็นวิสาหกิจชุมชนที่พบว่าไม่ได้ประกอบการ จำนวน 24 กลุ่ม
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556
เอกสารแนบ: http://www.alro.go.th/research_plan/ewt_dl_link.php?nid=387
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: 2549-2554
เผยแพร่โดย: สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การติดตามประเมินผลวิสาหกิจชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดิน ปี พ.ศ. 2554
สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
2556
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความเข้มแข็ง การติดตามประเมินผลการใช้ประโยชน์ที่ดินและการนำแนวคิดตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ประโยชน์ของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ปี พ.ศ. 2555 การผลิตอาหารสัตว์จากขยะอินทรีย์ของชุมชน การศึกษาการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปไม้ไผ่ ในเขตปฏิรูปที่ดินตำบลถ้ำฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ การติดตามประเมินผลโครงการเกษตรประณีตเพื่อความมั่นคงด้านอาหาร ในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดน่าน ภายใต้โครงการเทเลฟู้ด การติดตามประเมินผลการใช้ประโยชน์ที่ดินและการพึ่งตนเองได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ปีการเพาะปลูก พ.ศ.2553 การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ105 ในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดอํานาจเจริญ รายงานประจำปี วว. ปี พ.ศ. 2554 การติดตามประเมินผลการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตและการพึ่งพาตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดอำนาจเจริญ การติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์ในที่ดินและการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของ เกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดิน ปีการเพาะปลูก พ.ศ. 2553

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก