สืบค้นงานวิจัย
การวิจัยกลยุทธ์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง กรณี : วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจิกสูง ตำบลปากพลี อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก
ถาวร ชูพล - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การวิจัยกลยุทธ์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง กรณี : วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจิกสูง ตำบลปากพลี อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ถาวร ชูพล
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยเรื่อง การวิจัยกลยุทธ์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง กรณี : วิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจิกสูง ตำบลปากพลี อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ข้อมูลพื้นฐาน พัฒนากระบวนการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง และแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาด้านการตลาดของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจิกสูง ประชากรในการศึกษาคือวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจิกสูง ตำบลปากพลี อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก สมาชิกจำนวน 30 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบ มีส่วนร่วม (Participation Action Research : PAR) เก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ จากกระบวนการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชน การจัดกระบวนการเรียนรู้ การประชุมกลุ่มย่อย และการพูดคุยแบบเป็นกันเอง การสังเกตการณ์และการศึกษาดูงาน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยเครื่องมือ SWOT Analysis, Mind Mapping รวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับสมาชิกวิสาหกิจชุมชน ประเมินปัญหาและความต้องการของวิสาหกิจชุมชนเพื่อจัดทำแผนงานโครงการ และทำการประเมินความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานวิจัยของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน และวิสาหกิจชุมชน โดยใช้แบบสอบถาม จากการวิจัยสามารถสรุปแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนได้ดังนี้ กระบวนการเรียนรู้ และการจัดทำแผนพัฒนาวิสาหกิจชุมชน พบว่าเดิมสมาชิกกลุ่มมีการเรียนรู้ค่อนข้างน้อย เนื่องจากการประชุมกลุ่มจัดประชุมเฉพาะคณะกรรมการกลุ่มเป็นส่วนใหญ่ การวิจัยในครั้งนี้ จึงจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยเน้นการจัดเวทีชุมชน เพื่อให้สมาชิกกลุ่มทุกคนมีส่วนร่วมในกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งการเรียนรู้ตนเองและภายนอก จนสามารถกำหนดแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน และเกิดการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติของกลุ่มใน 3 ด้าน คือ (1) การพัฒนาการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน พบว่าวิสาหกิจชุมชนมีการบริหารจัดการกลุ่มในรูปของคณะกรรมการ แบ่งออกเป็น 4 ฝ่าย คือ ฝ่ายควบคุมการผลิต ฝ่ายจัดหาวัตถุดิบ ฝ่ายการตลาด และฝ่ายตรวจสอบกิจการของกลุ่ม ซึ่งมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่ายอย่างชัดเจน และมีการกำหนดกฎระเบียบของกลุ่ม มีการจัดสรรผลประโยชน์ให้แก่สมาชิก และมีการพัฒนาสมาชิกโดยการส่งเข้ารับการอบรม มีการจัดทำบัญชีรายรับ- รายจ่าย สามารถตรวจสอบได้ นอกจากนี้ยังพบว่า สมาชิกในกลุ่มมีความสนิทสนมคุ้นเคยกัน จึงให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เป็นอย่างดี แต่ยังมีปัญหาที่ยังพบอยู่บ้างคือ สมาชิกลุ่มไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นและแสดงบทบาทของการแลกเปลี่ยนความรู้เท่าที่ควร (2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ พบว่าเดิมปัญหาในการผลิตคือ ต้องใช้วัตถุดิบจากภายนอกทำให้มีต้นทุนการผลิตสูง นอกจากนี้ราคาวัตถุดิบยังไม่คงที่ คุณภาพไม่สม่ำเสมอ ไม่สามารถเก็บวัตถุดิบไว้ใช้ในช่วงที่ตลาดมีความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ของกลุ่มในปริมาณมาก ในช่วงที่วัตถุดิบมีราคาสูง ดังนั้นวิสาหกิจชุมชนจึงได้กำหนดแนวทางพัฒนาเพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยการหาวิธีเก็บรักษาวัตถุดิบ เช่น มะขามเปียกจะนำไปแช่ตู้เย็นเพื่อให้เนื้อมะขามเปียกไม่เปลี่ยนเป็นสีดำ การเก็บรักษา หอม พริก กระเทียม จะไปหาผู้รู้และการไปศึกษาดูงาน (3) การพัฒนาการตลาด พบว่าเดิมกลุ่มประสบปัญหาในเรื่องการขยายตลาด ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มยังไม่แพร่หลาย การยอมรับของผู้บริโภคในตลาดภายนอกยังอยู่ในวงแคบ จากกิจกรรมการไปศึกษาดูงานด้านการตลาด ในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เพื่อศึกษาเรียนรู้ด้านการดำเนินการตลาด การเชื่อมโยงเครือข่าย เพื่อนำมาปรับปรุงให้กลุ่มมีการพัฒนาการผลิต ให้ตรงกับความต้องการของตลาด กลุ่มได้นำความรู้ที่ได้จากการไปศึกษาดูงานมาพิจารณากำหนดแนวทางการพัฒนาตลาด โดยการการขยายตลาดใหม่ และนำสินค้าไปวางขายตามร้านต่าง ๆ ในพื้นที่ และนอกพื้นที่ ร้านตามเส้นทางท่องเที่ยวจังหวัดนครนายกต่าง ๆ และนำสินค้า และผลิตภัณฑ์ของกลุ่มไป จัดแสดงและจำหน่ายในงานเทศกาลต่าง ๆ ที่สำคัญ เพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของ กลุ่มให้แพร่หลาย รวมทั้งมีการพัฒนาทางด้านการตลาดโดยมีการประชาสัมพันธ์ทางวิทยุ และสื่อต่างๆ ในท้องถิ่น จากการวิจัยในช่วงระยะเวลาสั้นคณะวิจัยและกลุ่มมีความเห็นร่วมกันว่า เพื่อให้การพัฒนากลุ่ม มีความยั่งยืน วิสาหกิจชุมชนควรมีการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีการปรับปรุงแผนพัฒนาวิสาหกิจชุมชนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งพัฒนาตัวสินค้าและบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัยสอดคล้องกับความต้องการของตลาดอยู่เสมอ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2550
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ตำบลปากพลี อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การวิจัยกลยุทธ์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง กรณี : วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจิกสูง ตำบลปากพลี อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก
ถาวร ชูพล
กรมส่งเสริมการเกษตร
2550
กลยุทธ์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง ประจำปี 2550 การดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสู่วิสาหกิจชุมชนในพื้นที่เขตที่ 1 กลยุทธ์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านทุ่งฆ้อ ตำบลนาหม่อม อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา กลยุทธ์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านร่องกาศใต้ ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสำเร็จในการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรของอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี การมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน : กรณีโรงสีชุมชนครบวงจรตำบลไก่คำ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งในการบริหารวิสาหกิจชุมชนของจังหวัดสุรินทร์ แนวทางพัฒนาวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองยางไคล ตำบลทาทุ่งหลวง อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน การศึกษาการสนับสนุนเพื่อการพัฒนาแม่บ้านเกษตรกร ศักยภาพในพึ่งพาตนเองของวิสาหกิจชุมชน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก