สืบค้นงานวิจัย
ชีววิทยาการสืบพันธุ์ปลาข้างเหลืองชนิด Selaroides leptolepis (Cuvier, 1833)ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย
พนิดา ชาลี, อัญชลีย์ ยะโกะ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ชีววิทยาการสืบพันธุ์ปลาข้างเหลืองชนิด Selaroides leptolepis (Cuvier, 1833)ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Reproductive Biology of Yellowstripe scad, Selaroides leptolepis (Cuvier, 1833) along the Andaman Sea Coast of Thailand
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาข้างเหลือง (Selaroides leptolepis (Cuvier, 1833)) ทางฝั่งทะเลอันดามันของไทย ได้ดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2550 โดยเก็บรวบรวมตัวอย่างจากเครื่องมืออวนล้อมจับและอวนลากที่นำสัตว์น้ำมาขึ้นท่าเทียบเรือประมงที่จังหวัดพังงา ภูเก็ต และสตูล ซึ่งมีแหล่งทำการประมงในทะเลอันดามัน ตั้งแต่บริเวณเกาะบอน ในจังหวัดพังงาจนถึงเกาะอาดัง ในจังหวัดสตูล พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างความยาวตลอดตัวกับน้ำหนักตัวของปลาข้างเหลืองทั้งหมดขนาด 6.3-18.9 เซนติเมตร อยู่ในรูปสมการ W = 0.0130 TL 2.9629 เพศผู้ W = 0.0113 TL 3.0143 เพศเมีย W = 0.0102 TL 3.0564 มีการวางไข่ได้เกือบตลอดปี โดยวางไข่มาก 2 ช่วง คือในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน และกรกฎาคม-ธันวาคม ซึ่งวางไข่สูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ ความยาวแรกเริ่มสืบพันธุ์ (L50) ของปลาเพศผู้และเพศเมีย เท่ากับ 10.46 และ 11.73 เซนติเมตร ตามลำดับ ความดกของไข่เท่ากับ 26,196.78?12,069.08 ฟอง ไข่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.60?0.09 มิลลิเมตร ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวตลอดตัวกับความดกของไข่ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติอยู่ในรูปสมการ F = 19.5403 TL2.6450 และมีอัตราส่วนระหว่างเพศผู้ต่อเพศเมีย เท่ากับ 1:0.98 ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ
บทคัดย่อ (EN): Reproductive biology of yellowstripe scad (Selaroides leptolepis (Cuvier, 1833)) along the Andaman Sea coast of Thailand was studied during January-December 2007. Fish samples were collected from purse seiners and trawlers landed at the fishing ports in Phang-nga, Phuket and Satun Provinces. The fishing ground was found in the area off Koh Bon of Phang-nga Province to Koh Adung of Satun Province. From the results, total length (TL) and body weight (W) relationship of the 6.3-18.9 cm-TL fish were W = 0.0130 TL2.9629 for the total fish, W = 0.0113 TL3.0143 for male only, and W = 0.0102 TL3.0564 for female only. Spawning season was all year round with two peaks in January-April and July-December of which the highest was in February. Sizes at first maturity of male and female fish were 10.46 and 11.73 cm, respectively. Egg diameter was 0.60 ? 0.09 mm, while fecundity was 26,196.78 ? 12,069.08. Relationship between total length (TL) and fecundity (F) was F = 19.5403 TL2.6450. Sex ratio of male to female was 1:0.98.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ชีววิทยาการสืบพันธุ์ปลาข้างเหลืองชนิด Selaroides leptolepis (Cuvier, 1833)ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย
กรมประมง
30 กันยายน 2551
กรมประมง
ชีววิทยาปลาข้างเหลืองชนิด Selaroides leptolepis (Cuvier, 1833) ในอ่าวไทย ประเมินสภาวะทรัพยากรปลาข้างเหลือง Selaroides leptolepis (Cuvier, 1833)ทางฝั่งทะเลอันดามันของไทย ประเมินสภาวะทรัพยากรปลาข้างเหลือง Selaroides leptolepis (Cuvier, 1833)ในอ่าวไทย ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาแข้งไก่ชนิด (Megalaspis cordyla (Linnaeus,1758)) ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาแพะเหลือง(Upeneus sulphureus (Cuvier, 1829)) ทางฝั่งทะเลอันดามันของไทย การประมงโป๊ะน้ำตื้นทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของกั้งกระดาน Thenus unimaculatus Burton and Davie, 2007 ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย สมุทรศาสตร์การประมงบริเวณแหล่งประมงปลาทูน่าในทะเลอันดามัน การศึกษาชีววิทยาบางประการของปลาเวียนในแม่น้ำว้า จังหวัดน่าน ชีววิทยาบางประการของปลาผิวน้ำขนาดใหญ่ที่จับได้จากเบ็ดราวปลาผิวน้ำบริเวณแพล่อปลาประจำที่ในทะเลอันดามัน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก