สืบค้นงานวิจัย
ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของเชื้อรา Colletotrichum spp. โดยอาศัยลักษณะทางสัณฐานวิทยาและเทคนิค ISSR
รัฐกร ศรีสุทธี - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของเชื้อรา Colletotrichum spp. โดยอาศัยลักษณะทางสัณฐานวิทยาและเทคนิค ISSR
ชื่อเรื่อง (EN): Genetic Relationship of Colletotrichum spp. by Morphology and ISSR Technique
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รัฐกร ศรีสุทธี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Rattakorn Srisuttee
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สรัญยา ณ ลำปาง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Sarunya Nalumpang
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การจัดจำแนกเชื้อรา Colletotrichum spp. จำนวน 41 ไอโซเลท โดยอาศัยลักษณะทางสัณฐานวิทยา ได้แก่ ลักษณะและอัตราการเจริญของ colony ขนาดและรูปร่างของ conidia และ appressoria การสร้างหรือไม่สร้าง setae และ sclerotia พบว่าสามารถจำแนกได้ 4 สปีชีส์ ได้แก่ C. gloeosporioides, C. acutatum, C. musae และ C. capsici เมื่อทำการศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม โดยเทคนิค ISSR ด้วยไพรเมอร์ 6 ชนิด พบว่าปรากฏแถบดีเอ็นเอทั้งหมด 161 แถบ และเมื่อทำการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Phylip พบว่าสามารถแบ่งได้ 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มของเชื้อรา C. acutatum , C. capsici, C. musae และที่เหลือเป็นกลุ่มของเชื้อรา C. gloeosporioides โดยพบว่ากลุ่มของเชื้อรา C. musae มีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมกับ เชื้อรา C. gloeosporioides และผลการจัดกลุ่มนี้สอดคล้องกับผลที่ได้จากการจัดจำแนกด้วยลักษณะทางสัณฐานวิทยา ดังนั้นการใช้เทคนิค ISSR เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง ในการวิเคราะห์ประวัติเชิงวิวัฒนาการของเชื้อราสกุล Colletotrichum
บทคัดย่อ (EN): Forty-one isolates of Colletotrichum spp. were identified by morphological characteristic such as character and growth rate of colony, size and shape of conidia and appressoria, present/absent of setae and sclerotia. The morphological observation showed that Colletotrichum spp. isolates could be classified into 4 species; C. gloeosporioides, C. acutatum, C. musae and C. capsici. Genetic relationship of the tested fungi by 6 ISSR primers generated 161 bands and they were analyzed by Phylip could be divided into 4 groups; C. acutatum, C. capsici, C. musae and the remaining are C. gleosporioides. There was also a highly genetic relationship between C. musae and C. gloeosporioides. Moreover, this grouping was similar to that based on the morphological characteristic. Therefore, the ISSR technique was useful for analysis phylogenetic relationship in the genus Colletotrichum.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2550
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/246299/168418
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของเชื้อรา Colletotrichum spp. โดยอาศัยลักษณะทางสัณฐานวิทยาและเทคนิค ISSR
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2550
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ชนิดพันธุ์และลักษณะสัณฐานวิทยาที่คลุมเครือนำไปสู่การประเมินความหลากหลายโมเลกุลของเชื้อราแมลง (ทุนวิจัยเพื่อจัดทำวิทยานิพนธ์ นายสิรภพ ภูมิภูติกุล) ศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของมะม่วงพันธุ์ต่างๆ ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของหงส์เหินชนิด Globba winitii Gangnep พันธุกรรมของไม้พะยูง Dalbergia cochinchinensis Pierre ศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยา ลักษณะนิเวศวิทยาของโสนในเขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และผลผลิตของโสนในพื้นที่ปลูก ความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อลักษณะสัณฐานวิทยาของกระเจี๊ยบเขียว ที่ผลิตในภาคใต้ของประเทศไทย ลักษณะความแตกต่างและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างชนิดโดยเครื่องหมายพันธุกรรมอัลโลไซม์ในปูทะเลและปูม้าของไทย ผลของการเสริม Schizochytrium sp. ในอาหารต่อลักษณะทางสัณฐานบางประการและการเจริญเติบโตของปลานิล ความหลากหลายทางพันธุกรรมและจำแนกกลุ่มพันธุกรรมไก่พื้นเมืองในจังหวัดน่านด้วยไมโครแซทเทิลไลท์ ผลของโคลชิซินต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางสัณฐานและสรีรวิทยาที่สัมพันธ์ กับต้นเททระพลอยด์ของแตงโม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก