สืบค้นงานวิจัย
อิทธิพลของปุ๋ยเคมีและวัสดุปลูกที่มีผลต่อการผลิตกล้ายางพาราคุณภาพดี
โอฬาร ตัณฑวิรุฬห์, สุดประสงค์ สุวรรณเลิศ, ระวิวรรณ โชติพันธ์, ลลิตา น้ำเพ็ชร, นิภา เขื่อนควบ, วิภาวรรณ ท้ายเมือง, ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงศ์ - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: อิทธิพลของปุ๋ยเคมีและวัสดุปลูกที่มีผลต่อการผลิตกล้ายางพาราคุณภาพดี
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of inorganic fertilizer and growing media Para rubber seeding production.
บทคัดย่อ: ศึกษาอิทธิพลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจนและเวลาใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการเตรียมต้นตอยางพาราเพื่อการติดตา โดยใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 0, 10, 20, 30, 40, และ 50 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ในระยะ 4, 8, 12 และ 16 วันก่อนการติดตาต้นตอยางพารา และศึกษาวัสดุปลูกที่ได้จากการผสมระหว่างดิน ปุ๋ยหมัก และมูลสุกรในอัตราต่างๆ เพื่อหาอัตราส่วนการผสมที่เหมาะสมต่อการเพาะชำต้นกล้ายางพารา โดยทำการทดลองที่สถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร จากผลการศึกษา พบว่า การใส่ปุ๋ยอัตรา 20 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่จะทำให้ความสามารถในการลอกเปลือกได้ 90% ได้แตกต่างจากการไม่ใส่ปุ๋ยเลยถึงแม้ว่าเปอร์เซ็นต์การติดตาของต้นพันธุ์ยางพาราจะไม่แตกต่างกัน รวมทั้งการใส่ที่ 12-16 วันก่อนการติดตาจะทำให้การลอกเปลือกได้ 90% ดีที่สุด และใส่ปุ๋ย 16 วันก่อนการติดตาจะทำให้การลอกเปลือกได้ 80% สูงสุดและแตกต่างจากช่วงเวลาอื่นๆ แต่การใส่ปุ๋ยตั้งแต่ 8-16 วันก่อนการติดตาจะทำให้เปอร์เซ็นต์การติดตาไม่แตกต่างกันแต่มีเปอร์เซ็นต์การติดตาสูงกว่าที่ 4 วันหลังจากการใส่ปุ๋ย ส่วนอิทธิพลของวัสดุเพาะชำที่ได้จากการผสมดินกับมูลสุกรและปุ๋ยอินทรีย์ในอัตราที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อการเพาะชำต้นพันธุ์ยางพารา โดยพบว่าจำนวนต้นที่แตกราก จำนวนรากต่อต้น จำนวนต้นที่แตกตา และขนาดของกิ่งที่แตกตาไม่มีความแตกต่างกัน แต่วัสดุเพาะชำมีผลต่อความยาวของกิ่งที่แตกตา นอกจากนี้วัสดุดินผสมที่ใช้ในการเพาะชำต้นพันธุ์ยางพารามีการปลดปล่อยธาตุอาหารมาจากปุ๋ยอินทรีย์และมูลสุกร ทำให้วัสดุเพาะชำมีความอุดมสมบูรณ์สูงกว่าการใช้ดินแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งปริมาณธาตุอาหารในดินจะแตกต่างกันตามสัดส่วนการผสมของวัสดุเพาะชำ ศึกษาอิทธิพลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจนและเวลาใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการเตรียมต้นตอยางพาราเพื่อการติดตา โดยใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 0, 10, 20, 30, 40, และ 50 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ในระยะ 4, 8, 12 และ 16 วันก่อนการติดตาต้นตอยางพารา และศึกษาวัสดุปลูกที่ได้จากการผสมระหว่างดิน ปุ๋ยหมัก และมูลสุกรในอัตราต่างๆ เพื่อหาอัตราส่วนการผสมที่เหมาะสมต่อการเพาะชำต้นกล้ายางพารา โดยทำการทดลองที่สถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร จากผลการศึกษา พบว่า การใส่ปุ๋ยอัตรา 20 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่จะทำให้ความสามารถในการลอกเปลือกได้ 90% ได้แตกต่างจากการไม่ใส่ปุ๋ยเลยถึงแม้ว่าเปอร์เซ็นต์การติดตาของต้นพันธุ์ยางพาราจะไม่แตกต่างกัน รวมทั้งการใส่ที่ 12-16 วันก่อนการติดตาจะทำให้การลอกเปลือกได้ 90% ดีที่สุด และใส่ปุ๋ย 16 วันก่อนการติดตาจะทำให้การลอกเปลือกได้ 80% สูงสุดและแตกต่างจากช่วงเวลาอื่นๆ แต่การใส่ปุ๋ยตั้งแต่ 8-16 วันก่อนการติดตาจะทำให้เปอร์เซ็นต์การติดตาไม่แตกต่างกันแต่มีเปอร์เซ็นต์การติดตาสูงกว่าที่ 4 วันหลังจากการใส่ปุ๋ย ส่วนอิทธิพลของวัสดุเพาะชำที่ได้จากการผสมดินกับมูลสุกรและปุ๋ยอินทรีย์ในอัตราที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อการเพาะชำต้นพันธุ์ยางพารา โดยพบว่าจำนวนต้นที่แตกราก จำนวนรากต่อต้น จำนวนต้นที่แตกตา และขนาดของกิ่งที่แตกตาไม่มีความแตกต่างกัน แต่วัสดุเพาะชำมีผลต่อความยาวของกิ่งที่แตกตา นอกจากนี้วัสดุดินผสมที่ใช้ในการเพาะชำต้นพันธุ์ยางพารามีการปลดปล่อยธาตุอาหารมาจากปุ๋ยอินทรีย์และมูลสุกร ทำให้วัสดุเพาะชำมีความอุดมสมบูรณ์สูงกว่าการใช้ดินแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งปริมาณธาตุอาหารในดินจะแตกต่างกันตามสัดส่วนการผสมของวัสดุเพาะชำ
บทคัดย่อ (EN): A study was conducted at the Sithiporn Kridakara Research Station to examine the influence of nitrogen fertilizer rate and time of application on para rubber stock for bud grafting. Nitrogen fertilizer was applied at 0, 10, 20, 30, 40 and 50 kgN/rai. The times of fertilizer application were at 4, 8, 12, and 16 days before bud grafting. Moreover, a study on influence of growing media from different ratios of soil, compost and swine manure on growth and quality of para rubber seedling was conducted. The results showed that nitrogen fertilizer at 20 kgN/rai gave higher number of seedling that gave 90% bark pilling than no fertilizer application, but the percentage of budding was not different among the treatments. Moreover, nitrogen fertilizer application at 12-16 days before bud grafting gave higher number of seedlings with bark pilling at 80% better than other treatments, and time of nitrogen application at 16 days before bud grafting was the best for budding. The influence of growing media prepared from mixing soil, compost and swine manure on the number of roots, roots per stem, budding, and size of branches were not significantly different, but the growing media affected the length of branch budding. Amounts of nutrients released from the growing media depended on the mixing ratio. A study was conducted at the Sithiporn Kridakara Research Station to examine the influence of nitrogen fertilizer rate and time of application on para rubber stock for bud grafting. Nitrogen fertilizer was applied at 0, 10, 20, 30, 40 and 50 kgN/rai. The times of fertilizer application were at 4, 8, 12, and 16 days before bud grafting. Moreover, a study on influence of growing media from different ratios of soil, compost and swine manure on growth and quality of para rubber seedling was conducted. The results showed that nitrogen fertilizer at 20 kgN/rai gave higher number of seedling that gave 90% bark pilling than no fertilizer application, but the percentage of budding was not different among the treatments. Moreover, nitrogen fertilizer application at 12-16 days before bud grafting gave higher number of seedlings with bark pilling at 80% better than other treatments, and time of nitrogen application at 16 days before bud grafting was the best for budding. The influence of growing media prepared from mixing soil, compost and swine manure on the number of roots, roots per stem, budding, and size of branches were not significantly different, but the growing media affected the length of branch budding. Amounts of nutrients released from the growing media depended on the mixing ratio.
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คำสำคัญ:
เจ้าของลิขสิทธิ์: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
อิทธิพลของปุ๋ยเคมีและวัสดุปลูกที่มีผลต่อการผลิตกล้ายางพาราคุณภาพดี
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
30 กันยายน 2551
โครงการฝึกอบรมการผลิตกล้ายางพาราและการปลูกยางพาราแบบมืออาชีพ การพัฒนาคุณภาพวัสดุปลูกและการผลิตยางพาราด้วยปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่า ผลของเอทธิลีนต่อผลผลิตและคุณภาพของน้ำยางพารา คุณภาพของเนื้อไม้ยางพาราในอำเภอละแม จังหวัดชุมพร การศึกษาสมการการผลิตและต้นทุนผลตอบแทนจาก การปลูกยางพาราในจังหวัดสุราษฎร์ธานี การวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบการปลูกยางพารา การผลิตน้ำยางพาราและการใช้ประโยชน์จากไม้ยางพารา สภาพการผลิตยางพาราและความต้องการการส่งเสริมของเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช อิทธิพลของวัสดุปรับปรุงดินอนินทรีย์ (ซีโอไลท์) ต่อผลผลิตของยางพาราพันธุ์ RRIT 251 ประเด็นปัญหาและชุดความรู้เทคโนโลยีการผลิตยางพาราของผู้ปลูกยางพารารายย่อยจังหวัดนครพนม อิทธิพลของสภาพภูมิอากาศของพื้นที่ปลูกต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะปลูกที่เหมาะสมกับกฤษณาเมื่อปลูกร่วมกับยางพารา
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก