สืบค้นงานวิจัย
การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเพื่อเพิ่มปริมาณลูทีนหรือซีแซนทีนโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอจำเพาะยีนช่วยในการคัดเลือก
แสงทอง พงษ์เจริญกิต - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเพื่อเพิ่มปริมาณลูทีนหรือซีแซนทีนโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอจำเพาะยีนช่วยในการคัดเลือก
ชื่อเรื่อง (EN): Improvement of rice varieties to increase lutein or zeaxanthin by gene specific DNA marker selection
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: แสงทอง พงษ์เจริญกิต
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Saengtong Pongjaroenkit
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Sirirat Phaisansuthichol
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ลูทีนเป็นสารแคโรทีนอยด์ที่พบมากในพืช มีบทบาทลดความเสียหายของจอประสาทตาจากแสง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องหมายที่จำเพาะกับยีนที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ลูทีนหรือซีแซนทีนจากข้าว เพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวไทยให้มีสารลูทีนเพิ่มขึ้น จากการวิเคราะห์ปริมาณสารลูทีนด้วย เครื่องโครมาโทกราฟี ของเหลวสมรรถนะสูง พบข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีดำ คือ ข้าวพันธุ์ก่ำน้อย มีปริมาณลูทีนสูงที่สุด ซึ่งใช้เป็นพันธุ์ให้การสร้างประชากรต่าง ๆ ผลการวิเคราะห์ลำดับเบสและการแสดงออกของยีนในวิถีการสังเคราะห์แคโรทีนอยด์ ด้วยเทคนิค semi-quantitative RT-PCR และ transcriptome sequencing พบยีนที่มีลำดับเบสและการแสดงออกที่แตกต่างกันในข้าวไทยที่มีสีเยื่อหุ้มเมล็ดต่างกัน จำนวน 10 ยีน ได้แก่ ยีน PSY /crtB (phytoene synthase) ยีน crtISO (carotenoid isomerase ยีน BCH/crtZ (?-carotene hydroxylase) ยีน lcyB (lycopene ?-cyclase) ยีน lcyE (lycopene ?-cyclase) ยีน LUT1/CYP97C1 (cytochrome P450-type hydroxylase C 1) ยีน LUT5/CYP97A3 (cytochrome P450-type hydroxylase A3) ยีน PDS (phytoenede saturase) ยีน ZDS (?-carotene desaturase) และ ยีน Z-ISO (?-carotene isomerase) เนื่องจากมีรายงานยีน ZISO และ ยีน LUT5/ CYP97A3 เกี่ยวข้องกับการสร้างสารลูทีนในข้าว จึงพัฒนาเป็นเครื่องหมาย RM และ SNP เพื่อนำใช้ทดสอบความสัมพันธ์กับปริมาณลูทีนในประชากร F2 ต่อไป
บทคัดย่อ (EN): Lutein is the most abundant plant carotenoid that plays a role in retina protection against photostress. The aim of this study was to develop lutein or zeaxanthin specific gene markers from rice which, will be used in breeding program for developing high lutein or zeaxanthin varieties. Lutein content was examined by High Performance Liquid Chromatography. The result showed that Kum Noi, black pericarp rice, had the highest lutein content and was used as donor parent in breeding population. Carotenoid biosynthesis gene sequence and expression level from different pericarp color rice were analyzed by semi-quantitative RT-PCR and transcriptome sequencing. There are 10 genes that showed different in sequence and gene expression which were PSY/ crtB ( phytoene synthase) , crtISO ( carotenoid isomerase) , BCH/ crtZ ( ?- carotene hydroxylase), lcyB (lycopene ?-cyclase), lcyE (lycopene ?-cyclase), LUT1/CYP97C1 (cytochrome P450-type hydroxylase C 1) , LUT5/ CYP97A3 ( cytochrome P450- type hydroxylase A3) , PDS ( phytoenede saturase) , ZDS ( ?- carotene desaturase) , and Z- ISO ( ?- carotene isomerase) genes. The Z- ISO and LUT5/CYP97A3 were reported that they were related with lutein content in rice. Then RM and SNP marker of these genes were be designed and will used for lutein trait association analysis in F2 population.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะวิทยาศาสตร์
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-62-01-004.5
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2562
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเพื่อเพิ่มปริมาณลูทีนหรือซีแซนทีนโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอจำเพาะยีนช่วยในการคัดเลือก
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2562
ผลงานเด่นด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าว การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเพื่อเพิ่มปริมาณแป้งทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก การปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีแอนโทไซยานินสูงโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือกเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ ความผันแปรของยีน Waxy ที่มีผลต่อปริมาณอะไมโลสในข้าวพื้นเมืองอุบลราชธานี ศึกษาการแสดงออกของยีนที่แตกต่างกันของปทุมมาที่ปลูกภายใต้วันสั้นและวันยาวโดยการวิเคราะห์ลำดับเบสของ RNA การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียวหอมจากข้าวเจ้าด้วยวิธีผสมกลับโดยใช้ เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก การปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมกระดังงาไม่ไวแสง ชั่วที่1 โดยการใช้เครื่องหมายโมเลกุลระบุตำแหน่งยีนในการคัดเลือก การประยุกต์ใช้สนามไฟฟ้าในการเพิ่มผลผลิตข้าว การศึกษาหาปริมาณการใช้น้ำของฟักข้าวปีที่2 การเพิ่มศักยภาพระบบการผลิตข้าวไร่โดยใช้ถั่วลอดร่วมกับเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก